ซังโกะ ไดคาซติ้ง (ประเทศไทย) หรือ SANKO พร้อมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) 9 พฤษภาคมนี้ พร้อมมุ่งมั่นเติบโตอย่างต่อเนื่องตามอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยเป็นบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ใน mai ลำดับที่ 5 ของปีนี้
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า บมจ. ซังโกะ ไดคาซติ้ง (ประเทศไทย) (SANKO) จะเข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 นี้ โดย SANKO ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอะลูมิเนียม และสังกะสีฉีดขึ้นรูปตามคำสั่งซื้อของลูกค้าด้วยแม่พิมพ์ฉีดหล่อความดันสูง (High-Pressure Diecasting หรือ HPDC) ที่สามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายรองรับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
โดย SANKO เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนให้แก่อุตสาหกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก โดยผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ ชิ้นส่วนของชุดกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ สตาร์ทเตอร์ ชิ้นส่วนระบบคลัตช์ ระบบเกียร์อัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการออกแบบสายการผลิตให้มีความยืดหยุ่น เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรกลเกษตรมากยิ่งขึ้น โดยผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ชิ้นส่วนประกอบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ชิ้นส่วนประกอบกล้องถ่ายวิดีโอ ชิ้นส่วนประกอบเครื่องตัดหญ้า ชิ้นส่วนประกอบรถแทร็กเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทวางเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของลูกค้า สามารถส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า
สำหรับ SANKO มีทุนชำระแล้ว 110 ล้านบาท มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.5 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 176 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 44 ล้านหุ้น โดยบริษัทเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 44 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 29-30 เมษายน และ 2 พฤษภาคม 2556 ในราคาหุ้นละ 1.30 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุนรวม 57.2 ล้านบาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน
นอกจากนี้ บริษัทได้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของ SANKO ต่อกรรมการและพนักงานของบริษัท (จดข้อจำกัดการโอน) จำนวน 6,000,000 หน่วย มีอายุ 5 ปี ราคาเสนอขายหน่วยละ 0.00 บาท โดยใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.50 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ มีการกำหนดเงื่อนไขให้ทยอยใช้สิทธิ โดยสามารถใช้สิทธิครั้งแรกได้ไม่เกินร้อยละ 25 นับจากวันที่ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ 6 เดือน
นายรัฐวัฒน์ ศุขสายชล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SANKO กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ บริษัทจะนำเงินที่ระดมทุนได้ในครั้งนี้ไปขยายพื้นที่โรงงาน และติดตั้งเครื่องจักรใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยบริษัทวางเป้าหมายให้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
หลัง IPO ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SANKO 3 รายแรก ได้แก่ กลุ่มปิ่นทอง ถือหุ้น 40.28% กลุ่มบริษัท วีเน็ท แคปปิตอล จำกัด ถือหุ้น 22.36% และกลุ่มนายมาซามิ คัตซูโมโต ถือหุ้น 17.00% ราคา IPO ของ SANKO ในราคาหุ้นละ 1.30 บาท ตามข้อมูลที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) 14.83 เท่า โดยคำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้น 4 ไตรมาสที่ผ่านมา (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2555) ซึ่งเท่ากับ 19.28 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (Fully diluted) ซึ่งเท่ากับ 220 ล้านหุ้น คิดเป็นกำไรสุทธิเท่ากับ 0.09 บาทต่อหุ้น
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และทุนสำรองต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ซึ่งการจ่ายเงินปันผลนั้นจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน สภาพคล่อง การขยายธุรกิจ ความจำเป็น ความเหมาะสมอื่นใดในอนาคต และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานของบริษัท ตามที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นสมควร หรือเหมาะสม
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า บมจ. ซังโกะ ไดคาซติ้ง (ประเทศไทย) (SANKO) จะเข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 นี้ โดย SANKO ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอะลูมิเนียม และสังกะสีฉีดขึ้นรูปตามคำสั่งซื้อของลูกค้าด้วยแม่พิมพ์ฉีดหล่อความดันสูง (High-Pressure Diecasting หรือ HPDC) ที่สามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายรองรับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
โดย SANKO เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนให้แก่อุตสาหกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก โดยผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ ชิ้นส่วนของชุดกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ สตาร์ทเตอร์ ชิ้นส่วนระบบคลัตช์ ระบบเกียร์อัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการออกแบบสายการผลิตให้มีความยืดหยุ่น เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรกลเกษตรมากยิ่งขึ้น โดยผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ชิ้นส่วนประกอบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ชิ้นส่วนประกอบกล้องถ่ายวิดีโอ ชิ้นส่วนประกอบเครื่องตัดหญ้า ชิ้นส่วนประกอบรถแทร็กเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทวางเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของลูกค้า สามารถส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า
สำหรับ SANKO มีทุนชำระแล้ว 110 ล้านบาท มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.5 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 176 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 44 ล้านหุ้น โดยบริษัทเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 44 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 29-30 เมษายน และ 2 พฤษภาคม 2556 ในราคาหุ้นละ 1.30 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุนรวม 57.2 ล้านบาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน
นอกจากนี้ บริษัทได้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของ SANKO ต่อกรรมการและพนักงานของบริษัท (จดข้อจำกัดการโอน) จำนวน 6,000,000 หน่วย มีอายุ 5 ปี ราคาเสนอขายหน่วยละ 0.00 บาท โดยใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.50 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ มีการกำหนดเงื่อนไขให้ทยอยใช้สิทธิ โดยสามารถใช้สิทธิครั้งแรกได้ไม่เกินร้อยละ 25 นับจากวันที่ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ 6 เดือน
นายรัฐวัฒน์ ศุขสายชล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SANKO กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ บริษัทจะนำเงินที่ระดมทุนได้ในครั้งนี้ไปขยายพื้นที่โรงงาน และติดตั้งเครื่องจักรใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยบริษัทวางเป้าหมายให้มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
หลัง IPO ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SANKO 3 รายแรก ได้แก่ กลุ่มปิ่นทอง ถือหุ้น 40.28% กลุ่มบริษัท วีเน็ท แคปปิตอล จำกัด ถือหุ้น 22.36% และกลุ่มนายมาซามิ คัตซูโมโต ถือหุ้น 17.00% ราคา IPO ของ SANKO ในราคาหุ้นละ 1.30 บาท ตามข้อมูลที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) 14.83 เท่า โดยคำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้น 4 ไตรมาสที่ผ่านมา (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2555) ซึ่งเท่ากับ 19.28 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (Fully diluted) ซึ่งเท่ากับ 220 ล้านหุ้น คิดเป็นกำไรสุทธิเท่ากับ 0.09 บาทต่อหุ้น
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และทุนสำรองต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ซึ่งการจ่ายเงินปันผลนั้นจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน สภาพคล่อง การขยายธุรกิจ ความจำเป็น ความเหมาะสมอื่นใดในอนาคต และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานของบริษัท ตามที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นสมควร หรือเหมาะสม