เคทีซีแจ้งผลประกอบการปี 52 ขาดทุน 395 ล้าน ระบุผลตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS 39 เหตุเป็นบ.ลูกแบงก์กรุงไทย มั่นใจปีนี้พลิกทำกำไรพร้อมจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้แน่นอน พร้อมตั้งเป้าโตบัตรใหม่ 2 แสนบัตร รับ 3 ปีต่อจากนี้ไปจะมีอัตราการเติบโตเป็นแบบเชื่องช้า โดยสินเชื่อจะโตปีละ 4-5 % ไม่ก้าวกระโดดเป็นตัวเลข 2 หลัก เหมือนกับปี 51 ที่เติบโต 11%
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) (เคทีซี) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของเคทีซีในปี 2553 นี้คาดว่าจะสามารถพลิกทำกำไรได้อย่างแน่นอนและจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ เพราะเคทีซีมีกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรอยู่ 1.8 พันล้านบาท โดยแผนธุรกิจปีนี้จะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน เพราะเป็นกลุ่มเป็นกลุ่มลูกค้าที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรค่อนข้างสูงและมีประวัติการชำระคืนดี โดยเคทีซีตั้งเป้าเติบโตบัตรเครดิตใหม่ไว้ที่ 2 แสนบัตร และเมื่อหักกับยอดการยกเลิกบัตร ก็จะทำให้สิ้นปีนี้ยอดบัตรใหม่จะเติบโตเป็นตัวเลขที่แท้จริงประมาณ 1 แสนบัตร ทำให้ฐานบัตรเครดิตรวมอยู่ที่ 1.7 ล้านบัตร โดยกลยุทธ์ในปีจะไม่เน้นเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ แต่จะเน้นเรื่องของรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ ลดรายจ่าย และควบคุมต้นทุน
"ทิศทางการทำธุรกิจของเคทีซีในปีนี้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับสถานบันการเงินต่างชาติ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีก็จะชะลอการทำธุรกิจ และตัดลดค่าใช้จ่าย ซึ่งต่างกับสถาบันการเงินของไทยที่ออกมาแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตสูงมาก ทั้งนี้ หากมีการเร่งออกบัตรเครดิต และปล่อยสินเชื่อบุคคลจำนวนมาก ก็อาจส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับหนี้เอ็นพีแอลในปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 % โดยคาดว่าแนวโน้มหนี้เอ็นพีแอลในสว่นบัตรเครดิตสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 3%"นายนิวัตต์ กล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงที่การเมืองยังไม่นิ่ง ยังมีกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงออกมา เคทีซีก็ยังจะมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่หากเศรษฐกิจดีขึ้นไม่มีปัญหาความยัดแย้ง เคทีซีพร้อมกลับมารุกธุรกิจเต็มที่ ดังนั้น เคทีซีจึงคาดการณ์ว่าการทำธุรกิจของบริษัทเองในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ไปจะมีอัตราการเติบโตเป็นแบบเชื่องช้า โดยสินเชื่อจะเติบโตปีละ 4-5 % และบริษัทก็จะยังคงทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ซึ่งอัตราการเติบโตจะไม่ก้าวกระโดดเป็นตัวเลข 2 หลัก เหมือนกับปี 2551 ที่เติบโต 11 %
นายนิวัตต์ ยังกล่าวอีกว่า ในไตรมาส 1 ของปีนี้บริษัทเคทีซีเตรียมออกหุ้นกู้วงเงิน 2 พันล้านบาท โดยเป็นการทยอยออกหุ้นกู้จากวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทภายในปีนี้ ภายหลังจากขอเปิดวงเงินการออกหุ้นกู้จากคณะกรรมการจำนวน 2 หมื่นล้านบาทในปีก่อน ซึ่งจะครอบคลุมวงเงินดังกล่าวไปจนถึงปี 2554 โดยการออกหุ้นกู้เพื่อขยายธุรกิจและรีไฟแนนซ์ที่จะครบกำหนด 1 หมื่นล้านบาทในปีนี้ จากจำนวนเต็มทั้งสิ้นที่ออกหุ้นกู้เมื่อปี 2552 ที่จำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท
ล่าสุดเคทีซีแจ้งผลการดำเนินงานของปี 52 ว่า มีผลกำไรจากการดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ก่อนการปรับปรุงรายการเท่ากับ 286 ล้านบาท และหลังการปรับปรุง รายการดังกล่าวจะมีผลขาดทุนสุทธิ 395 ล้านบาท แต่ไม่มีผลขาดทุนสะสม และไม่กระทบความสามารถ ในการชำระหนี้แต่อย่างใด ด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 6.95 เท่า จึงมั่นใจว่าจะสร้างรายได้เพิ่มจากการบริหารจัดการพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพได้ ทั้งนี้สาเหตุของการขาดทุนเกิดจากการที่เคทีซีเป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงไทย จำกัด (KTB) ต้องปฎิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (ไอเอเอส 39) ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2556
"บริษัท มีรายได้รวมสำหรับปีที่แล้วเท่ากับ 12,354 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% โดยมีสัดส่วนรายได้จากดอกเบี้ยรับ รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเท่ากับ 8,561 ล้านบาท หรือ 69% และรายได้ค่าธรรมเนียม 3,062 ล้านบาท หรือ 25% ของรายได้รวม สำหรับค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ปีที่แล้วเท่ากับ 43% ลดลงจาก 49% ณ สิ้นปี 2551 เป็นผลจากการขยายฐานสมาชิกใหม่ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะปรับลดค่าใช้จ่ายด้านกิจกรรมการตลาดลง"นายนิวัตต์ กล่าว
สำหรับเกณฑ์ไอเอเอส 39 นั้นลูกหนี้ทุกประเภทที่ผิดนัดชำระ 90 วันขึ้นไป บริษัทต้องตั้งสำรอง 100 % จากเดิมกำหนดต้องผิดนัด 180 วันขึ้นไปตั้งสำรอง 100 % ประกอบกับมาตรฐานอื่นๆ ทำให้เคทีซีต้องทยอยตั้งสำรองหนี้จัดชั้น และในปีนี้จะมีการตั้งสำรองจำนวนมาก ขณะที่อีก 2 ปีที่เหลือคือปี 2554 และปี 2555 จะตั้งสำรองปีละ 200-300 ล้านบาท และหากภาวะเศรษฐกิจยังเป็นแบบนี้ หลังจากหักสำรองแต่ละปี เคทีซียังคงมีกำไรสุทธิ สามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ ที่สำคัญการสำรองในครั้งนี้ส่งผลดีคือ สามารถสร้างความแข่งแกร่งให้กับเคทีซี
นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) (เคทีซี) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของเคทีซีในปี 2553 นี้คาดว่าจะสามารถพลิกทำกำไรได้อย่างแน่นอนและจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ เพราะเคทีซีมีกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรอยู่ 1.8 พันล้านบาท โดยแผนธุรกิจปีนี้จะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน เพราะเป็นกลุ่มเป็นกลุ่มลูกค้าที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรค่อนข้างสูงและมีประวัติการชำระคืนดี โดยเคทีซีตั้งเป้าเติบโตบัตรเครดิตใหม่ไว้ที่ 2 แสนบัตร และเมื่อหักกับยอดการยกเลิกบัตร ก็จะทำให้สิ้นปีนี้ยอดบัตรใหม่จะเติบโตเป็นตัวเลขที่แท้จริงประมาณ 1 แสนบัตร ทำให้ฐานบัตรเครดิตรวมอยู่ที่ 1.7 ล้านบัตร โดยกลยุทธ์ในปีจะไม่เน้นเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ แต่จะเน้นเรื่องของรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ ลดรายจ่าย และควบคุมต้นทุน
"ทิศทางการทำธุรกิจของเคทีซีในปีนี้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับสถานบันการเงินต่างชาติ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีก็จะชะลอการทำธุรกิจ และตัดลดค่าใช้จ่าย ซึ่งต่างกับสถาบันการเงินของไทยที่ออกมาแข่งขันธุรกิจบัตรเครดิตสูงมาก ทั้งนี้ หากมีการเร่งออกบัตรเครดิต และปล่อยสินเชื่อบุคคลจำนวนมาก ก็อาจส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับหนี้เอ็นพีแอลในปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 % โดยคาดว่าแนวโน้มหนี้เอ็นพีแอลในสว่นบัตรเครดิตสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 3%"นายนิวัตต์ กล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงที่การเมืองยังไม่นิ่ง ยังมีกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงออกมา เคทีซีก็ยังจะมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่หากเศรษฐกิจดีขึ้นไม่มีปัญหาความยัดแย้ง เคทีซีพร้อมกลับมารุกธุรกิจเต็มที่ ดังนั้น เคทีซีจึงคาดการณ์ว่าการทำธุรกิจของบริษัทเองในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ไปจะมีอัตราการเติบโตเป็นแบบเชื่องช้า โดยสินเชื่อจะเติบโตปีละ 4-5 % และบริษัทก็จะยังคงทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ซึ่งอัตราการเติบโตจะไม่ก้าวกระโดดเป็นตัวเลข 2 หลัก เหมือนกับปี 2551 ที่เติบโต 11 %
นายนิวัตต์ ยังกล่าวอีกว่า ในไตรมาส 1 ของปีนี้บริษัทเคทีซีเตรียมออกหุ้นกู้วงเงิน 2 พันล้านบาท โดยเป็นการทยอยออกหุ้นกู้จากวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทภายในปีนี้ ภายหลังจากขอเปิดวงเงินการออกหุ้นกู้จากคณะกรรมการจำนวน 2 หมื่นล้านบาทในปีก่อน ซึ่งจะครอบคลุมวงเงินดังกล่าวไปจนถึงปี 2554 โดยการออกหุ้นกู้เพื่อขยายธุรกิจและรีไฟแนนซ์ที่จะครบกำหนด 1 หมื่นล้านบาทในปีนี้ จากจำนวนเต็มทั้งสิ้นที่ออกหุ้นกู้เมื่อปี 2552 ที่จำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท
ล่าสุดเคทีซีแจ้งผลการดำเนินงานของปี 52 ว่า มีผลกำไรจากการดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ก่อนการปรับปรุงรายการเท่ากับ 286 ล้านบาท และหลังการปรับปรุง รายการดังกล่าวจะมีผลขาดทุนสุทธิ 395 ล้านบาท แต่ไม่มีผลขาดทุนสะสม และไม่กระทบความสามารถ ในการชำระหนี้แต่อย่างใด ด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 6.95 เท่า จึงมั่นใจว่าจะสร้างรายได้เพิ่มจากการบริหารจัดการพอร์ตลูกหนี้ที่มีคุณภาพได้ ทั้งนี้สาเหตุของการขาดทุนเกิดจากการที่เคทีซีเป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงไทย จำกัด (KTB) ต้องปฎิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (ไอเอเอส 39) ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2556
"บริษัท มีรายได้รวมสำหรับปีที่แล้วเท่ากับ 12,354 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% โดยมีสัดส่วนรายได้จากดอกเบี้ยรับ รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเท่ากับ 8,561 ล้านบาท หรือ 69% และรายได้ค่าธรรมเนียม 3,062 ล้านบาท หรือ 25% ของรายได้รวม สำหรับค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ปีที่แล้วเท่ากับ 43% ลดลงจาก 49% ณ สิ้นปี 2551 เป็นผลจากการขยายฐานสมาชิกใหม่ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะปรับลดค่าใช้จ่ายด้านกิจกรรมการตลาดลง"นายนิวัตต์ กล่าว
สำหรับเกณฑ์ไอเอเอส 39 นั้นลูกหนี้ทุกประเภทที่ผิดนัดชำระ 90 วันขึ้นไป บริษัทต้องตั้งสำรอง 100 % จากเดิมกำหนดต้องผิดนัด 180 วันขึ้นไปตั้งสำรอง 100 % ประกอบกับมาตรฐานอื่นๆ ทำให้เคทีซีต้องทยอยตั้งสำรองหนี้จัดชั้น และในปีนี้จะมีการตั้งสำรองจำนวนมาก ขณะที่อีก 2 ปีที่เหลือคือปี 2554 และปี 2555 จะตั้งสำรองปีละ 200-300 ล้านบาท และหากภาวะเศรษฐกิจยังเป็นแบบนี้ หลังจากหักสำรองแต่ละปี เคทีซียังคงมีกำไรสุทธิ สามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ ที่สำคัญการสำรองในครั้งนี้ส่งผลดีคือ สามารถสร้างความแข่งแกร่งให้กับเคทีซี