แบงก์ชาติเผยนักลงทุนต่างชาติแอบขนเงินเข้าไทยตั้งแต่ช่วงรอยสิ้นปี หวังฟันกำไรล่วงหน้าก่อนช่วง January effect คาดหลังปีใหม่เงินทุนนอกยังไหลเข้าไทยต่อเนื่อง ส่งผลเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องแถมผันผวนมากกว่าปีก่อน "อัจนา" ลั่นจับตาใกล้ชิดรวมทั้งเงินเฟ้อ ก่อนวางแผนการเงินใหม่
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 2554 เงินทุนต่างชาติจะไหลกลับเข้ามาไทยเร็วกว่าปกติ โดยเริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาตินำเงินทุนเข้ามาปริมาณค่อนข้างมากตั้งแต่วันที่ 30-31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ช่วงเวลาดังกล่าว ธปท.ได้เข้าไปแทรกแซง เพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวนมากจนเกินไป
“ตามปกติในทุกปี เว้นปี 51 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ในช่วงเดือน ม.ค.ของทุกปีหลังหยุดปีใหม่ จะเริ่มมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลกลับเข้ามาลงทุน หลังจากที่ชะลอการลงทุนในช่วงครึ่งเดือนหลังของเดือน ธ.ค.จนถึงเทศกาลปีใหม่ หรือที่เรียกกันว่า January effect แต่ปีนี้มีเงินไหลกลับเข้ามาเร็วตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค. เลยอาจจะเรียกว่าเป็น New Year effect ขณะที่ในช่วงหลังปีใหม่นี้ยังเห็นเงินต่างประเทศก็ไหลเข้ามาต่อเนื่อง แต่ปริมาณไม่มากเท่าช่วงสิ้นปี“
อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ธนาคารกลางสหรัฐยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเงิน หรือ QE เพื่อลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะนักลงทุนยังไม่เชื่อมั่น การไหลเข้าของเงินทุนมายังประเทศไทยจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง และตามปกติเดือน ม.ค.ประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ดังนั้นแนวโน้มค่าเงินบาทของไทยน่าจะยังมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น อย่างน้อยในช่วงไตรมาสแรกของปี
“แนวโน้มค่าเงินบาท จะดูแค่ระยะสั้นหรือเงินดอลลาร์อย่างเดียวไม่ได้ เมื่อใดที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดี เงินดอลลาร์จะกลับไปแข็งค่าขึ้นและส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง แต่กลับกันเมื่อใดที่คนผิดหวังกับข่าวที่ออกมาเงินดอลลาร์จะอ่อนและเงินบาท แข็งค่าขึ้น ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐก็มีออกมาทุกสัปดาห์ ซึ่งต้องติดตามใกล้ชิด ขณะเดียวกันต้องตามดูผลของมาตรการ QE2 ว่ากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐหรือการลงทุนจริงได้มากน้อยเพียงใด”
ทั้งนี้ ธปท.ยังคงนโยบายเดิม คือ พยายามลดความผันผวนให้น้อยลง และให้การแข็งค่าหรืออ่อนค่าเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นไปค่อยไป และกระทบภาคเอกชนให้น้อยที่สุด ส่วนการดำเนินนโยบายการเงิน ของธปท.ในปี 2554 อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท การไหลเข้าของเงินทุน อัตราเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกเป็นประเด็นที่ ธปท.จับตามต่อเนื่อง เพราะทุกกรณีมีความสอดคล้องกันที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 2554 เงินทุนต่างชาติจะไหลกลับเข้ามาไทยเร็วกว่าปกติ โดยเริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาตินำเงินทุนเข้ามาปริมาณค่อนข้างมากตั้งแต่วันที่ 30-31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ช่วงเวลาดังกล่าว ธปท.ได้เข้าไปแทรกแซง เพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวนมากจนเกินไป
“ตามปกติในทุกปี เว้นปี 51 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ในช่วงเดือน ม.ค.ของทุกปีหลังหยุดปีใหม่ จะเริ่มมีเงินทุนจากต่างประเทศไหลกลับเข้ามาลงทุน หลังจากที่ชะลอการลงทุนในช่วงครึ่งเดือนหลังของเดือน ธ.ค.จนถึงเทศกาลปีใหม่ หรือที่เรียกกันว่า January effect แต่ปีนี้มีเงินไหลกลับเข้ามาเร็วตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค. เลยอาจจะเรียกว่าเป็น New Year effect ขณะที่ในช่วงหลังปีใหม่นี้ยังเห็นเงินต่างประเทศก็ไหลเข้ามาต่อเนื่อง แต่ปริมาณไม่มากเท่าช่วงสิ้นปี“
อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ธนาคารกลางสหรัฐยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเงิน หรือ QE เพื่อลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะนักลงทุนยังไม่เชื่อมั่น การไหลเข้าของเงินทุนมายังประเทศไทยจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง และตามปกติเดือน ม.ค.ประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ดังนั้นแนวโน้มค่าเงินบาทของไทยน่าจะยังมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น อย่างน้อยในช่วงไตรมาสแรกของปี
“แนวโน้มค่าเงินบาท จะดูแค่ระยะสั้นหรือเงินดอลลาร์อย่างเดียวไม่ได้ เมื่อใดที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาดี เงินดอลลาร์จะกลับไปแข็งค่าขึ้นและส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง แต่กลับกันเมื่อใดที่คนผิดหวังกับข่าวที่ออกมาเงินดอลลาร์จะอ่อนและเงินบาท แข็งค่าขึ้น ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐก็มีออกมาทุกสัปดาห์ ซึ่งต้องติดตามใกล้ชิด ขณะเดียวกันต้องตามดูผลของมาตรการ QE2 ว่ากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐหรือการลงทุนจริงได้มากน้อยเพียงใด”
ทั้งนี้ ธปท.ยังคงนโยบายเดิม คือ พยายามลดความผันผวนให้น้อยลง และให้การแข็งค่าหรืออ่อนค่าเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นไปค่อยไป และกระทบภาคเอกชนให้น้อยที่สุด ส่วนการดำเนินนโยบายการเงิน ของธปท.ในปี 2554 อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท การไหลเข้าของเงินทุน อัตราเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกเป็นประเด็นที่ ธปท.จับตามต่อเนื่อง เพราะทุกกรณีมีความสอดคล้องกันที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย