ทีซีซีจัดงบลงทุน 9 พันล้าน สร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่กำแพงเพชร ชาวไร่อ้อยตอบรับคึกคัก พร้อมเข้าโครงการส่งเสริมปลูกอ้อยป้อนโรงงาน คาดเฟสแรกเงินสะพัดประมาณปีละ 5 พันล้านบาท
นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกลุ่มทีซีซี เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์โรงงานน้ำตาลทิพย์กำแพงเพชรของกลุ่มทีซีซีแลนด์ ที่มีแผนลงทุนสูงถึง 9 พันล้านบาท พร้อมสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ชาวไร่อ้อยให้การตอบรับเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกอ้อยป้อนโรงงาน คาดจะมีเงินสะพัดปีละ 4-5 พันล้านบาท
นายขจร เทพย์ปฏิพัธน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท คริสตอลลา จำกัด ผู้ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมน้ำตาลในกลุ่มทีซีซีแลนด์ แถลงว่า บริษัทฯมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานน้ำตาลทิพย์กำแพงเพชร ขนาด 36,000 ตันอ้อยต่อวัน พร้อมโรงไฟฟ้าชีวมวล บนพื้นที่โครงการ 1,600 ไร่ ในอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร มูลค่าโครงการเมื่อเสร็จสมบูรณ์ประมาณ 9 พันล้านบาท โดยในเฟสแรก จะใช้เงินลงทุนประมาณ 5 พันล้านบาท สร้างโรงงานน้ำตาลขนาด 18,000 ตันอ้อยต่อวัน ซึ่งต้องการพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 2 แสนไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตอ้อยประมาณปีละ 2 ล้านตัน โดยจะเริ่มเปิดหีบอ้อยในปีการผลิต 2555/56 และจะนำชานอ้อยจากโรงงานน้ำตาลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อใช้ในโรงงานน้ำตาลและขายกระแสไฟฟ้าบางส่วนให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อจ่ายให้กับชุมชนในท้องถิ่น
“เราเห็นว่าจังหวัดกำแพงเพชรมีดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย ประกอบกับปริมาณน้ำฝนสอดคล้องกับความต้องการน้ำของไร่อ้อย เราจึงมาสร้างที่นี่ เดิมเราก็มีโรงงานน้ำตาลแม่วัง ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็ก อยู่ที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง การมาสร้างโรงงานใหม่ทันสมัยที่กำแพงเพชรนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการเติบโตของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม ปริมาณอ้อยทั้งหมดในจังหวัดกำแพงเพชรขณะนี้ ยังไม่เพียงพอสำหรับป้อนโรงงานในจังหวัดที่มีทั้งหมดถึง 3 แห่ง แต่ละโรงงานจึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการปลูกอ้อย บริษัทของเรามีนโยบายส่งเสริมการปลูกอ้อยในรัศมี 50 กิโลเมตรรอบโรงงานให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยประหยัดค่าขนส่งให้แก่ชาวไร่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง นอกเหนือจากการให้เงินเกี๊ยวอ้อยตามปกติ บริษัทฯ ยังมีโครงการให้ความช่วยเหลือในโครงการระบบน้ำหยดหรือน้ำราด โครงการเจาะบ่อบาดาล หรือขุดสระเก็บน้ำ โครงการเช่าที่ดินเพื่อการปลูกอ้อย โครงการส่งเสริมการปลูกอ้อยพันธุ์ดี และโครงการช่วยเหลือค่าเตรียมดินที่ถูกวิธี” นายขจร กล่าว
นายปณต สิริวัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท ทีซีซีแลนด์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในโครงการโรงงานน้ำตาลทิพย์กำแพงเพชรครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนในธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองนโยบายปีแห่งการลงทุนของรัฐบาล โดยมั่นใจว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างงาน พัฒนาคน ส่งเสริมชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ คาดว่า เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ทั้งสองเฟสแล้ว จะสามารถรับอ้อยเข้าหีบได้ปีละ 4-5 ล้านตัน และด้วยรายได้จากค่าอ้อยตันละประมาณ 1,000 บาท จะทำให้มีกระแสเงินสะพัดในท้องถิ่นปีละ 4-5 พันล้านบาท
“บริษัท คริสตอลลา เป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มพรรณธิอร สายธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูปของกลุ่มทีซีซีแลนด์ ซึ่งท่านประธาน (คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี) มีความมุ่งมั่นว่า จะทำกิจการด้านการเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร บริษัทเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน มีระบบกำจัดฝุ่นที่ทันสมัย และระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้จะสามารถสร้างอาชีพให้ชาวไร่อ้อยประมาณ 10,000 ราย ส่งผลให้ประชากรในพื้นที่มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การลงทุนช่วงนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมและเราก็ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากบีโอไอด้วย” นายปณต กล่าว
นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกลุ่มทีซีซี เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์โรงงานน้ำตาลทิพย์กำแพงเพชรของกลุ่มทีซีซีแลนด์ ที่มีแผนลงทุนสูงถึง 9 พันล้านบาท พร้อมสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ชาวไร่อ้อยให้การตอบรับเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกอ้อยป้อนโรงงาน คาดจะมีเงินสะพัดปีละ 4-5 พันล้านบาท
นายขจร เทพย์ปฏิพัธน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท คริสตอลลา จำกัด ผู้ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมน้ำตาลในกลุ่มทีซีซีแลนด์ แถลงว่า บริษัทฯมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานน้ำตาลทิพย์กำแพงเพชร ขนาด 36,000 ตันอ้อยต่อวัน พร้อมโรงไฟฟ้าชีวมวล บนพื้นที่โครงการ 1,600 ไร่ ในอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร มูลค่าโครงการเมื่อเสร็จสมบูรณ์ประมาณ 9 พันล้านบาท โดยในเฟสแรก จะใช้เงินลงทุนประมาณ 5 พันล้านบาท สร้างโรงงานน้ำตาลขนาด 18,000 ตันอ้อยต่อวัน ซึ่งต้องการพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 2 แสนไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตอ้อยประมาณปีละ 2 ล้านตัน โดยจะเริ่มเปิดหีบอ้อยในปีการผลิต 2555/56 และจะนำชานอ้อยจากโรงงานน้ำตาลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อใช้ในโรงงานน้ำตาลและขายกระแสไฟฟ้าบางส่วนให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อจ่ายให้กับชุมชนในท้องถิ่น
“เราเห็นว่าจังหวัดกำแพงเพชรมีดินที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย ประกอบกับปริมาณน้ำฝนสอดคล้องกับความต้องการน้ำของไร่อ้อย เราจึงมาสร้างที่นี่ เดิมเราก็มีโรงงานน้ำตาลแม่วัง ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็ก อยู่ที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง การมาสร้างโรงงานใหม่ทันสมัยที่กำแพงเพชรนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการเติบโตของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม ปริมาณอ้อยทั้งหมดในจังหวัดกำแพงเพชรขณะนี้ ยังไม่เพียงพอสำหรับป้อนโรงงานในจังหวัดที่มีทั้งหมดถึง 3 แห่ง แต่ละโรงงานจึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการปลูกอ้อย บริษัทของเรามีนโยบายส่งเสริมการปลูกอ้อยในรัศมี 50 กิโลเมตรรอบโรงงานให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยประหยัดค่าขนส่งให้แก่ชาวไร่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง นอกเหนือจากการให้เงินเกี๊ยวอ้อยตามปกติ บริษัทฯ ยังมีโครงการให้ความช่วยเหลือในโครงการระบบน้ำหยดหรือน้ำราด โครงการเจาะบ่อบาดาล หรือขุดสระเก็บน้ำ โครงการเช่าที่ดินเพื่อการปลูกอ้อย โครงการส่งเสริมการปลูกอ้อยพันธุ์ดี และโครงการช่วยเหลือค่าเตรียมดินที่ถูกวิธี” นายขจร กล่าว
นายปณต สิริวัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท ทีซีซีแลนด์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในโครงการโรงงานน้ำตาลทิพย์กำแพงเพชรครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนในธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองนโยบายปีแห่งการลงทุนของรัฐบาล โดยมั่นใจว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างงาน พัฒนาคน ส่งเสริมชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ คาดว่า เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ทั้งสองเฟสแล้ว จะสามารถรับอ้อยเข้าหีบได้ปีละ 4-5 ล้านตัน และด้วยรายได้จากค่าอ้อยตันละประมาณ 1,000 บาท จะทำให้มีกระแสเงินสะพัดในท้องถิ่นปีละ 4-5 พันล้านบาท
“บริษัท คริสตอลลา เป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มพรรณธิอร สายธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูปของกลุ่มทีซีซีแลนด์ ซึ่งท่านประธาน (คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี) มีความมุ่งมั่นว่า จะทำกิจการด้านการเกษตรแปรรูปแบบครบวงจร บริษัทเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน มีระบบกำจัดฝุ่นที่ทันสมัย และระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้จะสามารถสร้างอาชีพให้ชาวไร่อ้อยประมาณ 10,000 ราย ส่งผลให้ประชากรในพื้นที่มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การลงทุนช่วงนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมและเราก็ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากบีโอไอด้วย” นายปณต กล่าว