ประเมินแนวโน้มเมษายน ปัจจัยความรุนแรงทางการเมืองทั้งใน และนอกประเทศยังกดดันตลาด คาดหมดเทศกาลปันผล นักลงทุนลดความน่าสนใจอีกเจอเทศกาลสงกรานต์กดดันสร้างแรงเทขายปรับพอร์ตรอความชัดเจน โบรกฯ คาดทั้งไตรมาส 1 วอลุ่มเทรดประมาณ 2 หมื่นล้าน หวั่นการเมือง-เศรษฐกิจชะลอตัวกดดันสถาบันต่างชาติหั่นเครดิตไทย ชี้หากดัชนีปรับตัวลงแตะระดับ 1,320 จุด น่าเข้าลงทุน ส่วนแนวโน้มหุ้น IPO หากปัญหาการเมืองไม่รุนแรงมีโอกาสได้เห็นเพิ่มเติม
ภาพรวมตลาดหุ้นรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (24-28 มี.ค.) ดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อของต่างชาติ และการทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชี โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,368.90 จุด เพิ่มขึ้น 0.62% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 29.52% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 25,563.22 ล้านบาท ด้านส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 395.03 จุด ลดลง 2.24% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่นักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ส่วนนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน ขายสุทธิ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินภาพรวมตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ในวันจันทร์ตลาดได้รับแรงกดดันจากปัจจัยการเมือง แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตในยูเครน ถัดมาตลาดหุ้นปรับลดลงอีกครั้งในวันพฤหัสบดี จากแรงขายทำกำไร แต่ตลาดสามารถที่จะกลับมาปิดเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ และแรงซื้อเพื่อทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชี (Window Dressing)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย.2557 มองว่าดัชนีมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้หลังจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง โดยต้องจับตาปัจจัยการเมืองในประเทศ ขณะที่ตลาดคงจะให้น้ำหนักกับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องชี้ภาคการผลิต (ISM Manufacture) ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และตัวเลขเศรษฐกิจจีน ได้แก่ การรายงานเครื่องชี้ภาคการผลิต (PMI) ทั้งนี้บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,351 และ 1,342 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,381 และ 1,400 จุด ตามลำดับ
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในเดือนเมษายน ทิศทางภาพรวม SET INDEX ยังคงแกว่งตัวออกด้านข้างอยู่ โดยปัจจัยที่ยังคงรบกวนตลาดอยู่ คือ ปัญหาการเมืองในประเทศ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศคือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างปัญหาในแคว้นไครเมียของยูเครน และรัสเซีย ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งถ้าหากประเทศแถบซีกโลกตะวันตก แสดงท่าทีแทรกแซงรัสเซียมากเกินไป ก็อาจเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในยูโรโซนได้เช่นกัน
“เราประเมินภาวะตลาดหุ้นไทยระดับเหนือ 1,350 จุดขึ้นไป ยังอยู่ในช่วงของความเสี่ยงและเปราะบางต่อการลงทุน ซึ่งมีโอกาสที่ดัชนี SET INDEX จะปรับตัวลงมาที่ 1,320-1,330 จุด ซึ่งถ้าหากดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อสะสมในหุ้นพื้นฐานดี ขณะที่หุ้น IPO กระแสตอบรับเริ่มทยอยกลับเข้ามาหลังจากสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองคลี่คลายลงไป ซึ่งมองว่าในครึ่งปีหลังจะมีโอกาสได้เห็นหุ้น IPO เข้าสู่ตลาดมากขึ้น และตลาดน่าจะตอบรับในทางที่ดี
