นายแบงก์รัฐ ระบุวงการสถาบันการเงินเข้มแข็งขึ้น หลังผ่านวิกฤตการณ์ทางการเงิน ใช้บทเรียนคุมเข้มสินเชื่อ
นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า “ในช่วงวิกฤตการณ์ปี 2540 จนต้องมีการลอยตัวค่าเงินบาท ในวันที่ 2 กรกฎาคม ยอมรับว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งลูกค้า และสถาบันการเงินต่างรับรู้ว่า มีรัฐบาลคอยคุ้มครองความเสี่ยง จึงปล่อยสินเชื่อขาดคุณภาพ แต่จากบทเรียนดังกล่าว เมื่อรัฐบาลได้ปรับบทบาทดูแลผู้ฝากเงินรับความเสี่ยงด้วยบางส่วน จากนั้นมาสถาบันการเงินต่างเข้มแข็ง ควบคุมคุณภาพการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ไม่ปล่อยสินเชื่ออย่างมีความเสี่ยง”
ขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับประมาณ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะหากแข็งค่ามากขึ้นจะกระทบต่อกลุ่มผู้ส่งออก แต่ดีต่อกลุ่มผู้นำเข้า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะดูแลค่าเงินให้มาสู่จุดเหมาะสม หากเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงกระทบผู้นำเข้าจะมีการแทรกแซงให้มาสู่จุดสมดุลภาพ ดังนั้น นับตั้งแต่ลอยตัวค่าเงินบาท เศรษฐกิจได้พัฒนาดีขึ้นจนทำให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม
นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า “ในช่วงวิกฤตการณ์ปี 2540 จนต้องมีการลอยตัวค่าเงินบาท ในวันที่ 2 กรกฎาคม ยอมรับว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งลูกค้า และสถาบันการเงินต่างรับรู้ว่า มีรัฐบาลคอยคุ้มครองความเสี่ยง จึงปล่อยสินเชื่อขาดคุณภาพ แต่จากบทเรียนดังกล่าว เมื่อรัฐบาลได้ปรับบทบาทดูแลผู้ฝากเงินรับความเสี่ยงด้วยบางส่วน จากนั้นมาสถาบันการเงินต่างเข้มแข็ง ควบคุมคุณภาพการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ไม่ปล่อยสินเชื่ออย่างมีความเสี่ยง”
ขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับประมาณ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะหากแข็งค่ามากขึ้นจะกระทบต่อกลุ่มผู้ส่งออก แต่ดีต่อกลุ่มผู้นำเข้า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะดูแลค่าเงินให้มาสู่จุดเหมาะสม หากเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงกระทบผู้นำเข้าจะมีการแทรกแซงให้มาสู่จุดสมดุลภาพ ดังนั้น นับตั้งแต่ลอยตัวค่าเงินบาท เศรษฐกิจได้พัฒนาดีขึ้นจนทำให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม