นายอานนท์ ทับเที่ยง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโครงการขยายโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G TOT กล่าวว่า หลังจากที่บอร์ดทีโอทีลาออกจากตำแหน่งแล้ว 6 คน ทำให้กรรมการมีจำนวนไม่ถึงกึ่งหนึ่งขององค์ประชุม จนทำให้ไม่สามารถประชุมเพื่ออนุมัติให้ลงนามว่าจ้างผู้ชนะการประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) โครงการ 3G ซึ่งมีมูลค่า 17,440 ล้านบาท ที่กิจการร่วมค้า เอสแอล คอนซอร์เตียม ประกอบการด้วย บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) และบริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์ก ที่เสนอราคาต่ำสุด 16,290 ล้านบาทได้
เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว ฝ่ายบริหารทีโอที และคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ได้เตรียมแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับความเสี่ยงกรณีที่ 3G ของทีโอที ไม่สามารถเปิดบริการได้ทันภายในกรอบเวลาของคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติงบประมาณและให้เปิดบริการในเฟสแรกเดือน เม.ย.นี้ โดยทีโอทีจะหาบริการอื่น หรือไปเช่าใช้โครงข่ายอื่นเพื่อเปิดบริการ 3G ไปก่อน ซึ่งก็ต้องแจ้งให้นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที เพื่อให้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งแผนฉุกเฉินที่ทีโอทีเตรียมการไว้ และจะได้รายงานให้ ครม.รับทราบต่อไป
นายอานนท์ กล่าวว่า จากคำครหาหรือข้อร้องเรียนต่างๆ ที่มีบางบริษัทไม่ผ่านด้านเทคนิคในการประมูล ได้ไปร้องต่อศาลปกครองกลางนั้น ทางคณะกรรมการจัดซื้อยืนยันว่ากิจการร่วมค้าที่ตกก็ยื่นข้อเสนอไม่ตรงทีโออาร์จริงและสามารถพิสูจน์ได้ แต่เรื่องนี้ถ้ามีบอร์ดใหม่เข้ามาก็อาจจะสั่งรื้อโครงการหรือตั้งคณะกรรมการสอบเรื่องนี้ซึ่งก็เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้ 3G อาจจะล่าช้าออกไป หรือถ้าหนักที่สุดก็อาจจะสั่งล้มโครงการเพื่อจัดกระบวนการประมูลใหม่
ในระหว่างที่ขั้นตอนการขออนุมัติเซ็นสัญญายังล่าช้าอยู่ ด้านทีมการตลาด 3G TOT ก็เร่งทำงานคู่ขนานกับส่วนอื่นๆไป ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาในต่างประเทศมาให้คำแนะนำและวางแนวทางการทำตลาด 3G ในส่วนของการขายส่งบริการ (MVNO) เพราะทีโอทีจะเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการ MVNO หากเปิดโครงการ 3G ทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการเปิดให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในประเทศ ทั้ง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิชั่น (ดีแทค) มาขอรับทำ MVNO ได้ด้วย
เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว ฝ่ายบริหารทีโอที และคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ได้เตรียมแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับความเสี่ยงกรณีที่ 3G ของทีโอที ไม่สามารถเปิดบริการได้ทันภายในกรอบเวลาของคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติงบประมาณและให้เปิดบริการในเฟสแรกเดือน เม.ย.นี้ โดยทีโอทีจะหาบริการอื่น หรือไปเช่าใช้โครงข่ายอื่นเพื่อเปิดบริการ 3G ไปก่อน ซึ่งก็ต้องแจ้งให้นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที เพื่อให้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งแผนฉุกเฉินที่ทีโอทีเตรียมการไว้ และจะได้รายงานให้ ครม.รับทราบต่อไป
นายอานนท์ กล่าวว่า จากคำครหาหรือข้อร้องเรียนต่างๆ ที่มีบางบริษัทไม่ผ่านด้านเทคนิคในการประมูล ได้ไปร้องต่อศาลปกครองกลางนั้น ทางคณะกรรมการจัดซื้อยืนยันว่ากิจการร่วมค้าที่ตกก็ยื่นข้อเสนอไม่ตรงทีโออาร์จริงและสามารถพิสูจน์ได้ แต่เรื่องนี้ถ้ามีบอร์ดใหม่เข้ามาก็อาจจะสั่งรื้อโครงการหรือตั้งคณะกรรมการสอบเรื่องนี้ซึ่งก็เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้ 3G อาจจะล่าช้าออกไป หรือถ้าหนักที่สุดก็อาจจะสั่งล้มโครงการเพื่อจัดกระบวนการประมูลใหม่
ในระหว่างที่ขั้นตอนการขออนุมัติเซ็นสัญญายังล่าช้าอยู่ ด้านทีมการตลาด 3G TOT ก็เร่งทำงานคู่ขนานกับส่วนอื่นๆไป ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาในต่างประเทศมาให้คำแนะนำและวางแนวทางการทำตลาด 3G ในส่วนของการขายส่งบริการ (MVNO) เพราะทีโอทีจะเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการ MVNO หากเปิดโครงการ 3G ทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการเปิดให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในประเทศ ทั้ง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิชั่น (ดีแทค) มาขอรับทำ MVNO ได้ด้วย