ส่วนวอลุ่มการซื้อขายที่ช่วงไตรมาสที่ 1 พบว่า มีวอลุ่มการซื้อขายเฉลี่ยที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้าหากการเมืองเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และมีเสถียรภาพมากขึ้น คาดว่าวอลุ่มการซื้อขายจะกลับเข้ามามากขึ้นด้วย จากที่ก่อนหน้านี้ซื้อขายต่อวันอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยเฉลี่ยกลับมาซื้อขายที่ประมาณ 30,000 ล้านบาทแล้ว จากทั้งนักลงทุนรายย่อย โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา นักลงทุนกังวลต่อเศรษฐกิจที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง จึงชะลอการลงทุนออกไปก่อน
นายเอกภาวิน สุนทราภิชาติ นักกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยเดือนเมษายนพิจารณาจาก SET INDEX ที่ปรับตัวขึ้นมา สะท้อนการเมืองที่คลี่คลายไปในระดับหนึ่งแล้ว และเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ได้ประกาศจ่ายปันผล ทำให้ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ตลาดหุ้นไทยอาจจะซบเซาลง เนื่องจากนักลงทุนมองว่าเลยช่วงเวลาปันผลออกไปแล้ว ซื้อไปอาจไม่ได้ผลตอบแทน ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ทำให้วอลุ่มการซื้อขายหายไป และมีโอกาสขายทำกำไรมากกว่า เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่มีอะไรคืบหน้า ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ และประเทศไทยอาจจะส่งผลต่อการถูกปรับลดอัตราเครดิตเรตติ้งลงได้
ส่วนแนวโน้มการลงทุนตลาดหุ้นเดือนเมษายน คาดว่าจะมีนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาทำกำไรมากขึ้น ในขณะที่หุ้น IPO ของปีนี้จะต้องรอจังหวะที่เหมาะสมในการเข้าตลาด โดยหากเข้าเทรดในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ก็อาจจะไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนที่ดีนัก ทั้งนี้ วางกรอบแนวรับจะมี 2 กรอบคือ กรอบแรกที่ 1,385-1,400 จุด ส่วนกรอบที่ 2 จะอยูที่ 1,300-1,330 จุด
สำหรับหุ้นที่มีความโดนเด่นแม้ว่าสถานการณ์การเมืองจะยังไม่คลี่คลาย หรือได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจภายในประเทศ มองว่ากลุ่มส่งออกจะได้รับอานิสงส์ดีที่สุด ได้แก่ หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น HANA ส่วนกลุ่มสินค้าอาหาร หรือสินค้าเกษตรที่มีความโดดเด่นคือ TUF, CPF และกลุ่มปัจจัยพื้นฐานหุ้นเทียบราคาสินทรัพย์ที่มีราคาถูก ได้แก่ BCH ซึ่งคาดว่ากำไรในปีนี้จะฟื้นตัวขึ้น และราคายังไม่ได้ปรับสูงขึ้นไปตามกระแสตลาด
ภาพรวมตลาดหุ้นรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (24-28 มี.ค.) ดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อของต่างชาติ และการทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชี โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,368.90 จุด เพิ่มขึ้น 0.62% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 29.52% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 25,563.22 ล้านบาท ด้านส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 395.03 จุด ลดลง 2.24% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่นักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ส่วนนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน ขายสุทธิ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินภาพรวมตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ในวันจันทร์ตลาดได้รับแรงกดดันจากปัจจัยการเมือง แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตในยูเครน ถัดมาตลาดหุ้นปรับลดลงอีกครั้งในวันพฤหัสบดี จากแรงขายทำกำไร แต่ตลาดสามารถที่จะกลับมาปิดเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ และแรงซื้อเพื่อทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชี (Window Dressing)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย.2557 มองว่าดัชนีมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้หลังจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง โดยต้องจับตาปัจจัยการเมืองในประเทศ ขณะที่ตลาดคงจะให้น้ำหนักกับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องชี้ภาคการผลิต (ISM Manufacture) ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และตัวเลขเศรษฐกิจจีน ได้แก่ การรายงานเครื่องชี้ภาคการผลิต (PMI) ทั้งนี้บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,351 และ 1,342 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,381 และ 1,400 จุด ตามลำดับ
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนในเดือนเมษายน ทิศทางภาพรวม SET INDEX ยังคงแกว่งตัวออกด้านข้างอยู่ โดยปัจจัยที่ยังคงรบกวนตลาดอยู่ คือ ปัญหาการเมืองในประเทศ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศคือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างปัญหาในแคว้นไครเมียของยูเครน และรัสเซีย ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งถ้าหากประเทศแถบซีกโลกตะวันตก แสดงท่าทีแทรกแซงรัสเซียมากเกินไป ก็อาจเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในยูโรโซนได้เช่นกัน
“เราประเมินภาวะตลาดหุ้นไทยระดับเหนือ 1,350 จุดขึ้นไป ยังอยู่ในช่วงของความเสี่ยงและเปราะบางต่อการลงทุน ซึ่งมีโอกาสที่ดัชนี SET INDEX จะปรับตัวลงมาที่ 1,320-1,330 จุด ซึ่งถ้าหากดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะเข้าซื้อสะสมในหุ้นพื้นฐานดี ขณะที่หุ้น IPO กระแสตอบรับเริ่มทยอยกลับเข้ามาหลังจากสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองคลี่คลายลงไป ซึ่งมองว่าในครึ่งปีหลังจะมีโอกาสได้เห็นหุ้น IPO เข้าสู่ตลาดมากขึ้น และตลาดน่าจะตอบรับในทางที่ดี
ส่วนวอลุ่มการซื้อขายที่ช่วงไตรมาสที่ 1 พบว่า มีวอลุ่มการซื้อขายเฉลี่ยที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้าหากการเมืองเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และมีเสถียรภาพมากขึ้น คาดว่าวอลุ่มการซื้อขายจะกลับเข้ามามากขึ้นด้วย จากที่ก่อนหน้านี้ซื้อขายต่อวันอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยเฉลี่ยกลับมาซื้อขายที่ประมาณ 30,000 ล้านบาทแล้ว จากทั้งนักลงทุนรายย่อย โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา นักลงทุนกังวลต่อเศรษฐกิจที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง จึงชะลอการลงทุนออกไปก่อน
นายเอกภาวิน สุนทราภิชาติ นักกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยเดือนเมษายนพิจารณาจาก SET INDEX ที่ปรับตัวขึ้นมา สะท้อนการเมืองที่คลี่คลายไปในระดับหนึ่งแล้ว และเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ได้ประกาศจ่ายปันผล ทำให้ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ตลาดหุ้นไทยอาจจะซบเซาลง เนื่องจากนักลงทุนมองว่าเลยช่วงเวลาปันผลออกไปแล้ว ซื้อไปอาจไม่ได้ผลตอบแทน ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ทำให้วอลุ่มการซื้อขายหายไป และมีโอกาสขายทำกำไรมากกว่า เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่มีอะไรคืบหน้า ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ และประเทศไทยอาจจะส่งผลต่อการถูกปรับลดอัตราเครดิตเรตติ้งลงได้
ส่วนแนวโน้มการลงทุนตลาดหุ้นเดือนเมษายน คาดว่าจะมีนักลงทุนเทขายหุ้นออกมาทำกำไรมากขึ้น ในขณะที่หุ้น IPO ของปีนี้จะต้องรอจังหวะที่เหมาะสมในการเข้าตลาด โดยหากเข้าเทรดในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ก็อาจจะไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนที่ดีนัก ทั้งนี้ วางกรอบแนวรับจะมี 2 กรอบคือ กรอบแรกที่ 1,385-1,400 จุด ส่วนกรอบที่ 2 จะอยูที่ 1,300-1,330 จุด
สำหรับหุ้นที่มีความโดนเด่นแม้ว่าสถานการณ์การเมืองจะยังไม่คลี่คลาย หรือได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจภายในประเทศ มองว่ากลุ่มส่งออกจะได้รับอานิสงส์ดีที่สุด ได้แก่ หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น HANA ส่วนกลุ่มสินค้าอาหาร หรือสินค้าเกษตรที่มีความโดดเด่นคือ TUF, CPF และกลุ่มปัจจัยพื้นฐานหุ้นเทียบราคาสินทรัพย์ที่มีราคาถูก ได้แก่ BCH ซึ่งคาดว่ากำไรในปีนี้จะฟื้นตัวขึ้น และราคายังไม่ได้ปรับสูงขึ้นไปตามกระแสตลาด