IEC เล็งย้ายเข้าเทรดในหมวดพลังงาน ม.ค.58 จากเดิมที่อยู่ในหมวดโทรคมนาคม เนื่อจากบริษัทมีการดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนมากขึ้น เตรียมจัดตั้งกองทุนอินฟราฯ ช่วงปลายปี 58
นายภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ากำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย (EBITDA) ในปี 58 อยู่ที่ 605 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าอยู่ที่ 123 ล้านบาท เนื่องจากในปีหน้าบริษัทจะมีรายได้จากการลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเข้ามาเป็นส่วนใหญ่ โดยโครงการพลังงานทดแทนที่ได้ลงทุนไปแล้วในปีนี้ จำนวน 40 เมกะวัตต์ จะสามารถรับรุ้รายได้เต็มปีในปีหน้า ทำให้ EBITDA ในปี 58 เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ทั้งนี้ ในปี 58 บริษัทเตรียมเงินลงทุนทั้งหมด 3.67 พันล้านบาท ไว้ใช้สำหรับลงทุนทั้งหมด 8 โครงการ โดยมุ่งเน้นโครงการพลังงานพลังงานทดแทน ได้แก่ 1.เพื่อซื้อหุ้นสามัญ 75% ของบริษัท แก้วลำดวนเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด ซึ่งดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล อ.แก้วลำดวน จ.สระแก้ว วงเงินรวม 390 ล้านบาท โดยชำระแล้ว 345 ล้านบาท 2.เพิ่มทุนในบริษัทไออีซี กรีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 140 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับจัดทำระบบคัดแยกขยะ และเตาเผาขยะ เพื่อรับจ้าง และสนับสนุนการดำเนินการของบริษัท จีเดค จำกัด ในการดำเนินโครงการบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ขณะเดียวกัน ลงทุนในธุรกิจด้านเทคโลยีสารสนเทศ ( ICT) กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 100 ล้านบาท
4.ร่วมลงทุนร้อยละ 25 ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) ขนาดกำลังผลิต 20 MW มูลค่า 300 ล้านบาท 5.ร่วมลงทุนในโครงการกำจัดขยะและแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า (MSW) จำนวน 600 ล้านบาท 6.ร่วมลงทุนในโครงการนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก (Industrial Estate) จำนวน 300 ล้านบาท 7.ร่วมลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังานก๊าซชีวภาพ (Bio-Gas) จำนวน 400 ล้านบาท 8.ร่วมลงทุนในโครงการผลิตเอทานอล (Ethanol) จำนวน 450 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การลงทุนโครงการพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นในปี 58 อีก 6 โครงการ จะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมในสิ้นปี 58 มีทั้งหมดราว 90 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 40 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการลงทุนในโครงการผลิตเอทานอลในกัมพูชา กำลังการผลิต 80,000 ลิตรต่อวัน โดยจะนำเอทานอลที่ได้มาทำเป็นน้ำมัน E85 ขายในประเทศกัมพูชา ซึ่งตอนนี้บริษัทได้มีการสำรวจที่ดินแล้ว และอยู่ระหว่างการรอจดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศกัมพูชา
นอกจากนี้ บริษัทมีการเจรจาการเพื่อซื้อโรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ในประเทศ ขนาดกำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ โดยบริษัทคาดว่าจะดำเนินการเข้าเจรจาซื้อธุรกิจ จำนวน 50% ของกำลังการผลิตทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาซื้อโรงไฟฟ้า SPP ในประเทศสำเร็จ จะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมในปี 58 มากกว่า 100 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ดี จากการเข้ามาดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนมากขึ้น ทำให้บริษัทคาดว่าในช่วงเดือนมกราคม 58 บริษัทจะมีการยื่นคำขอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อขอย้ายหมวดเป็นกลุ่มพลังงาน จากปัจจุบันบริษัทอยู่ในหมวดโทรคมนาคม
เนื่องจากบริษัทมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินธุรกิจในปี 57 ส่งผลให้สัดส่วนรายได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยจะเพิ่มสัดส่วนรายได้กลุ่มพลังงานทดแทนในปี 58 เป็น 90% จากปัจจุบันที่ 80% และปรับลดสัดส่วนรายได้กลุ่มโทรคมนาคมเหลือ 10% จากปัจจุบันที่ 20%
