กรมบัญชีกลางปรับแผนรับรัฐบาล “ปูแดง1” สนองนโยบายปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท ระบุใช้งบประมาณเพิ่มอีกเดือนละ 1 พันล้านหรือ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อปี
แหล่งข่าวจากกรมบัญชีกลางเปิดเผยว่า ปัจจุบันจากจำนวนบุคลากรภาครัฐที่เป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำประมาณ 2 ล้านคนพบว่า มีจำนวนบุคลากรที่บรรจุวุฒิปริญญาตรีที่ยังได้รับเงินเดือนในอัตรา 11,800 บาทหรือใช้วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีบรรจุงานทำให้ได้เงินเดือนต่ำกว่าปริญญาตรีจำนวนไม่มากและหากจะปรับฐานอัตราเงินเดือนให้ได้เดือนละ 15,000 บาทตามนโยบายรัฐบาลใหม่ที่ประกาศไว้ จะต้องใช้งบประมาณในการปรับอัตราเงินเดือนอีกประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท หรือปีละ 12,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่จ่ายเป็นเงินเดือนค่าจ้างประมาณเดือนละ 40,000 ล้านบาท หรือปีละ 4.8 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นตัวเลขเบื้องต้นที่ได้รับมาจากส่วนราชการต่างๆเท่านั้น คงต้องมาพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งว่าเป็นส่วนของข้าราชการเท่าไหร่และลูกจ้างประจำเท่าไหร่ และอยู่ที่นโยบายของรัฐบาลด้วยว่าจะให้มีการปรับขึ้นเท่ากันหมดหรือไม่ ซึ่งตามหลักการมองว่าหากปรับก็ต้องปรับให้เท่าเทียมกันทั้งส่วนของข้าราชการที่รับเข้ามาใหม่และผู้ที่ยังมีเงินเดือนต่ำกว่า15,000 บาทก็ต้องปรับขึ้นมาเท่ากัน โดยส่วนของข้าราชการเก่าที่ได้รับเงินเดือนต่ำว่า 15,000 บาทนั้นคงมีไม่มากนัก เพราะที่ผ่านก็มีการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนเป็นประจำทุกปีทำให้เงินเดือนขึ้นเกินระดับดังกล่าวแล้วอาจมีเพียงข้าราชการที่เพิ่งทำงานไม่กี่ปีเท่านั้น
ก่อนหน้านี้นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ระบุว่าการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการไม่ได้เป็นภาระงบประมาณรายจ่ายมากนักจากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 70-80%ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายรวม และยังส่งผลทำให้มีเงินใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบมากขึ้นกรมภาษีก็สามารถจัดเก็บรายได้เข้ารัฐได้เพิ่มขึ้นทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ
แหล่งข่าวจากกรมบัญชีกลางเปิดเผยว่า ปัจจุบันจากจำนวนบุคลากรภาครัฐที่เป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำประมาณ 2 ล้านคนพบว่า มีจำนวนบุคลากรที่บรรจุวุฒิปริญญาตรีที่ยังได้รับเงินเดือนในอัตรา 11,800 บาทหรือใช้วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีบรรจุงานทำให้ได้เงินเดือนต่ำกว่าปริญญาตรีจำนวนไม่มากและหากจะปรับฐานอัตราเงินเดือนให้ได้เดือนละ 15,000 บาทตามนโยบายรัฐบาลใหม่ที่ประกาศไว้ จะต้องใช้งบประมาณในการปรับอัตราเงินเดือนอีกประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท หรือปีละ 12,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่จ่ายเป็นเงินเดือนค่าจ้างประมาณเดือนละ 40,000 ล้านบาท หรือปีละ 4.8 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นตัวเลขเบื้องต้นที่ได้รับมาจากส่วนราชการต่างๆเท่านั้น คงต้องมาพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งว่าเป็นส่วนของข้าราชการเท่าไหร่และลูกจ้างประจำเท่าไหร่ และอยู่ที่นโยบายของรัฐบาลด้วยว่าจะให้มีการปรับขึ้นเท่ากันหมดหรือไม่ ซึ่งตามหลักการมองว่าหากปรับก็ต้องปรับให้เท่าเทียมกันทั้งส่วนของข้าราชการที่รับเข้ามาใหม่และผู้ที่ยังมีเงินเดือนต่ำกว่า15,000 บาทก็ต้องปรับขึ้นมาเท่ากัน โดยส่วนของข้าราชการเก่าที่ได้รับเงินเดือนต่ำว่า 15,000 บาทนั้นคงมีไม่มากนัก เพราะที่ผ่านก็มีการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนเป็นประจำทุกปีทำให้เงินเดือนขึ้นเกินระดับดังกล่าวแล้วอาจมีเพียงข้าราชการที่เพิ่งทำงานไม่กี่ปีเท่านั้น
ก่อนหน้านี้นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ระบุว่าการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการไม่ได้เป็นภาระงบประมาณรายจ่ายมากนักจากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 70-80%ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายรวม และยังส่งผลทำให้มีเงินใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบมากขึ้นกรมภาษีก็สามารถจัดเก็บรายได้เข้ารัฐได้เพิ่มขึ้นทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