“บางกอกแอร์เวย์ส” เตรียมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในเดือน พ.ย.57 จำนวน 730 ล้านหุ้น โดยจะเปิดขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปกลางเดือน ต.ค.นี้
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนำงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ได้เริ่มนับ 1 แบบแสดงรายการข้อมูล หรือไฟลิ่ง การเสนอขายหุ้น IPO ของ BA แล้วเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยบริษัทจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 520 ล้านหุ้น และผู้ถือหุ้นเดิมจะเสนอขายหุ้นออกมาด้วยไม่เกิน 210 ล้านหุ้น รวมเสนอขายหุ้นทั้งสิ้น 730 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
วัตถุประสงค์การใช้เงินจากการระดมทุนครั้งนี้เพื่อใช้ขยายฝูงบิน รวมทั้งการปรับเปลี่ยน และ/หรือทดแทนฝูงบินเดิม การจัดซื้อเครื่องยนต์ อะไหล่ และอุปกรณ์สำรองสำหรับฝูงบินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรการฐานของอุตสาหกรรม การก่อสร้างโรงซ่อมอากาศยายนที่สนามบินสุวรรณภูมิ เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงการปรับปรุงสนามบินสมุย
ด้านนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ประกอบธุรกิจสายการบินในนาม “บางกอกแอร์เวย์ส” กล่าวว่า ณ วันที่ 30 มิ.ย.57 บริษัทให้บริการเที่ยวบินแบบประจำในเส้นทางการบินภายในประเทศ 14 เส้นทาง และระหว่างประเทศอีก 13 เส้นทาง
“ตลอด 46 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้สร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยความแตกต่างของโครงสร้างธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจการบินครบวงจร ทั้งสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ที่เติบโตจากสายการบินขนาดเล็กสู่การเป็นสายการบินที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยล่าสุด ได้รับ 2 รางวัล World’s Best Regional Airline และ Best Regional Airline in Asia 2014 จาก SKYTRAX” นายพุฒิพงศ์ กล่าว
นอกจากธุรกิจสายการบินแล้ว บริษัทฯ ยังเป็นเจ้าของ และดำเนินการบริหารท่าอากาศยานถึง 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ท่าอากาศยานตราด และท่าอากาศยานสุโขทัย และให้บริการทางการบินประเภทอื่นๆ ต่อสายการบินชั้นนำระดับโลก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ผ่านบริษัท Bangkok Air Catering (BAC) ที่ดำเนินธุรกิจผลิตอาหารเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเที่ยวบิน บริษัท Worldwide Flight Services Bangkok Air Ground Handling (BFS Ground) ที่ให้บริการภาคพื้น และให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น และบริษัท WFS-PG Cargo (BFS Cargo) ซึ่งให้บริการคลังสินค้าระหว่างประเทศ
“บริษัทยังมีรายได้อื่นๆ ซึ่งรวมถึงเงินปันผลจากการลงทุนในหุ้นสามัญของ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) คิดเป็นประมาณร้อยละ 7.83 ของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างทางธุรกิจที่หลากหลาย และครอบคลุมของบริษัทฯ ทำให้รายได้ของบริษัทฯ สามารถเติบโตตามอุตสาหกรรมการบิน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทย และในระดับภูมิภาคด้วย” นายพุฒิพงศ์ กล่าว
สำหรับการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือ IPO ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน และสนับสนุนการเติบโตในอนาคต บริษัทมีแผนจะเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก จำนวนไม่เกิน 520 ล้านหุ้น ซึ่งคิดเป็นไม่เกิน 24.8% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
บล.เอเซีย พลัส ในฐานะผู้เข้าร่วมเป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BA ระบุในบทวิเคราะห์ฯ (เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ก.ย.) ว่า มูลค่ากิจการของ BA อยู่ที่ 6.1-6.5 หมื่นล้านบาท อิง Sum of the Part (ธุรกิจการบิน + มูลค่าหุ้น BGH ที่ BA ถือหุ้น 7.83%)
ขณะที่ผลกระทบจากการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีกองทุน SPF ซึ่งทำให้ BA ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายทางบัญชีสูงขึ้น (ไม่กระทบกระแสเงินสด) ส่งผลให้กำไรสะสมจนกลายเป็นติดลบ BA มีแผนจะนำส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่ได้จากการระดมทุนมาล้างขาดทุน เพื่อจ่ายเงินปันผลในอนาคต
การระดมทุนในรอบนี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ขยายฝูงบินอีกปีละ 5-6 ลำ ในช่วงปี 57-60 (กำลังการให้บริการปี 60 จะเพิ่มขึ้น 2.3 เท่าตัว จากปี 56 โดยจะนำฝูงบินไปบินในเส้นทางที่หวังผลตอบแทนสูงได้ เช่น เชียงใหม่-อุดรธานี เชียงใหม่-ภูเก็ต เชียงใหม่-มัณฑะเลย์ นอกจากนี้ ยังจะเสริมเที่ยวบินที่จะลงสู่สนามบินสมุย ซึ่งอยู่ระหว่างขออนุมัติจากกรมการบินพลเรือนเพิ่มเที่ยวบินลงสู่สมุยจาก 36 เที่ยวในปัจจุบัน (ซึ่ง BA เป็นผู้ทำการบิน 32 เที่ยว) เป็น 50 เที่ยว คาด BA จะเพิ่มเที่ยวบินสมุยอย่างช้าช่วงฤดูหนาวปี 58 โดยเน้นการเปิดเส้นทางใหม่สู่จีน
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนำงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ได้เริ่มนับ 1 แบบแสดงรายการข้อมูล หรือไฟลิ่ง การเสนอขายหุ้น IPO ของ BA แล้วเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยบริษัทจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 520 ล้านหุ้น และผู้ถือหุ้นเดิมจะเสนอขายหุ้นออกมาด้วยไม่เกิน 210 ล้านหุ้น รวมเสนอขายหุ้นทั้งสิ้น 730 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
วัตถุประสงค์การใช้เงินจากการระดมทุนครั้งนี้เพื่อใช้ขยายฝูงบิน รวมทั้งการปรับเปลี่ยน และ/หรือทดแทนฝูงบินเดิม การจัดซื้อเครื่องยนต์ อะไหล่ และอุปกรณ์สำรองสำหรับฝูงบินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรการฐานของอุตสาหกรรม การก่อสร้างโรงซ่อมอากาศยายนที่สนามบินสุวรรณภูมิ เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงการปรับปรุงสนามบินสมุย
ด้านนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ประกอบธุรกิจสายการบินในนาม “บางกอกแอร์เวย์ส” กล่าวว่า ณ วันที่ 30 มิ.ย.57 บริษัทให้บริการเที่ยวบินแบบประจำในเส้นทางการบินภายในประเทศ 14 เส้นทาง และระหว่างประเทศอีก 13 เส้นทาง
“ตลอด 46 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้สร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยความแตกต่างของโครงสร้างธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจการบินครบวงจร ทั้งสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ที่เติบโตจากสายการบินขนาดเล็กสู่การเป็นสายการบินที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยล่าสุด ได้รับ 2 รางวัล World’s Best Regional Airline และ Best Regional Airline in Asia 2014 จาก SKYTRAX” นายพุฒิพงศ์ กล่าว
นอกจากธุรกิจสายการบินแล้ว บริษัทฯ ยังเป็นเจ้าของ และดำเนินการบริหารท่าอากาศยานถึง 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ท่าอากาศยานตราด และท่าอากาศยานสุโขทัย และให้บริการทางการบินประเภทอื่นๆ ต่อสายการบินชั้นนำระดับโลก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ผ่านบริษัท Bangkok Air Catering (BAC) ที่ดำเนินธุรกิจผลิตอาหารเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเที่ยวบิน บริษัท Worldwide Flight Services Bangkok Air Ground Handling (BFS Ground) ที่ให้บริการภาคพื้น และให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น และบริษัท WFS-PG Cargo (BFS Cargo) ซึ่งให้บริการคลังสินค้าระหว่างประเทศ
“บริษัทยังมีรายได้อื่นๆ ซึ่งรวมถึงเงินปันผลจากการลงทุนในหุ้นสามัญของ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) คิดเป็นประมาณร้อยละ 7.83 ของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างทางธุรกิจที่หลากหลาย และครอบคลุมของบริษัทฯ ทำให้รายได้ของบริษัทฯ สามารถเติบโตตามอุตสาหกรรมการบิน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทย และในระดับภูมิภาคด้วย” นายพุฒิพงศ์ กล่าว
สำหรับการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือ IPO ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน และสนับสนุนการเติบโตในอนาคต บริษัทมีแผนจะเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก จำนวนไม่เกิน 520 ล้านหุ้น ซึ่งคิดเป็นไม่เกิน 24.8% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
บล.เอเซีย พลัส ในฐานะผู้เข้าร่วมเป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BA ระบุในบทวิเคราะห์ฯ (เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ก.ย.) ว่า มูลค่ากิจการของ BA อยู่ที่ 6.1-6.5 หมื่นล้านบาท อิง Sum of the Part (ธุรกิจการบิน + มูลค่าหุ้น BGH ที่ BA ถือหุ้น 7.83%)
ขณะที่ผลกระทบจากการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีกองทุน SPF ซึ่งทำให้ BA ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายทางบัญชีสูงขึ้น (ไม่กระทบกระแสเงินสด) ส่งผลให้กำไรสะสมจนกลายเป็นติดลบ BA มีแผนจะนำส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่ได้จากการระดมทุนมาล้างขาดทุน เพื่อจ่ายเงินปันผลในอนาคต
การระดมทุนในรอบนี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ขยายฝูงบินอีกปีละ 5-6 ลำ ในช่วงปี 57-60 (กำลังการให้บริการปี 60 จะเพิ่มขึ้น 2.3 เท่าตัว จากปี 56 โดยจะนำฝูงบินไปบินในเส้นทางที่หวังผลตอบแทนสูงได้ เช่น เชียงใหม่-อุดรธานี เชียงใหม่-ภูเก็ต เชียงใหม่-มัณฑะเลย์ นอกจากนี้ ยังจะเสริมเที่ยวบินที่จะลงสู่สนามบินสมุย ซึ่งอยู่ระหว่างขออนุมัติจากกรมการบินพลเรือนเพิ่มเที่ยวบินลงสู่สมุยจาก 36 เที่ยวในปัจจุบัน (ซึ่ง BA เป็นผู้ทำการบิน 32 เที่ยว) เป็น 50 เที่ยว คาด BA จะเพิ่มเที่ยวบินสมุยอย่างช้าช่วงฤดูหนาวปี 58 โดยเน้นการเปิดเส้นทางใหม่สู่จีน