ภาพของเศรษฐกิจโลกที่จะกระทบต่อราคาทองคำในต้นปี 2556 พอจะสรุปได้โดยแยกกลุ่มของประเทศ ดังต่อไปนี้
เอเชียโดยรวมน่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำ ยกเว้นการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
จากภาพทางเศรษฐกิจและการเงินที่ย่ำแย่และทรุดต้วลงของญี่ปุ่นเมื่อปลายปีก่อน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผลักดันให้นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นแก่ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นในการปรับเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อขึ้นเท่าตัว และจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อนุมัติการ
อัดฉีดเม็ดเงินถึง 10.3 ล้านล้านเยนได้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ได้ส่งผลลบต่อราคาทองคำ โดยล่าสุด จากการที่ผู้ว่าธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นได้ตัดสินใจลาออกก่อนครบวาระนั้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น และน่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำได้ในระยะยาว [Bloomberg]
ด้านจีนที่เศรษฐกิจโดยรวมได้กลับมาดีขึ้นต่อเนื่องจากปลายปีก่อน โดยสังเกตจากตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญโดยรวมที่ได้ประกาศออกมาได้สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนมากขึ้น เช่น ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อนอกภาคการผลิตที่ 56.1 จาก 55.6 ตัวเลขดุลการค้าที่ 3.16 หมื่นล้านจาก 1.96 หมื่นล้าน ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต และผู้บริโภครายปีที่ 2.5% จาก 2% และ -1.9% จาก -2.2% ตามลำดับ ตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศรายไตรมาสที่ 7.9% จาก 7.4% ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ 10.3% จาก 10.1% ตัวเลขยอดค้าปลีกรายปีที่ 15.2% จาก 14.9% และตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัด
ซื้อภาคการผลิตที่ประกาศ 51.9 จาก 51.5 เป็นต้น ได้เป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อค่าเงินหยวน และราคาทองคำ [Forexfactory]
นอกจากนี้ สำหรับปัจจัยทางการเมืองนั้น เราคาดถึงการเปลี่ยนแปลงผู้นำในประเทศที่สำคัญในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ จีนยุคใหม่ที่น่าจะส่งเสริมและสนับสนุนให้บรรยากาศการลงทุนโดยรวมดีขึ้น ยกเว้นการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศตนเองอ่อนค่าซึ่งน่าจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ
ยุโรปดูดีในช่วงแรก แต่ยังน่าเป็นห่วงและกดดันราคาทองคำ
ภาพของการประชุมและประกาศนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแห่งยุโรปและอังกฤษโดยได้ตรึงที่ระดับ 0.75 % และ 0.5% ตามลำดับ และความคิดเห็นของประธานธนาคารกลางแห่งยุโรปที่ได้ออก Press Conference ที่ได้พาดพิงถึงมุมมองทางการเงินและเศรษฐกิจในกลุ่ม EU ในทิศทางบวก ได้ส่งผลดีต่อราคาทองคำโดยอาจจะต่างจากภาพเมื่อปลายปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี ปัจจัยเรื่องตัวเลขอัตราการว่างงานที่ยังสูง ตัวเลขหนี้สาธารณะ และความกังวลในความขัดแย้งของการเมืองในสเปน อิตาลีนั้นยังเป็นปัจจัยหลักที่มีแนวโน้มที่จะกดดันราคาทองคำได้อย่างมีนัยสำคัญ
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของกลุ่มยุโรปที่ได้เป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าในอังกฤษรายปีที่ประกาศ 0.6% จาก 1.5% ตัวเลขดัชนีการจัดการจัดซื้อภาคการบริการ ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคเบื้องต้นรายเดือนในอิตาลีที่ 43.9 จาก 45.6 และ 0.2% จาก 0.3% ตามลำดับ ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการว่างงานในสเปนที่ประกาศ 1.32 แสนตำแหน่งจาก -5.91 หมื่นตำแหน่ง ตัวเลขยอดค้าปลีกในเยอรมันที่ประกาศ -1.7% จาก 1.2 % ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภครายเดือนในฝรั่งเศสที่ 0% จาก 0.2% และตัวเลขยอดค้าปลีกรายเดือนในยุโรปที่ -0.8% จาก 0.1% เป็นต้น [ Forexfactory]
