กสิกรฯ เข็นวัตกรรมใหม่ “บริการร้านค้ารับบัตรบนสมาร์ทโฟน” ให้รูดบัตรผ่านสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตได้ทุกที่ จับมือนกแอร์เป็นเจ้าแรก คาดปล่อยเครื่องได้ 1 พันเครื่อง และปีหน้าเพิ่มอีก 2 หมื่นเครื่อง หวังช่วยดันยอดใช้จ่ายผ่านบัตร
นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดบริการร้านค้ารับบัตรบนสมาร์ทโฟน (K-Merchant on Mobile) เพื่อเพิ่มความสะดวก และช่องทางการในการชำระเงินให้แก่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ซื้อสินค้าโดยผู้ซื้อสามารถชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ควบคู่กับอุปกรณ์เชื่อมต่อ mPOS ได้ทุกที่
สำหรับในช่วงเริ่มบริการช่วงแรกคาดว่าจะสามารถกระจายร้านค้ารับบัตรบนสมาร์ทโฟนดังกล่าวได้ 1 พันเครื่อง โดยธนาคารได้ร่วมกับสายการบินนกแอร์เป็นเจ้าแรกและจะขยายไปใช้ในกลุ่มธุรกิจประกัน ร้านอุปกรณ์มือถือ ธุรกิจขายตรง ร้านค้า/ร้านอาหารที่มีบริการจัดส่ง และในปีนี้คาดว่าจะขยายให้บริการเพิ่มเป็น 20,000 เครื่อง
ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารมีเครื่องรูดบัตร (EDC) จำนวน 1 แสนเครื่อง โดยตั้งเป้าเติบโตต่อปีไว้ 20% จึงคาดว่าในปีหน้าจะมีจำนวนเครื่อง EDC ประมาณ 1.2 แสนเครื่อง ประกอบกับร้านค้ารับบัตรบนสมาร์ทโฟนอีก 2 หมื่นเครื่อง ก็จะมีช่องทางในการชำระเงินรวม 1.4 แสนเครื่อง โดยคาดว่าจะมียอดใช้จ่ายผ่านเครื่อง 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเครื่องต่อปี
“บริการดังกล่าวจะเพิ่มความสะดวกในการชำระเงินให้แก่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ซื้อ ซึ่งก็จะทำให้มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งส่วนของบัตรเดบิต และบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าจะมียอดรับบัตรทั้งสิ้น 375,000 ล้านบาท โต 28% เป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดด้วยส่วนแบ่ง 32%”
มั่นใจสินเชี่อโตตามเป้า
นายกฤษฎากล่าวอีกว่า สินเชื่อของธนาคารในปีนี้น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9-10% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นอัตราการเติบโตที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็ถือเป็นระดับที่เหมาะสม และในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไวเช่นกัน
“เท่าที่ดูยังไม่เห็นอะไรที่เป็นสัญญาณของภาวะฟองสบู่ในระบบเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบัน สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง มีพัฒนาการด้านบริหารความเสี่ยงที่ดี มีเครื่องมือต่างๆ เยอะขึ้น อย่างเครคิต บูโร ก็มีแล้ว ไม่เหมือนช่วงปี 40 ที่สภาวะแวดล้อมต่างกัน และเครื่องมือต่างๆ ก็ไม่พร้อมเท่า”
นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดบริการร้านค้ารับบัตรบนสมาร์ทโฟน (K-Merchant on Mobile) เพื่อเพิ่มความสะดวก และช่องทางการในการชำระเงินให้แก่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ซื้อสินค้าโดยผู้ซื้อสามารถชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ควบคู่กับอุปกรณ์เชื่อมต่อ mPOS ได้ทุกที่
สำหรับในช่วงเริ่มบริการช่วงแรกคาดว่าจะสามารถกระจายร้านค้ารับบัตรบนสมาร์ทโฟนดังกล่าวได้ 1 พันเครื่อง โดยธนาคารได้ร่วมกับสายการบินนกแอร์เป็นเจ้าแรกและจะขยายไปใช้ในกลุ่มธุรกิจประกัน ร้านอุปกรณ์มือถือ ธุรกิจขายตรง ร้านค้า/ร้านอาหารที่มีบริการจัดส่ง และในปีนี้คาดว่าจะขยายให้บริการเพิ่มเป็น 20,000 เครื่อง
ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารมีเครื่องรูดบัตร (EDC) จำนวน 1 แสนเครื่อง โดยตั้งเป้าเติบโตต่อปีไว้ 20% จึงคาดว่าในปีหน้าจะมีจำนวนเครื่อง EDC ประมาณ 1.2 แสนเครื่อง ประกอบกับร้านค้ารับบัตรบนสมาร์ทโฟนอีก 2 หมื่นเครื่อง ก็จะมีช่องทางในการชำระเงินรวม 1.4 แสนเครื่อง โดยคาดว่าจะมียอดใช้จ่ายผ่านเครื่อง 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเครื่องต่อปี
“บริการดังกล่าวจะเพิ่มความสะดวกในการชำระเงินให้แก่ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ซื้อ ซึ่งก็จะทำให้มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งส่วนของบัตรเดบิต และบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าจะมียอดรับบัตรทั้งสิ้น 375,000 ล้านบาท โต 28% เป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดด้วยส่วนแบ่ง 32%”
มั่นใจสินเชี่อโตตามเป้า
นายกฤษฎากล่าวอีกว่า สินเชื่อของธนาคารในปีนี้น่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9-10% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นอัตราการเติบโตที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็ถือเป็นระดับที่เหมาะสม และในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไวเช่นกัน
“เท่าที่ดูยังไม่เห็นอะไรที่เป็นสัญญาณของภาวะฟองสบู่ในระบบเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบัน สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง มีพัฒนาการด้านบริหารความเสี่ยงที่ดี มีเครื่องมือต่างๆ เยอะขึ้น อย่างเครคิต บูโร ก็มีแล้ว ไม่เหมือนช่วงปี 40 ที่สภาวะแวดล้อมต่างกัน และเครื่องมือต่างๆ ก็ไม่พร้อมเท่า”