สำหรับการชำระหนี้แทนบริษัท จีเดค จำกัด ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการรอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการชำระหนี้แทนบริษัท จีเดค จำกัด จำนวน 285 ล้านบาท ในกรณีที่จีเดคมีการผิดเงื่อนไขสัญญากู้เงินกับธนาคารออมสิน ซึ่งสาเหตุที่ IEC ต้องเข้าไปรับภาระหนี้แทนจีเดค เนื่องจาก IEC มีสัดส่วนการถือหุ้นในจีเดครวม 50% และต้องการให้สามารถเดินหน้าจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในส่วนของโครงการบริหารจัดการระบบกำจัดขนะมูลฝอยชุมชน จำนวน 6 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ บริษัทได้มีการตกลงเพื่อขอซื้อหุ้นจีเดคคืนจากบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ที่มีการถือหุ้นในจีเดคทั้งสิ้น 50% โดยบริษัทได้มีมติขอซื้อหุ้นคืนจาก EGCO ทั้งหมด ซึ่งจะมีการจ่ายเงินในช่วงเดือนมีนาคม 58 และจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากจีเดค เป็น IEC หาดใหญ่ นอกจากนี้ จะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครืออื่นๆ ด้วย เช่น จากบริษัท แก้วลำดวนเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด เป็น IEC สระแก้ว เป็นต้น
ด้านนายณรงค์ องอาจมณีรัตน์ กรรมการบริหาร สายการปฏิบัติงาน 1 IEC เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาการตั้งกองทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มูลค่าหลักพันล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถตั้งกองทุนดังกล่าวได้ในช่วงปลายปี 58 ซึ่งวัตถุประสงค์ของการตั้งกองทุนดังกล่าวเพื่อนำสินทรัพย์ขายเข้ากองทุน ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทมีต้นทุนทางการเงินของบริษัทลดลง
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ของบริษัทในปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งหากการลงทุนโครงการใหม่เพิ่มเติมในปี 58 สำเร็จ คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น และมีความเหมาะสมในการจัดตั้งกองทุน
นายภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ากำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย (EBITDA) ในปี 58 อยู่ที่ 605 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่คาดว่าอยู่ที่ 123 ล้านบาท เนื่องจากในปีหน้าบริษัทจะมีรายได้จากการลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเข้ามาเป็นส่วนใหญ่ โดยโครงการพลังงานทดแทนที่ได้ลงทุนไปแล้วในปีนี้ จำนวน 40 เมกะวัตต์ จะสามารถรับรุ้รายได้เต็มปีในปีหน้า ทำให้ EBITDA ในปี 58 เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ทั้งนี้ ในปี 58 บริษัทเตรียมเงินลงทุนทั้งหมด 3.67 พันล้านบาท ไว้ใช้สำหรับลงทุนทั้งหมด 8 โครงการ โดยมุ่งเน้นโครงการพลังงานพลังงานทดแทน ได้แก่ 1.เพื่อซื้อหุ้นสามัญ 75% ของบริษัท แก้วลำดวนเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด ซึ่งดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล อ.แก้วลำดวน จ.สระแก้ว วงเงินรวม 390 ล้านบาท โดยชำระแล้ว 345 ล้านบาท 2.เพิ่มทุนในบริษัทไออีซี กรีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 140 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับจัดทำระบบคัดแยกขยะ และเตาเผาขยะ เพื่อรับจ้าง และสนับสนุนการดำเนินการของบริษัท จีเดค จำกัด ในการดำเนินโครงการบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ขณะเดียวกัน ลงทุนในธุรกิจด้านเทคโลยีสารสนเทศ ( ICT) กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 100 ล้านบาท
4.ร่วมลงทุนร้อยละ 25 ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) ขนาดกำลังผลิต 20 MW มูลค่า 300 ล้านบาท 5.ร่วมลงทุนในโครงการกำจัดขยะและแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า (MSW) จำนวน 600 ล้านบาท 6.ร่วมลงทุนในโครงการนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก (Industrial Estate) จำนวน 300 ล้านบาท 7.ร่วมลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังานก๊าซชีวภาพ (Bio-Gas) จำนวน 400 ล้านบาท 8.ร่วมลงทุนในโครงการผลิตเอทานอล (Ethanol) จำนวน 450 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การลงทุนโครงการพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นในปี 58 อีก 6 โครงการ จะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมในสิ้นปี 58 มีทั้งหมดราว 90 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 40 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการลงทุนในโครงการผลิตเอทานอลในกัมพูชา กำลังการผลิต 80,000 ลิตรต่อวัน โดยจะนำเอทานอลที่ได้มาทำเป็นน้ำมัน E85 ขายในประเทศกัมพูชา ซึ่งตอนนี้บริษัทได้มีการสำรวจที่ดินแล้ว และอยู่ระหว่างการรอจดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศกัมพูชา
นอกจากนี้ บริษัทมีการเจรจาการเพื่อซื้อโรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ในประเทศ ขนาดกำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ โดยบริษัทคาดว่าจะดำเนินการเข้าเจรจาซื้อธุรกิจ จำนวน 50% ของกำลังการผลิตทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาซื้อโรงไฟฟ้า SPP ในประเทศสำเร็จ จะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมในปี 58 มากกว่า 100 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ดี จากการเข้ามาดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนมากขึ้น ทำให้บริษัทคาดว่าในช่วงเดือนมกราคม 58 บริษัทจะมีการยื่นคำขอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อขอย้ายหมวดเป็นกลุ่มพลังงาน จากปัจจุบันบริษัทอยู่ในหมวดโทรคมนาคม
เนื่องจากบริษัทมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินธุรกิจในปี 57 ส่งผลให้สัดส่วนรายได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยจะเพิ่มสัดส่วนรายได้กลุ่มพลังงานทดแทนในปี 58 เป็น 90% จากปัจจุบันที่ 80% และปรับลดสัดส่วนรายได้กลุ่มโทรคมนาคมเหลือ 10% จากปัจจุบันที่ 20%
สำหรับการชำระหนี้แทนบริษัท จีเดค จำกัด ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการรอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการชำระหนี้แทนบริษัท จีเดค จำกัด จำนวน 285 ล้านบาท ในกรณีที่จีเดคมีการผิดเงื่อนไขสัญญากู้เงินกับธนาคารออมสิน ซึ่งสาเหตุที่ IEC ต้องเข้าไปรับภาระหนี้แทนจีเดค เนื่องจาก IEC มีสัดส่วนการถือหุ้นในจีเดครวม 50% และต้องการให้สามารถเดินหน้าจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในส่วนของโครงการบริหารจัดการระบบกำจัดขนะมูลฝอยชุมชน จำนวน 6 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ บริษัทได้มีการตกลงเพื่อขอซื้อหุ้นจีเดคคืนจากบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ที่มีการถือหุ้นในจีเดคทั้งสิ้น 50% โดยบริษัทได้มีมติขอซื้อหุ้นคืนจาก EGCO ทั้งหมด ซึ่งจะมีการจ่ายเงินในช่วงเดือนมีนาคม 58 และจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากจีเดค เป็น IEC หาดใหญ่ นอกจากนี้ จะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครืออื่นๆ ด้วย เช่น จากบริษัท แก้วลำดวนเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด เป็น IEC สระแก้ว เป็นต้น
ด้านนายณรงค์ องอาจมณีรัตน์ กรรมการบริหาร สายการปฏิบัติงาน 1 IEC เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาการตั้งกองทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มูลค่าหลักพันล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถตั้งกองทุนดังกล่าวได้ในช่วงปลายปี 58 ซึ่งวัตถุประสงค์ของการตั้งกองทุนดังกล่าวเพื่อนำสินทรัพย์ขายเข้ากองทุน ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทมีต้นทุนทางการเงินของบริษัทลดลง
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ของบริษัทในปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งหากการลงทุนโครงการใหม่เพิ่มเติมในปี 58 สำเร็จ คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น และมีความเหมาะสมในการจัดตั้งกองทุน