xs
xsm
sm
md
lg

หุ้น 4 แบงก์ใหญ่พุ่ง โบรกฯ เชื่อเป็นผลจาก cycle ดอกเบี้ยขยับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


หุ้น 4 แบงก์ใหญ่ พาเหรดเทรดคึุกคัก โบรกฯ เชื่อผลบวกจาก cycle ดอกเบี้ยขยับขึ้น โดย KTB เพิ่มขึ้น 0.60 บาท (+3.47%) มูลค่าซื้อขาย 448.71 ล้าน BBL เพิ่มขึ้น 5 บาท (+3.40%) มูลค่าซื้อขาย 529.80 ล้าน SCB เพิ่มขึ้น 2 บาท (+1.93%) มูลค่าซื้อขาย 615.39 ล้าน และ KBANK เพิ่มขึ้น 2 บาท (+1.59%)มูลค่าซื้อขาย 245.8 ล้าน

วันนี้ (4 ม.ค.) หุ้น BBL KBANK KTB และ SCB พากันขยับตัวขึ้น โดยมีวอลุ่มเทรดเข้ามาอย่างคึกคัก ทั้งนี้ เมื่อเวลา 11.56 น.ที่่ผ่านมา หุ้น KTB อยู่ที่ 17.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.60 บาท(+3.47%) มูลค่าซื้อขาย 448.71 ล้านบาท หุ้น BBL อยู่ที่ 152 บาท เพิ่มขึ้น 5 บาท(+3.40%) มูลค่าซื้อขาย 529.80 ล้านบาท หุ้น SCB อยู่ที่ 105.50 บาท เพิ่มขึ้น 2 บาท(+1.93%) มูลค่าซื้อขาย 615.39 ล้านบาท และ หุ้น KBANK อยู่ที่ 127.50 บาท เพิ่มขึ้น 2 บาท (+1.59%) มูลค่าซื้อขาย 245.8 ล้านบาท

ด้าน บล.พัฒนสิน วิเคราะห์ว่า ธนาคารขนาดกลางและใหญ่จะเป็นกลุ่มฯที่ได้รับผลบวกสูงสุดจาก cycle ดอกเบี้ยขาขึ้น (คาดจะเป็นแนวโน้มขาขึ้นไปจนถึงปี 2012F โดยเฉพาะ KBANK, KTB และ BBL ที่คาดว่าจะเป็น 3 ธนาคารหลักที่ได้รับผลบวกสูงสุดในกลุ่ม

ขณะที่ บล.เกียรตินาคิน แนะ “ซื้อ” หุ้นธนาคารกรุงเทพ (BBL)ให้ราคาเป้าหมาย 11.85 บาท/หุ้น คาดว่า จะมีกำไรสุทธิปี 2553 ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 23% เป็น 25,457 ล้านบาท ทำให้ BBL สามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 บาท/หุ้น ซึ่งเป็นธนาคารที่มีการจ่ายปันผลสูงที่สุดในกลุ่ม คิดเป็นอัตราผลตอบแทนปันผล 3.4% (โดย BBL จ่ายปันผลระหว่างกาลแล้ว 1.50 บาท/หุ้น)

ราคาหุ้นของ BBL ขณะนี้ ซื้อขายที่ระดับ P/BV ที่ 1.30 เท่า สูงกว่าปีก่อนที่ซื้อขายที่ 1.2 เท่า แต่ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มในปีนี้ที่ซื้อขายกันอยู่ที่ 1.79 เท่า

BBL นอกจากจะเป็นธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 1 มูลค่าของสินทรัพย์ 1.8 ล้านล้าน (ณ สิ้นไตรมาส 3/53) ยังเป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ

โดยมีจุดเด่นทางด้าน Trade finance ซึ่งการที่การส่งออกยังขยายตัวจะทำให้ BBL มีรายได้ค่าธรรมเนียมในปี 2554 เพิ่มสูงขึ้นอีก 7%

อีกทั้ง BBL เป็นธนาคารที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วนสำรองต่อ NPL อยู่ถึง 135% และสูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดถึง 190% ในขณะที่เราคาดว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่องในปี 2554 เนื่องจากการบริหารจัดการที่ดีของธนาคาร และคาดว่า ระบบเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น