ตลาดหลักทรัพย์ จับมือสถาบันไทยพัฒน์ และ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ร่วมหารือถึงทิศทาง CSR ปี 53 แนวโน้มปีนี้องค์กรธุรกิจขานรับกระแส Green สนองพฤติกรรมของผู้บริโภคในทิศทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พร้อมทบทวนบทบาทเร่งปรับกลยุทธ์ CSR ในธุรกิจให้รองรับทั้งโอกาส และผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีที่เข้มข้นขึ้น เน้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม กล่าวในงานแถลงทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2553 "Repositioning your CSR"วานนี้ ( 28 ม.ค. ) ว่า จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้หลายภาคส่วนต้องปรับตัว รับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน และการดำเนินงานที่ต้องคำนึงถึงกระบวนการของธุรกิจที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาและดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักธรรมาภิบาล จริยธรรมและคุณธรรม เพื่อสร้างรากฐานความเข้มแข็งของธุรกิจ ให้สามารถประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนมั่นคง
โดยปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรม CSR ในองค์กร โดยร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ผ่านโครงการ CSR Day ที่ช่วยสร้างความเข้าใจของการทำ CSR ที่ถูกต้อง ให้แก่พนักงาน ส่วนปี53 นี้จะต่อยอดจาก CSR ที่เข้มแข็งในองค์กรด้วยการเชื่อมโยงให้เกิดการขับเคลื่อนการทำ CSR ร่วมกันในระดับองค์กรผ่าน CSR Club ภายใต้สมาคมบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครือข่ายพลังจากภาคธุรกิจ ในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมร่วมกับองค์กรพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ อย่างบูรณาการ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งทิศทางที่เป็นแนวโน้มในการปรับกระบวนทัศน์ของภาคธุรกิจ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายในองค์กร ด้วยความร่วมมือร่วมใจ ประสานพลังในการทำความดี เชื่อมโยงจากหนึ่งเป็นสอง และขยายเป็นวงกว้างในสังคมไทย
นายชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ รองกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ และกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ได้กล่าวถึงทิศทางการขับเคลื่อนงาน CSR ของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ในปี 53 ว่าจะยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการภายในของธุรกิจ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน ทั้งพนักงาน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลักดันการสร้างจิตสำนึกด้าน CSR และส่งเสริมองค์ความรู้ในหลากหลายบริบททางสังคม เพื่อให้องค์กรธุรกิจเกิดความตระหนักเข้าใจในการทำ CSR ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับองค์กร และสามารถเป็นผู้ดำเนินการได้เอง
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เผยผลการศึกษาทิศทางและแนวโน้มของ CSR ปีนี้ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 67 (Constitution) เรื่องกระแสสีเขียวอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate) และเรื่องความตกลงการเปิดเสรีทางการค้า (Commerce) ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรธุรกิจต้องพิจารณาทบทวนแนวการดำเนินงาน หรือการ Repositioning CSR ขององค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับทั้งโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้
กระแสเรื่องจุดปกติใหม่ หรือ New Normal จึงเกิดขึ้นท่ามกลางวิถีของการปรับตัวทางเศรษฐกิจในยุคข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้ส่อเค้าว่าจะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกให้เกิดอาการเซื่องซึมยาว ทำให้บรรดาธุรกิจในทุกแขนงกำลังเรียนรู้พฤติกรรมและเงื่อนไขใหม่สำหรับวางกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อรองรับการเคลื่อนตัวของเศรษฐกิจไปสู่จุดปกติใหม่นี้กันอย่างขะมักเขม้นการปรับจุดยืนในเรื่อง CSR เพื่อรับกับจุดปกติใหม่ (New Normal) จะต้องคำนึงถึงทุกองค์ประกอบสำคัญอย่างควบคู่กัน ทั้งในเรื่องขอบเขต (Scope) แนวนโยบาย (Platform) โครงสร้าง (Structure) กลยุทธ์ (Strategy) การดำเนินงาน (Performance) ตัวชี้วัด (Measure) และการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) เพื่อสร้างสมให้เกิดเป็นคุณค่า CSR ขององค์กรที่สังคมตระหนักในระยะยาว
"ในปีนี้ กระแสเรื่องมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะ ISO 26000 ซึ่งมีกำหนดจะประกาศเป็นมาตรฐานนานาชาติฉบับสมบูรณ์ในปลายปี 53 หลังจากการประชุมที่โคเปนเฮเก้น ในเดือนพฤษภาคมนี้ จะเป็นตัวเร่งให้องค์กรธุรกิจโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ปรับกระบวนการทำงานให้เข้ากับมาตรฐานที่เกิดขึ้น "
อย่างไรก็ดี มาตรฐาน ISO 26000 นี้เป็นเพียงมาตรฐานข้อแนะนำ มิใช่มาตรฐานระบบการจัดการเพื่อใช้สำหรับการรับรอง (Certification) การเสนอให้มีการรับรอง หรือกล่าวอ้างว่าได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 26000 จึงผิดไปจากเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของมาตรฐาน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม กล่าวในงานแถลงทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2553 "Repositioning your CSR"วานนี้ ( 28 ม.ค. ) ว่า จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้หลายภาคส่วนต้องปรับตัว รับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน และการดำเนินงานที่ต้องคำนึงถึงกระบวนการของธุรกิจที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาและดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักธรรมาภิบาล จริยธรรมและคุณธรรม เพื่อสร้างรากฐานความเข้มแข็งของธุรกิจ ให้สามารถประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนมั่นคง
โดยปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรม CSR ในองค์กร โดยร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ผ่านโครงการ CSR Day ที่ช่วยสร้างความเข้าใจของการทำ CSR ที่ถูกต้อง ให้แก่พนักงาน ส่วนปี53 นี้จะต่อยอดจาก CSR ที่เข้มแข็งในองค์กรด้วยการเชื่อมโยงให้เกิดการขับเคลื่อนการทำ CSR ร่วมกันในระดับองค์กรผ่าน CSR Club ภายใต้สมาคมบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครือข่ายพลังจากภาคธุรกิจ ในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมร่วมกับองค์กรพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ อย่างบูรณาการ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งทิศทางที่เป็นแนวโน้มในการปรับกระบวนทัศน์ของภาคธุรกิจ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายในองค์กร ด้วยความร่วมมือร่วมใจ ประสานพลังในการทำความดี เชื่อมโยงจากหนึ่งเป็นสอง และขยายเป็นวงกว้างในสังคมไทย
นายชัยยุทธ์ ชำนาญเลิศกิจ รองกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ และกรรมการผู้อำนวยการ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ได้กล่าวถึงทิศทางการขับเคลื่อนงาน CSR ของสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ในปี 53 ว่าจะยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการภายในของธุรกิจ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน ทั้งพนักงาน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลักดันการสร้างจิตสำนึกด้าน CSR และส่งเสริมองค์ความรู้ในหลากหลายบริบททางสังคม เพื่อให้องค์กรธุรกิจเกิดความตระหนักเข้าใจในการทำ CSR ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับองค์กร และสามารถเป็นผู้ดำเนินการได้เอง
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เผยผลการศึกษาทิศทางและแนวโน้มของ CSR ปีนี้ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 67 (Constitution) เรื่องกระแสสีเขียวอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate) และเรื่องความตกลงการเปิดเสรีทางการค้า (Commerce) ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรธุรกิจต้องพิจารณาทบทวนแนวการดำเนินงาน หรือการ Repositioning CSR ขององค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับทั้งโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้
กระแสเรื่องจุดปกติใหม่ หรือ New Normal จึงเกิดขึ้นท่ามกลางวิถีของการปรับตัวทางเศรษฐกิจในยุคข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้ส่อเค้าว่าจะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจทั่วโลกให้เกิดอาการเซื่องซึมยาว ทำให้บรรดาธุรกิจในทุกแขนงกำลังเรียนรู้พฤติกรรมและเงื่อนไขใหม่สำหรับวางกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อรองรับการเคลื่อนตัวของเศรษฐกิจไปสู่จุดปกติใหม่นี้กันอย่างขะมักเขม้นการปรับจุดยืนในเรื่อง CSR เพื่อรับกับจุดปกติใหม่ (New Normal) จะต้องคำนึงถึงทุกองค์ประกอบสำคัญอย่างควบคู่กัน ทั้งในเรื่องขอบเขต (Scope) แนวนโยบาย (Platform) โครงสร้าง (Structure) กลยุทธ์ (Strategy) การดำเนินงาน (Performance) ตัวชี้วัด (Measure) และการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) เพื่อสร้างสมให้เกิดเป็นคุณค่า CSR ขององค์กรที่สังคมตระหนักในระยะยาว
"ในปีนี้ กระแสเรื่องมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะ ISO 26000 ซึ่งมีกำหนดจะประกาศเป็นมาตรฐานนานาชาติฉบับสมบูรณ์ในปลายปี 53 หลังจากการประชุมที่โคเปนเฮเก้น ในเดือนพฤษภาคมนี้ จะเป็นตัวเร่งให้องค์กรธุรกิจโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ปรับกระบวนการทำงานให้เข้ากับมาตรฐานที่เกิดขึ้น "
อย่างไรก็ดี มาตรฐาน ISO 26000 นี้เป็นเพียงมาตรฐานข้อแนะนำ มิใช่มาตรฐานระบบการจัดการเพื่อใช้สำหรับการรับรอง (Certification) การเสนอให้มีการรับรอง หรือกล่าวอ้างว่าได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 26000 จึงผิดไปจากเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของมาตรฐาน