แบงก์ชาติเผย "กรณ์" เห็นด้วยกับการแนวทางจูงใจให้คนไทยใช้บัตรเดบิตมากขึ้น แย้มใช้แรงจูงใจทางด้านภาษี ซื้อสินค้าผ่านบัตรเดบิตไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ครอบคลุมร้านค้าที่รับบัตร คาดได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ สายบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับ ธปท.เกี่ยวกับมีแนวคิดในการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาบัตรเดบิตเพื่อซื้อสินค้ามากขึ้น โดยนายกรณ์ จาติกวนิช รมว.คลัง อนุมัติให้ ธปท.พิจารณาที่จะใช้การลดภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มแรงจูงใจให้กับประชาชน โดยสั่งการให้ธปท.เป็นคนศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมและคิดว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จริง มาเสนอต่อไป
“ธปท.กำลังเร่งศึกษาก่อนหาข้อสรุป เช่น หากซื้อสินค้าด้วยบัตรเดบิต อาจจะไม่ต้องเสียภาษมูลค่าเพิ่มในช่วงแรก หรือเสียภาษีในอัตราที่ลดลงจาก 7% นอกจากนั้น ธปท.อาจจะมีแนวทางอื่นเสริมเพื่อจูงใจประชาชน ร้านค้าและธนาคารให้สนับสนุนการใช้บัตรลูกค้าเดบิตมากขึ้น” รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวและว่า ปัจจุบันธุรกรรมที่ใช้บัตรเดบิตในการซื้อสินค้ามีน้อยมาก การศึกษารูปแบบต่างประเทศ อย่างเกาหลีใต้ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
รายงานข่าวระบุว่า แนวทางการจัดตั้งศูนย์หักบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต ภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้ค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรลดลง เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ ธปท.กำลังพิจารณา ขณะที่ตัวเลขการใช้บัตรเครดิตทั่วประเทศ เพื่อซื้อสินค้าสิ้นปี 2553 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 30,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 70-80 บาทต่อบัตรต่อเดือนเท่านั้น
ด้านนายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ธปท. สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้คือ คนไทยคุ้นเคยกับการใช้บัตรเครดิตมากกว่า เพราะสามารถที่จะผ่อนชำระได้ หากมีความจำเป็น หรือถ้าจะจ่ายเงินทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาที่กำหนด ก็ไม่เสียดอกเบี้ย แต่คนที่ใช้บัตรเครดิตแล้วชำระทั้งจำนวนมีไม่มาก
ดังนั้น การที่ ธปท.หรือกระทรวงการคลังจะออกมาตรการกระตุ้นให้คนใช้บัตรเดบิต ซึ่งซื้อสินค้าแล้วตัดเงินใช้บัญชีทันที อาจจะต้องใช้แรงจูงใจที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับบัตรเติมเงินมากขึ้น หากจำนวนร้านค้าที่รับชำระบัตรเดบิตมีมากขึ้น และการจ่ายด้วยบัตรเดบิตสะดวกขึ้น ก็อาจจะทำให้คนหันมาใช้บัตรเดบิตได้
นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการ สายบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับ ธปท.เกี่ยวกับมีแนวคิดในการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาบัตรเดบิตเพื่อซื้อสินค้ามากขึ้น โดยนายกรณ์ จาติกวนิช รมว.คลัง อนุมัติให้ ธปท.พิจารณาที่จะใช้การลดภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มแรงจูงใจให้กับประชาชน โดยสั่งการให้ธปท.เป็นคนศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมและคิดว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จริง มาเสนอต่อไป
“ธปท.กำลังเร่งศึกษาก่อนหาข้อสรุป เช่น หากซื้อสินค้าด้วยบัตรเดบิต อาจจะไม่ต้องเสียภาษมูลค่าเพิ่มในช่วงแรก หรือเสียภาษีในอัตราที่ลดลงจาก 7% นอกจากนั้น ธปท.อาจจะมีแนวทางอื่นเสริมเพื่อจูงใจประชาชน ร้านค้าและธนาคารให้สนับสนุนการใช้บัตรลูกค้าเดบิตมากขึ้น” รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวและว่า ปัจจุบันธุรกรรมที่ใช้บัตรเดบิตในการซื้อสินค้ามีน้อยมาก การศึกษารูปแบบต่างประเทศ อย่างเกาหลีใต้ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
รายงานข่าวระบุว่า แนวทางการจัดตั้งศูนย์หักบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต ภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้ค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรลดลง เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ ธปท.กำลังพิจารณา ขณะที่ตัวเลขการใช้บัตรเครดิตทั่วประเทศ เพื่อซื้อสินค้าสิ้นปี 2553 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 30,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 70-80 บาทต่อบัตรต่อเดือนเท่านั้น
ด้านนายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ธปท. สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้คือ คนไทยคุ้นเคยกับการใช้บัตรเครดิตมากกว่า เพราะสามารถที่จะผ่อนชำระได้ หากมีความจำเป็น หรือถ้าจะจ่ายเงินทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาที่กำหนด ก็ไม่เสียดอกเบี้ย แต่คนที่ใช้บัตรเครดิตแล้วชำระทั้งจำนวนมีไม่มาก
ดังนั้น การที่ ธปท.หรือกระทรวงการคลังจะออกมาตรการกระตุ้นให้คนใช้บัตรเดบิต ซึ่งซื้อสินค้าแล้วตัดเงินใช้บัญชีทันที อาจจะต้องใช้แรงจูงใจที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับบัตรเติมเงินมากขึ้น หากจำนวนร้านค้าที่รับชำระบัตรเดบิตมีมากขึ้น และการจ่ายด้วยบัตรเดบิตสะดวกขึ้น ก็อาจจะทำให้คนหันมาใช้บัตรเดบิตได้