ตลาดบรอดแบนด์แข่งกันมันส์หยด ล่าสุด 3BB ใจป้ำเพิ่มความเร็วให้ลูกค้า 3 Mb เป็น4 Mbราคาเดิม 590 บาท เขย่าตลาดก่อนสิ้นปี หวังปั่นยอดลูกค้าถึง 5.7 แสนพอร์ต กวาดเงินเข้ากระเป๋า 5,000 ล้านบาท ปีหน้าฝันลูกค้าแตะหลักล้านพอร์ต ด้านทีโอทีควัก 200 ล้านบาทนำร่องเปิด FTTX ที่เมืองภูเก็ต เฟสต่อไปเล็งเมืองท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรมหวังทำเงินจากลูกค้าไฮ-เอนด์
นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า ปีนี้ บริษัทจะมียอดลูกค้าบรอดแบนด์ทั้งสิ้น 5.7 แสนพอร์ต ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 6 แสนพอร์ต เนื่องจากปีที่ผ่านมามีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการในตลาดเพื่อแย่งชิงลูกค้ากันอย่างดุเดือดประกอบกับบริษัทเองมีปัญหาภายในด้วยปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าบรอดแบนด์รวม 5.6 แสนพอร์ต แบ่งเป็นลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 80,000 พอร์ตซึ่งเป็นการทำการตลาดเพียงปีเดียวและเชื่อว่าในปีหน้าบริษัทจะมีลูกค้าบรอดแบนด์ในกรุงเทพเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 แสนพอร์ต
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งท้ายปีเก่า บริษัทได้เพิ่มความเร็วให้ลูกค้าที่ใช้งาน 3 Mbที่มีอยู่ทั้งหมด 5.5 แสนพอร์ต เป็น 4 Mb ในราคาเดิม 590 บาท/เดือน ทั้งหมดส่งผลให้ความเร็ว 4 Mbกลายเป็นความเร็วต่ำสุดที่บริษัทให้บริการอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดทำภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ขึ้น ชื่อชุด “สัญญา” ความยาว 30 วินาที เพื่อสื่อสารการเพิ่มความเร็วครั้งนี้ไปยังลูกค้าของ3BB ซึ่งกลยุทธ์นี้น่าจะช่วยทำให้ลูกค้าตัดสินใจขอใช้บริการของเราแทนบริการจากคู่แข่งอย่างแน่นอน
สำหรับปีหน้า นายพิชญ์กล่าวมองว่า ตลาดบรอดแบนด์จะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยจะเป็นการแข่งขันด้านการเพิ่มความเร็วในการใช้งานให้กับลูกค้าเป็นหลัก ส่วนการปรับลดค่าบริการต่ำสุดจากเดิม 590 บาท/เดือนนั้น เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะผู้ให้บริการในตลาดต่างพยายามรักษาระดับราคาขั้นต่ำไว้ในระดับราคาดังกล่าว เนื่องจากยังมีต้นทุนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกต่างประเทศที่สูงอยู่ ส่วนตลาดรวมบรอดแบนด์ปีนี้จะมีผู้ใช้อยู่ที่ 2 ล้านพอร์ต และในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 ล้านพอร์ต
อย่างไรก็ตามในปีหน้า บริษัทตั้งเป้าจะมีลูกค้าบรอดแบนด์รวมทั้งสิ้น 1 ล้านพอร์ตเนื่องจากการเพิ่มความเร็วให้ลูกค้าเป็น 4 Mb ลูกค้าใหม่เข้ามาใช้งานเฉลี่ยเดือนละ 25,000 พอร์ต จากเดิมมียอดลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นเดือนละ 20,000พอร์ต สำหรับรายได้จากการให้บริการบรอดแบนด์ของบริษัทในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท จากรายได้รวมของบริษัทประมาณ 8,000 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าคาดว่ารายได้จากบรอดแบนด์จะเติบโตเพิ่มขึ้น50-60 % ซึ่งคาดว่ารายได้จากบริการดังกล่าวจะเกินครึ่งของรายได้รวมที่ประมาณไว้ที่ 10,000 ล้านบาท
ส่วนปัญหาข้อพิพาทกับบริษัททีโอทีในเรื่องการโอนย้ายลูกค้าของบริษัททีทีแอนด์ทีนั้นจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินหน้าให้บริการการบรอดแบนด์ของบริษัท เนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้ลงทุนขยายชุมสายย่อยเพื่อให้บริการลูกค้าเองทั้งหมด โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทใช้เงินลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาท สามารถรองรับการใช้งานของลูกค้า 1.2 ล้านพอร์ตและในปีหน้าบริษัทมีแผนขยายการลงทุนอีกประมาณ 1,500 ล้านบาทโดยจะเพิ่มการรองรับลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนพอร์ต
นายพิชญ์กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มธรุกิจอื่นของบริษัท ที่ผ่านมามาบริษัท จัสเทล จำกัด มีการเติบโตอย่างน่าสนใจโดยในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 800 ล้านบาทโดยเพิ่มเส้นทางใหม่ที่ ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนปีหน้าน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 50-60% จาก 800 ล้านบาท
**ทีโอทีเปิด FTTX ภูเก็ต**
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีได้เริ่มนำร่องเปิดให้บริการ ไฟเบอร์ ทูยู (Fiber 2U) ที่ภูเก็ต โดยได้ใช้งบประมาณลงทุน 200 ล้านบาทเพื่อวางระบบโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติก (FTTX) ทั่วจังหวัดให้สามารถบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วตั้งแต่ 10 เมกะบิตและสามารถขยายความเร็วไปได้ถึง100 เมกะบิตเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน (ไฮ-เอนด์)
ทั้งนี้ในระยะแรกทีโอทีจะให้บริการที่ความเร็ว 10 เมกะบิต ในราคา 8,600 บาท 20 เมกะบิตในราคา 15,000 บาทและ30 เมกะบิต ราคา 22,000 บาท โดยคาดว่าทีโอทีจะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 3 ปี 7 เดือน ซึ่งเฉลี่ยแล้วบริษัทต้องมีรายได้จากบริการดังกล่าวประมาณ 50 -60 ล้านบาท นอกจากนี้ในระยะต่อไปบริษัทมีแผนวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก ที่ ชลบุรี พัทยา ช่วงไตรมาสแรกปี 2553โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 200 ล้านบาท
นอกจากนี้ทีโอทียังเตรียมวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกอีกหลายพื้นที่ อาทิ มาบตาพุด จังหวัดระยอง หัวหิน รวมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เน้นพื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และมีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล
นายนพณัฐฎ์ หุตะเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการใช้บรอดแบนด์ผ่านสายเอดีเอสแอลของภูเก็ตมี จำนวน 10-20% ของประชากรทั้งจังหวัด หรือมีประมาณ 50,000 พอร์ต ทั้งนี้ทีโอทีมีรายได้จากบริการบรอดแบนด์ในส่วนภูมิภาคประมาณ 4,000 ล้านบาท และในปีหน้าคาดว่าจะมีรายได้จากบรอดแบนด์ทั่วประเทศ 7,000ล้านบาท
นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า ปีนี้ บริษัทจะมียอดลูกค้าบรอดแบนด์ทั้งสิ้น 5.7 แสนพอร์ต ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 6 แสนพอร์ต เนื่องจากปีที่ผ่านมามีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการในตลาดเพื่อแย่งชิงลูกค้ากันอย่างดุเดือดประกอบกับบริษัทเองมีปัญหาภายในด้วยปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าบรอดแบนด์รวม 5.6 แสนพอร์ต แบ่งเป็นลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 80,000 พอร์ตซึ่งเป็นการทำการตลาดเพียงปีเดียวและเชื่อว่าในปีหน้าบริษัทจะมีลูกค้าบรอดแบนด์ในกรุงเทพเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 แสนพอร์ต
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งท้ายปีเก่า บริษัทได้เพิ่มความเร็วให้ลูกค้าที่ใช้งาน 3 Mbที่มีอยู่ทั้งหมด 5.5 แสนพอร์ต เป็น 4 Mb ในราคาเดิม 590 บาท/เดือน ทั้งหมดส่งผลให้ความเร็ว 4 Mbกลายเป็นความเร็วต่ำสุดที่บริษัทให้บริการอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดทำภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ขึ้น ชื่อชุด “สัญญา” ความยาว 30 วินาที เพื่อสื่อสารการเพิ่มความเร็วครั้งนี้ไปยังลูกค้าของ3BB ซึ่งกลยุทธ์นี้น่าจะช่วยทำให้ลูกค้าตัดสินใจขอใช้บริการของเราแทนบริการจากคู่แข่งอย่างแน่นอน
สำหรับปีหน้า นายพิชญ์กล่าวมองว่า ตลาดบรอดแบนด์จะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยจะเป็นการแข่งขันด้านการเพิ่มความเร็วในการใช้งานให้กับลูกค้าเป็นหลัก ส่วนการปรับลดค่าบริการต่ำสุดจากเดิม 590 บาท/เดือนนั้น เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะผู้ให้บริการในตลาดต่างพยายามรักษาระดับราคาขั้นต่ำไว้ในระดับราคาดังกล่าว เนื่องจากยังมีต้นทุนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกต่างประเทศที่สูงอยู่ ส่วนตลาดรวมบรอดแบนด์ปีนี้จะมีผู้ใช้อยู่ที่ 2 ล้านพอร์ต และในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 ล้านพอร์ต
อย่างไรก็ตามในปีหน้า บริษัทตั้งเป้าจะมีลูกค้าบรอดแบนด์รวมทั้งสิ้น 1 ล้านพอร์ตเนื่องจากการเพิ่มความเร็วให้ลูกค้าเป็น 4 Mb ลูกค้าใหม่เข้ามาใช้งานเฉลี่ยเดือนละ 25,000 พอร์ต จากเดิมมียอดลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นเดือนละ 20,000พอร์ต สำหรับรายได้จากการให้บริการบรอดแบนด์ของบริษัทในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท จากรายได้รวมของบริษัทประมาณ 8,000 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าคาดว่ารายได้จากบรอดแบนด์จะเติบโตเพิ่มขึ้น50-60 % ซึ่งคาดว่ารายได้จากบริการดังกล่าวจะเกินครึ่งของรายได้รวมที่ประมาณไว้ที่ 10,000 ล้านบาท
ส่วนปัญหาข้อพิพาทกับบริษัททีโอทีในเรื่องการโอนย้ายลูกค้าของบริษัททีทีแอนด์ทีนั้นจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินหน้าให้บริการการบรอดแบนด์ของบริษัท เนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้ลงทุนขยายชุมสายย่อยเพื่อให้บริการลูกค้าเองทั้งหมด โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทใช้เงินลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาท สามารถรองรับการใช้งานของลูกค้า 1.2 ล้านพอร์ตและในปีหน้าบริษัทมีแผนขยายการลงทุนอีกประมาณ 1,500 ล้านบาทโดยจะเพิ่มการรองรับลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนพอร์ต
นายพิชญ์กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มธรุกิจอื่นของบริษัท ที่ผ่านมามาบริษัท จัสเทล จำกัด มีการเติบโตอย่างน่าสนใจโดยในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 800 ล้านบาทโดยเพิ่มเส้นทางใหม่ที่ ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนปีหน้าน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 50-60% จาก 800 ล้านบาท
**ทีโอทีเปิด FTTX ภูเก็ต**
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีได้เริ่มนำร่องเปิดให้บริการ ไฟเบอร์ ทูยู (Fiber 2U) ที่ภูเก็ต โดยได้ใช้งบประมาณลงทุน 200 ล้านบาทเพื่อวางระบบโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติก (FTTX) ทั่วจังหวัดให้สามารถบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วตั้งแต่ 10 เมกะบิตและสามารถขยายความเร็วไปได้ถึง100 เมกะบิตเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน (ไฮ-เอนด์)
ทั้งนี้ในระยะแรกทีโอทีจะให้บริการที่ความเร็ว 10 เมกะบิต ในราคา 8,600 บาท 20 เมกะบิตในราคา 15,000 บาทและ30 เมกะบิต ราคา 22,000 บาท โดยคาดว่าทีโอทีจะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 3 ปี 7 เดือน ซึ่งเฉลี่ยแล้วบริษัทต้องมีรายได้จากบริการดังกล่าวประมาณ 50 -60 ล้านบาท นอกจากนี้ในระยะต่อไปบริษัทมีแผนวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก ที่ ชลบุรี พัทยา ช่วงไตรมาสแรกปี 2553โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 200 ล้านบาท
นอกจากนี้ทีโอทียังเตรียมวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกอีกหลายพื้นที่ อาทิ มาบตาพุด จังหวัดระยอง หัวหิน รวมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เน้นพื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และมีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล
นายนพณัฐฎ์ หุตะเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการใช้บรอดแบนด์ผ่านสายเอดีเอสแอลของภูเก็ตมี จำนวน 10-20% ของประชากรทั้งจังหวัด หรือมีประมาณ 50,000 พอร์ต ทั้งนี้ทีโอทีมีรายได้จากบริการบรอดแบนด์ในส่วนภูมิภาคประมาณ 4,000 ล้านบาท และในปีหน้าคาดว่าจะมีรายได้จากบรอดแบนด์ทั่วประเทศ 7,000ล้านบาท