ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังหนุนแก้กฎหมายเอื้อ ธปท.ปล่อยซอฟท์โลนเยียวยาน้ำท่วม คาด อาจออกเป็น พ.ร.ก.เหตุทำได้เร็วแก้ปัญหาได้ทันเวลา เข้า ครม.สัปดาห์หน้า พร้อมถกยกเว้นภาษีนำเข้าให้โตชิบาเพิ่มเติม
นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า แนวทางการปล่อยสินเชื่อแบบดอกเบี้ยผ่อนปรน (ซอฟท์โลน) ด้วยการนำเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาปล่อยกู้ให้กับสถาบันการเงินดอกเบี้ยต่ำแล้วปล่อยกู้ต่อให้กับประชาชน และผู้ประกอบการรายย่อยนั้นรัฐบาลต้องการให้สถาบันการเงินนำสินเชื่อโครงการดังกล่าวปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอีมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เนื่องจากมีบริษัทแม่คอยดูแลอยู่แล้ว
โดยวงเงินปล่อยกู้จำนวน 2 แสนล้านบาทนั้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการในภาคอุตสาหกรรมใดบ้าง แต่คาดว่า จะทำเป็นกรณีพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาน้ำท่วมเท่านั้น และคงต้องออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อความคล่องตัวในการใช้เงินให้บรรลุวัตถุประสงค์ หากสถาบันการเงินจะนำเงินโครงการดังกล่าวมาปล่อยกู้ต้องปล่อยกู้ในโครงการแรกที่มีวงเงิน 3.25 แสนล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินต่างๆ ให้มีความคืบหน้าในระดับหนึ่งไปก่อน
นอกจากนี้ ยังเตรียมพิจารณายกเว้นภาษีให้กับสินค้าประเภทอื่น หลังจากได้ยกเว้นภาษีให้กับกลุ่มรถยนต์ไปแล้ว เช่น โตชิบา ได้รับความเดือดร้อนหากไม่นำเข้ามาแทนการผลิตในประเทศอาจเสียส่วนแบ่งในตลาดและกระทบต่อผลประกอบการ โดยก่อนสิ้นเดือนนี้หลายมาตรการคาดว่าจะสรุปและเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการทางด้านภาษีที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยไว้แล้ว โดยได้ลงนามในรายละเอียดไปแล้ว รอเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้าเช่นกัน ทั้งการหักค่าเสื่อมได้เร็วขึ้นกว่าเดิมจากการนำเข้าเครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องจัดเดิมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงให้สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบ้านและรถยนต์มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า แนวทางการปล่อยสินเชื่อแบบดอกเบี้ยผ่อนปรน (ซอฟท์โลน) ด้วยการนำเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาปล่อยกู้ให้กับสถาบันการเงินดอกเบี้ยต่ำแล้วปล่อยกู้ต่อให้กับประชาชน และผู้ประกอบการรายย่อยนั้นรัฐบาลต้องการให้สถาบันการเงินนำสินเชื่อโครงการดังกล่าวปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอีมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เนื่องจากมีบริษัทแม่คอยดูแลอยู่แล้ว
โดยวงเงินปล่อยกู้จำนวน 2 แสนล้านบาทนั้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการในภาคอุตสาหกรรมใดบ้าง แต่คาดว่า จะทำเป็นกรณีพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาน้ำท่วมเท่านั้น และคงต้องออกกฎหมายเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อความคล่องตัวในการใช้เงินให้บรรลุวัตถุประสงค์ หากสถาบันการเงินจะนำเงินโครงการดังกล่าวมาปล่อยกู้ต้องปล่อยกู้ในโครงการแรกที่มีวงเงิน 3.25 แสนล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินต่างๆ ให้มีความคืบหน้าในระดับหนึ่งไปก่อน
นอกจากนี้ ยังเตรียมพิจารณายกเว้นภาษีให้กับสินค้าประเภทอื่น หลังจากได้ยกเว้นภาษีให้กับกลุ่มรถยนต์ไปแล้ว เช่น โตชิบา ได้รับความเดือดร้อนหากไม่นำเข้ามาแทนการผลิตในประเทศอาจเสียส่วนแบ่งในตลาดและกระทบต่อผลประกอบการ โดยก่อนสิ้นเดือนนี้หลายมาตรการคาดว่าจะสรุปและเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการทางด้านภาษีที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยไว้แล้ว โดยได้ลงนามในรายละเอียดไปแล้ว รอเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้าเช่นกัน ทั้งการหักค่าเสื่อมได้เร็วขึ้นกว่าเดิมจากการนำเข้าเครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องจัดเดิมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม รวมถึงให้สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบ้านและรถยนต์มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย