ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ รุกพลังงานทดแทน เตรียมลงนามสัญญากู้เงิน 4.4 พันล้านบาท ในโครงการร่วมทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 โครงการ กำลังการผลิต 34.25 เมกะวัตต์ คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปลายปีนี้ แย้มเป้าหมายผลิตพลังงานทดแทน 100 เมกะวัตต์ภายในปี 59 อาจเร็วกว่าที่ตั้งเป้าไว้ เนื่องจากมีแผนผุดโครงการผลิตไฟฟ้าพลังลม 3โครงการคิดเป็น 180 เมกะวัตต์
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยภายหลังบริษัทร่วมทุน คือ โซลาร์ต้า ได้เปิดเดินเครื่องโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 3 เมกะวัตต์ ที่ไทรเสนา จ.อยุธยา วานนี้ (7มิ.ย.) ว่า บริษัทโซลาร์ต้า ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ถือหุ้น 49% เตรียมลงนามสัญญาเงินกู้วงเงิน 4.4 พันล้านบาท กับธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้ขยายลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8 โครงการ คิดกำลังการผลิตรวม 34.25 เมกะวัตต์ รวมมูลค่าเงินลงทุน 5 พันล้านบาท คาดโครงการดังกล่าวจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปลายปีนี้
ทำให้เป้าหมายการเป็นผู้ผลิตพลังงานทดแทนให้ได้ 100 เมกะวัตต์ภายในปี 2559 มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายก่อนเวลาที่ตั้งไว้ได้ เนื่องจากบริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก หลังจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 8 แห่งแล้วเสร็จ รวมทั้งเตรียมพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่เขาค้ออีก 60 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และโครงการไบโอแมส
ทั้งนี้ บริษัท โซลาร์ต้า เป็นผู้พัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 8 แห่ง (รวมโครงการไทรเสนา) กำลังการผลิต 34.25 เมกะวัตต์ จะตั้งโครงการอยู่ที่จ.อยุธยา 1 โครงการ จังหวัดนครปฐม 4 โครงการและจังหวัดสุพรรณบุรี 3 โครงการ ผลตอบแทนการลงทุน 10% โดยบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ถือหุ้น 49% ที่เหลือบริษัท ยันฮี โซล่า เพาเวอร์เป็นการถือหุ้นใหญ่ 51%
โดยผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมดจะขายเข้าระบบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าประเภทNon-Firm และยังได้รับเงินสนุบสนุนค่าไฟส่วนเพิ่ม (Adder) 8 บาท/หน่วยเป็นเวลา 10ปี
นายแพทย์สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด กล่าวว่า โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ไทรเสนาขนาด 3 เมกะวัตต์จ่ายไฟเข้าระบบกฟภ.มาตั้งแต่เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น และยังเป็นการนำพลังงานสะอาดมาใช้เกิดประโยชน์ โดยบริษัทตั้งใจให้โครงการนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เพื่อจุดประกายความคิดให้เกิดการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในชีวิตประจำวัน โดยโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้ง 8 โครงการจะมีการใช้เทคโนโลยีหลากหลายจากเยอรมัน ญี่ปุ่นและสหรัฐ เพื่อประเมินผลว่าเทคโนโลยีประเทศใดดีกว่ากัน
ส่วนแนวทางการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมนอกเหนือจาก 8โครงการดังกล่าวข้างต้นนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐว่าจะส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากAdderที่รัฐกำหนดใหม่ 6.50 บาท/หน่วยนั้นทำให้จุดคุ้มทุนนานถึง 10 ปี หากเทียบกับAdderที่ 8.00 บาท/หน่วย จุดคุ้มทุนที่ 8.8 ปี
นายนพเดช กรรณสูต ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทางผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นได้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลมจำนวน 3 โครงการกำลังผลิต 180เมกะวัตต์ที่จังหวัดนครราชสีมาและเพชรบูรณ์ หากโครงการมีความเป็นไปได้ ทางกสิกรไทยก็พร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อให้โครงการดังกล่าวภายในปีนี้ หลังจากปล่อยกู้ซินดิเคตร่วมกับแบงก์กรุงเทพในโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 8 โครงการวงเงินกู้ 4.4 พันล้านบาท อายุเงินกู้ 12ปี
โดยปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อให้โครงการพลังงานทดแทนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 5 พันล้านบาท ซึ่งแนวโน้มธุรกิจพลังงานทดแทนในอีก 20ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 เมกะวัตต์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2-3 แสนล้านบาท โดยธนาคารกสิกรไทยต้องการเป็นผู้จัดการปล่อยกู้ร่วมในโครงการพลังงานทดแทนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายมาร์ค โลฮอฟ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โคเนอยี ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นบริษัทเยอรมันที่ให้บริการเกี่ยวกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ว่า การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในไทยมีแนวโน้มเติบโตมาก เพราะรัฐบาลมีนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งบริษัทได้ให้บริการติดตั้งโซลาร์ ฟาร์มในไทยแล้ว 2 โครงการ และอยู่ระหว่างการอีก 1 โครงการขนาด 10.25 เมกะวัตต์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นของบริษัทโซลาร์ต้า ส่วนอีก 5-8 โครงการอยู่ระหว่างการเจรจา โดยโครงการเหล่านี้อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาขายไฟกับการไฟฟ้าฯ
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยภายหลังบริษัทร่วมทุน คือ โซลาร์ต้า ได้เปิดเดินเครื่องโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 3 เมกะวัตต์ ที่ไทรเสนา จ.อยุธยา วานนี้ (7มิ.ย.) ว่า บริษัทโซลาร์ต้า ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ถือหุ้น 49% เตรียมลงนามสัญญาเงินกู้วงเงิน 4.4 พันล้านบาท กับธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพในสัปดาห์นี้ เพื่อใช้ขยายลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8 โครงการ คิดกำลังการผลิตรวม 34.25 เมกะวัตต์ รวมมูลค่าเงินลงทุน 5 พันล้านบาท คาดโครงการดังกล่าวจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปลายปีนี้
ทำให้เป้าหมายการเป็นผู้ผลิตพลังงานทดแทนให้ได้ 100 เมกะวัตต์ภายในปี 2559 มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายก่อนเวลาที่ตั้งไว้ได้ เนื่องจากบริษัทยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก หลังจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 8 แห่งแล้วเสร็จ รวมทั้งเตรียมพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่เขาค้ออีก 60 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และโครงการไบโอแมส
ทั้งนี้ บริษัท โซลาร์ต้า เป็นผู้พัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 8 แห่ง (รวมโครงการไทรเสนา) กำลังการผลิต 34.25 เมกะวัตต์ จะตั้งโครงการอยู่ที่จ.อยุธยา 1 โครงการ จังหวัดนครปฐม 4 โครงการและจังหวัดสุพรรณบุรี 3 โครงการ ผลตอบแทนการลงทุน 10% โดยบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ถือหุ้น 49% ที่เหลือบริษัท ยันฮี โซล่า เพาเวอร์เป็นการถือหุ้นใหญ่ 51%
โดยผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมดจะขายเข้าระบบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าประเภทNon-Firm และยังได้รับเงินสนุบสนุนค่าไฟส่วนเพิ่ม (Adder) 8 บาท/หน่วยเป็นเวลา 10ปี
นายแพทย์สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด กล่าวว่า โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ไทรเสนาขนาด 3 เมกะวัตต์จ่ายไฟเข้าระบบกฟภ.มาตั้งแต่เม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น และยังเป็นการนำพลังงานสะอาดมาใช้เกิดประโยชน์ โดยบริษัทตั้งใจให้โครงการนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เพื่อจุดประกายความคิดให้เกิดการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในชีวิตประจำวัน โดยโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้ง 8 โครงการจะมีการใช้เทคโนโลยีหลากหลายจากเยอรมัน ญี่ปุ่นและสหรัฐ เพื่อประเมินผลว่าเทคโนโลยีประเทศใดดีกว่ากัน
ส่วนแนวทางการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมนอกเหนือจาก 8โครงการดังกล่าวข้างต้นนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐว่าจะส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากAdderที่รัฐกำหนดใหม่ 6.50 บาท/หน่วยนั้นทำให้จุดคุ้มทุนนานถึง 10 ปี หากเทียบกับAdderที่ 8.00 บาท/หน่วย จุดคุ้มทุนที่ 8.8 ปี
นายนพเดช กรรณสูต ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทางผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นได้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลมจำนวน 3 โครงการกำลังผลิต 180เมกะวัตต์ที่จังหวัดนครราชสีมาและเพชรบูรณ์ หากโครงการมีความเป็นไปได้ ทางกสิกรไทยก็พร้อมที่จะปล่อยสินเชื่อให้โครงการดังกล่าวภายในปีนี้ หลังจากปล่อยกู้ซินดิเคตร่วมกับแบงก์กรุงเทพในโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 8 โครงการวงเงินกู้ 4.4 พันล้านบาท อายุเงินกู้ 12ปี
โดยปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อให้โครงการพลังงานทดแทนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยมีการปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 5 พันล้านบาท ซึ่งแนวโน้มธุรกิจพลังงานทดแทนในอีก 20ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 เมกะวัตต์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2-3 แสนล้านบาท โดยธนาคารกสิกรไทยต้องการเป็นผู้จัดการปล่อยกู้ร่วมในโครงการพลังงานทดแทนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายมาร์ค โลฮอฟ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โคเนอยี ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นบริษัทเยอรมันที่ให้บริการเกี่ยวกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ว่า การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในไทยมีแนวโน้มเติบโตมาก เพราะรัฐบาลมีนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งบริษัทได้ให้บริการติดตั้งโซลาร์ ฟาร์มในไทยแล้ว 2 โครงการ และอยู่ระหว่างการอีก 1 โครงการขนาด 10.25 เมกะวัตต์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นของบริษัทโซลาร์ต้า ส่วนอีก 5-8 โครงการอยู่ระหว่างการเจรจา โดยโครงการเหล่านี้อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาขายไฟกับการไฟฟ้าฯ