xs
xsm
sm
md
lg

TRUBB งวดสิ้นปี 56 ขาดทุนลดเหลือ 156 ล.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ฯ” ขาดทุนลดลงเหลือ 156 ล้านบาท แม้ความต้องการใช้ยางลดลง บริษัทปรับกลยุทธ์ด้วยการเน้นการพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมออกสู่ตลาด เพื่อเป็นการสร้างตลาดใน Segment ใหม่ที่ยังไม่มีการแข่งขันมาก และปรับกลยุทธ์การผลิตเพื่อลดต้นทุน

นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TRUBB แจ้งผลการดำเนินงานงวดสิ้นปี 56 ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 156 ล้านบาท ขณะที่งวดนี้ปีก่อนมีผลขาดทุนสุทธิ 197 ล้านบาท หรือขาดทุนลดลง 42.44 ล้านบาท

โดยงวดนี้เป็นปีที่ตลาดโลกมีความต้องการใช้ยางลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาลง แต่ในทางกลับกันพื้นที่ปลูกยางที่เริ่มกรีดก็มีเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ดังนั้น สภาวะการแข่งขันในธุรกิจยางจึงยังมีการแข่งขันอย่างสูง และจากปัจจัยข้างต้นก็ทำให้ราคายางแผ่นปรับตัวลดลงจากที่ช่วงต้นปีอยู่ที่ประมาณ 90-100 บาทต่อกิโลกรัม แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 จนถึงสิ้นปีราคาอยู่ในกรอบระหว่าง 75-85 บาทต่อกิโลกรัม และมีแนวโน้มที่จะลดลง ลักษณะเช่นนี้ส่งผลต่อยอดขายของบริษัทเนื่องจากผู้ซื้อจะชะลอการซื้อเนื่องจากคาดหวังราคาที่ต่าลงในอนาคต

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสภาวะธุรกิจโดยการเน้นการพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมออกสู่ตลาด เพื่อเป็นการสร้างตลาดใน Segment ใหม่ที่ยังไม่มีการแข่งขันมาก และนอกจากนี้ ก็มีการปรับกลยุทธ์การผลิตเพื่อลดต้นทุน เช่นก ารหยุดดำเนินการโรงงานน้ายางข้นที่ผลิตได้ไม่ถึงจุดคุ้มทุนที่จังหวัดบึงกาฬ เมื่อพิจารณางบการเงินปี 2556 เมื่อเทียบกับปี 2555 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการ 13,453.83 ล้านบาท ลดลง 2,992.25 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 18% ซึ่งเป็นผลจากการที่ราคายางโดยเฉลี่ยต่ำลง จากสภาวะอุตสาหกรรม และการแข่งขัน ส่วนต้นทุนขายและบริการ 12,872.08 ล้านบาท ลดลง 2,968.50 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 19% ทำให้กลุ่มบริษัทมีกำไรขั้นต้น 581.75 ล้านบาท ลดลง 23.75 ล้านบาท คิดเป็นลดลง 4% อย่างไรก็ตาม หากดูที่อัตรากำไรขั้นต้นจะเห็นว่าในปี 2556 อยู่ที่ 4.30% ซึ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2555 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ และการลดต้นทุนผลิตดังกล่าว

ด้านค่าใช้จ่ายในการขาย 335.84 ล้านบาท ลดลง 26% ตามค่าสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ลดลง ค่าใช้จ่ายบริหาร 314.52 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 82.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% ในจำนวนที่เพิ่มขึ้นมีรายการหลักคือ ย้ายการบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการผลิตเป็นค่าใช้จ่ายบริหารตามมาตรฐานบัญชี ทาให้มีส่วนต่างของรายการนี้ในปี 2556 กับปี 2555 จำนวน 54 ล้านบาท และมีการย้ายการบันทึกค่าใช้จ่ายบริหารขึ้นไปเป็นสินทรัพย์ในปี 2555 จึงทำให้มีผลต่างจากปี 2556 เพิ่มขึ้นอีก 28 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายทางการเงินมี 248.47 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 2%


กำลังโหลดความคิดเห็น