โดยรวมแล้ว เรามองว่า ปัญหาหนี้สาธารณะ สถานการณ์การเมืองในกลุ่มยุโรปโดยรวมยังคงมีอยู่ และดูเหมือนจะค่อยๆคลายปัญหาออกมาเรื่อยๆต่อเนื่องจากปลายปี 2555 โดยมีแนวโน้มที่จะสร้างความกดดันต่อค่าเงินยูโร และราคาทองคำได้ แม้ในระยะสั้นอาจจะมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวเข้ามาบ้างก็ตาม
สหรัฐฯดูเหมือนจะค่อยๆฟื้น
ภาพจากปลายปี 2555 ที่คุณ Obama ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯที่ผ่านมา ได้ส่งผลบวกเชิงจิตวิทยาต่อหลายๆโครงการ และมาตรการที่ดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็น่าจะเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญ ได้แก่ มีความเป็นไปได้สูงมากสำหรับการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องของประธานธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ต้นปี 2556 ที่ผ่านมา แผนการในการต่อรองตัวเลขงบประมาณเพื่อควบคุม Fiscal Cliff หรือหน้าผาทางการเงินโดยผู้ร่วมร่างกฏหมายของพรรครีบัคลีกันได้ส่งสัญญาณที่ดีที่น่าจะผ่านการอนุมัติงบประมาณ ได้เป็นปัจจัยบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาทองคำในช่วงแรก ตามมาด้วยรายงานของเฟดที่มีแนวโน้มที่จะยุติการซื้อโปรแกรมพันธบัตรในวงเงิน 8.5 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือนได้ส่งผลกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนรวมไปถึงราคาทองคำอย่างมีนัยสำคัญ ก่อนที่จะประกาศต่อมาว่ายังคงรักษาแผนการซื้อสินทรัพย์ 8.5 หมื่นล้านเหรียญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ส่งผลบวกต่อราคาทองคำในเวลาต่อมา ได้เป็นภาพที่สะท้อนถึงสภาวะความผันผวนที่น่าจะมีความรุนแรงมากขึ้นจากปีที่ผ่านๆมาได้เป็นอย่างดีโดยยังคงต้องจับตาดูแผนการขยายเพดานหนี้อย่างต่อเนื่อง [Bloomberg]
อย่างไรก็ดี ต้องจับตาดูถึงสัญญาณแห่งการฟื้นตัว โดยสังเกตจากตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญหลายตัว อาทิ ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ 73.8 จาก 71.3 ตัวเลขรายได้ต่อบุคคลรายเดือน ที่ 2.6% จาก 0.6% ดัชนีผู้จัดการจัดซื้อที่ 55.6 จาก 51.6 ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ 1.92 แสน จาก 1.85 แสนตำแหน่ง ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงในราคาขายบ้าน หรือดัชนีราคาบ้านที่ 5.5% จาก 4.2% ตัวเลขยอดขายสินค้าคงทนรายเดือนที่ 4.6% จาก 0.8% ตัวเลขคนว่างงานที่ขอสวัสดิการจากภาครัฐที่ 3.3 แสนตำแหน่งจาก 3.35 แสนตำแหน่งซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ตัวเลขดัชนีผู้จัดการจัดซื้อภาคการผลิตที่ 56.1 จาก 54 ดัชนีชี้นำที่ 0.5% จาก 0% เป็นต้นคละเคล้าอยู่ โดยเรามองว่า จากความต่อเนื่องของการพยายามหามาตรการต่างๆมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้สหรัฐฯเริ่มกลับมาฟื้นตัว และอาจส่งผลลบต่อราคาทองคำได้ [Forexfactory]
จากภาพปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวข้างต้นที่ได้เกิดขึ้นถึงปลายปี 2555 เรานำมาคาดการณ์ถึงภาพต่อเนื่องที่น่าจะเกิดขึ้นในต้นปี 2556 ซึ่งความผันผวนมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น โดยเรามองว่าปัจจัยทางเอเชียน่าจะส่งผลบวกโดยรวมต่อราคาทองคำ ยกเว้นการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศตนเองอ่อนค่าซึ่งน่าจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ โดยที่ภาพของยุโรป และสหรัฐฯโดยรวมน่าจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ โดยที่ป้จจัยเรื่องของเงินเฟ้อทั่วโลกมีแนวโน้มที่ส่งผลบวกต่อราคาทองคำได้อย่างต่อเนื่อง
ฝ่ายวิจัย บริษัท ออสสิริส ฟิวเจอร์ส จำกัด