สคร.ยันน้ำท่วม 2 เดือนไม่กระทบแผนการลงทุนรัฐวิสากิจปี 55 ที่ตั้งงบไว้กว่า 5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 50% ระบุมีเพียงการประปาขอชะลอนำส่งรายได้เหตุต้องใช้สภาพคล่องปรับปรุงคุณภาพน้ำ พร้อมดันกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โครงการพีพีพีเกิดต้นปีหน้า
นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่าสถานการณ์น้ำท่วมในเดือน ต.ค.และ พ.ย.ที่ผ่านมาไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2555 ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนต.ค. โดยมีวงเงินรวมทั้งปี 533,442 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 284,940 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 248,501 ล้านบาทคิดเป็นเกือบ 50% เนื่องจากหลังน้ำลดรัฐวิสาหกิจหลายแห่งยังมีความจำเป็นต้องใช้งบเพื่อการลงทุนและซ่อมแซมสิ่งที่ได้รับความเสียหายนอกจากการลงทุนตามแผนงานเดิม เช่น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บมจ.ปตท. จำกัด มหาชน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยมองว่าปตท.และทอท.น่าจะมีเม็ดเงินลงทุนสูงสุด เช่นมีแผนลงทุนขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 อีกหมื่นกว่าล้านบาทและเฟส 3 อีก4-5 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การลงทุนของรัฐวิสากิจนั้นเนื่องจากงบประมาณภาครัฐมีจำกัดส่วนใหญ่จึงใช้รายได้หรือการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเอง ขณะที่ทางสคร.ได้ผลักดันให้ใช้แนวทางการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) เข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือรายละเอียดกับทางกปน.และกฟผ. คาดว่าต้นปีหน้าจะเริ่มเดินหน้าได้หลังจากที่มาตรการภาษีสนับสนุนการลงทุนในกองทุนดังกล่าวผ่านคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปก่อนหน้านี้แล้ว
“การระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานน่าจะทำให้การลงทุนเดินหน้าได้เร็วขึ้น แม้ตจะมีต้นทุนสูงกว่าการกู้เงินโดยกระทรวงการคลัง เช่นจากเดิมที่ 3 แต่กองทุนอาจต้องให้ผลตอบแทนผู้ซื้อหน่วยลงทุนประมาณ 5 % แต่หากรองบประมาณภาครัฐและกู้เงินเองอาจติดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาทำให้ไม่ได้ลงทุนโครงการที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไทยยังมีการลงทุนน้อยมากหากต้องลงทุนทั้งระบบไฟฟ้า ประปา ขนส่ง ยังต้องใช้เม็ดเงินกว่า 3 ล้านล้านบาท”นายประสงค์กล่าวและว่าการตั้งกองทุนดังกล่าวยังทำให้รัฐวิสาหกิจบริหารสภาพคล่องได้ดีขึ้นเพราะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนถึง 10 ปี ขณะที่เม็ดเงินในกองทุนต้องมีขนาดตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป โดยมองว่าส่วนใหญ่แต่ละโครงการน่าจะระดับหมื่นล้านบาทอยู่แล้ว
นอกจากนั้น ต้นปีหน้ามองว่าจะได้เห็นการลงทุนในรูปแบบพีพีพีโครงการแรก คือการร่วมทุนระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับภาคเอกชน ในการทำโครงการท่าเรือกน้ำลึกที่แหลมฉบัง ซึ่งตนได้มอบหมายให้จ้าหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์รายะเอียด ขั้นตอนการปฎิบัติให้ชัดเจน โดยสามารถเดินหน้าไปก่อนโดยไม่ตองรอให้กฎหมายพีพีพีมีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการตีความของกฤษฎีกา
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่พบว่ามีรัฐวิสาหกิจใดขอลดหรือยกเว้นการนำส่งรายได้ จึงน่าจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้เดิม 1.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 5 พันล้านบาท โดยจะมีเพียง กปน.ที่ขอชะลอการนำส่งรายได้ในช่วงนี้เนื่องจากต้องนำสภาพคล่องไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแก้ปัญหาเรื่องการผลิตน้ำประปา หรือการผลิตน้ำแจกประชาชนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนของ ขสมก.ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและการบริการผู้โดยสารฟรีในช่วงน้ำท่วมตลอดเจนการบริการฟรีตามนโยบายรัฐบาลในการลดค่าครองชีพนั้น สคร.พร้อมจะสนับสนุนการจ่ายเงินชดเชยอยู่แล้ว แต่ขอให้ทำตัวเลขต้นทุนและรายได้ที่ขาดหายไปให้ชัดเจนและเสนอกลับมาใหม่อีกครั้ง และการขาดทุนที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการพิจารณาการปรับเพิ่มเงินเดือนและโบนัสเพราะ สคร.จะพิจารณาที่ประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้วย
นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่าสถานการณ์น้ำท่วมในเดือน ต.ค.และ พ.ย.ที่ผ่านมาไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2555 ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนต.ค. โดยมีวงเงินรวมทั้งปี 533,442 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 284,940 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 248,501 ล้านบาทคิดเป็นเกือบ 50% เนื่องจากหลังน้ำลดรัฐวิสาหกิจหลายแห่งยังมีความจำเป็นต้องใช้งบเพื่อการลงทุนและซ่อมแซมสิ่งที่ได้รับความเสียหายนอกจากการลงทุนตามแผนงานเดิม เช่น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บมจ.ปตท. จำกัด มหาชน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยมองว่าปตท.และทอท.น่าจะมีเม็ดเงินลงทุนสูงสุด เช่นมีแผนลงทุนขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 อีกหมื่นกว่าล้านบาทและเฟส 3 อีก4-5 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การลงทุนของรัฐวิสากิจนั้นเนื่องจากงบประมาณภาครัฐมีจำกัดส่วนใหญ่จึงใช้รายได้หรือการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเอง ขณะที่ทางสคร.ได้ผลักดันให้ใช้แนวทางการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) เข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือรายละเอียดกับทางกปน.และกฟผ. คาดว่าต้นปีหน้าจะเริ่มเดินหน้าได้หลังจากที่มาตรการภาษีสนับสนุนการลงทุนในกองทุนดังกล่าวผ่านคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปก่อนหน้านี้แล้ว
“การระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานน่าจะทำให้การลงทุนเดินหน้าได้เร็วขึ้น แม้ตจะมีต้นทุนสูงกว่าการกู้เงินโดยกระทรวงการคลัง เช่นจากเดิมที่ 3 แต่กองทุนอาจต้องให้ผลตอบแทนผู้ซื้อหน่วยลงทุนประมาณ 5 % แต่หากรองบประมาณภาครัฐและกู้เงินเองอาจติดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาทำให้ไม่ได้ลงทุนโครงการที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไทยยังมีการลงทุนน้อยมากหากต้องลงทุนทั้งระบบไฟฟ้า ประปา ขนส่ง ยังต้องใช้เม็ดเงินกว่า 3 ล้านล้านบาท”นายประสงค์กล่าวและว่าการตั้งกองทุนดังกล่าวยังทำให้รัฐวิสาหกิจบริหารสภาพคล่องได้ดีขึ้นเพราะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนถึง 10 ปี ขณะที่เม็ดเงินในกองทุนต้องมีขนาดตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป โดยมองว่าส่วนใหญ่แต่ละโครงการน่าจะระดับหมื่นล้านบาทอยู่แล้ว
นอกจากนั้น ต้นปีหน้ามองว่าจะได้เห็นการลงทุนในรูปแบบพีพีพีโครงการแรก คือการร่วมทุนระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับภาคเอกชน ในการทำโครงการท่าเรือกน้ำลึกที่แหลมฉบัง ซึ่งตนได้มอบหมายให้จ้าหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์รายะเอียด ขั้นตอนการปฎิบัติให้ชัดเจน โดยสามารถเดินหน้าไปก่อนโดยไม่ตองรอให้กฎหมายพีพีพีมีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการตีความของกฤษฎีกา
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่พบว่ามีรัฐวิสาหกิจใดขอลดหรือยกเว้นการนำส่งรายได้ จึงน่าจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้เดิม 1.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 5 พันล้านบาท โดยจะมีเพียง กปน.ที่ขอชะลอการนำส่งรายได้ในช่วงนี้เนื่องจากต้องนำสภาพคล่องไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแก้ปัญหาเรื่องการผลิตน้ำประปา หรือการผลิตน้ำแจกประชาชนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนของ ขสมก.ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและการบริการผู้โดยสารฟรีในช่วงน้ำท่วมตลอดเจนการบริการฟรีตามนโยบายรัฐบาลในการลดค่าครองชีพนั้น สคร.พร้อมจะสนับสนุนการจ่ายเงินชดเชยอยู่แล้ว แต่ขอให้ทำตัวเลขต้นทุนและรายได้ที่ขาดหายไปให้ชัดเจนและเสนอกลับมาใหม่อีกครั้ง และการขาดทุนที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการพิจารณาการปรับเพิ่มเงินเดือนและโบนัสเพราะ สคร.จะพิจารณาที่ประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้วย