บรรดาผู้ว่าการธนาคารกลางชั้นนำของโลกแถลง เมื่อวันอาทิตย์(6)ว่า สามารถตกลงกันได้ในเรื่องมาตรการหลายๆ ด้านที่จะเพิ่มความเข้มข้นของการจัดระเบียบและการกำกับตรวจสอบภาคการธนาคาร เพื่อระวังรับมือไม่ให้โลกต้องเผชิญวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรงอีก ทั้งนี้หากระเบียบใหม่เหล่านี้นำออกมาใช้ ก็หมายความว่า ธนาคารทั่วโลกจะต้องนำเอากำไรออกมาตั้งสำรองกันเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเจอกับข้อจำกัดเรื่องที่จะก่อหนี้ได้มากขนาดไหน
มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ควรที่จะ "ตัดทอนโอกาสความเป็นไปได้ ตลอดจนความร้ายแรงของความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและทางการเงิน ให้ลดน้อยลงไปอย่างสำคัญ" เป็นเนื้อความตอนหนึ่งในคำแถลงของบรรดาผู้ว่าธนาคารกลางเหล่านี้ ซึ่งรวมตัวกันเป็นองค์กรที่ใช้ชื่อว่า คณะกรรมาธิการบาเซิลว่าด้วยการกำกับตรวจสอบการธนาคาร (Basel Committee on Banking Supervision )
มาตรการต่างๆ ที่ออกมาในคราวนี้ เป็นมาตรการที่เรียกกันว่า "บาเซิล 2" ฉบับทบทวนแก้ไข (revised Basel 2) ซึ่งได้จัดทำกันเป็นขั้นสุดท้ายไปเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะกำหนดให้พวกธนาคารทั้งหลายต้องเพิ่มเงินทุน รวมทั้งแก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องต่างๆ ของกฎระเบียบกำกับตรวจสอบภาคธนาคาร ซึ่งเปิดเผยให้เห็นสืบเนื่องจากการล่มสลายของตลาดสินเชื่อและตลาดการเงินในปีที่แล้ว ทั้งนี้จากการตกลงกันในวันอาทิตย์(6) ก็จะทำให้เริ่มต้นกระบวนการที่จะนำมาตรการเหล่านี้ไปปฏิบัติ
"การตกลงกันต่างๆ ที่บรรลุในวันนี้ในระหว่าง 27 ประเทศสำคัญๆ ของโลก เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากมันเป็นการวางมาตรฐานใหม่ๆ สำหรับการจัดระเบียบและการกำกับตรวจสอบภาคการธนาคารในระดับทั่วโลก ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ฌอง-โคลด ตริเชต์ กล่าวในคำแถลง ในฐานะประธานของการประชุมคราวนี้
ขณะที่ นุต เวลลิงก์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการบาเซิลฯคนปัจจุบัน ระบุเพิ่มเติมว่า บรรดาหน่วยงานกำกับตรวจสอบภาคการเงินการธนาคารของชาติต่างๆ ก็ควรที่จะต้องดูแลให้การจ่ายเงินเดือนหรือผลตอบแทนให้แก่พวกนายแบงก์พาณิชย์ทั้งหลาย "มีความสัมพันธ์โยงใยอย่างเหมาะสมกับผลประกอบการระยะยาว และกับการตัดสินใจด้านความเสี่ยงที่สุขุมรอบคอบ"
สำหรับมาตรการต่างๆ ที่อนุมัติกันในคราวนี้ ได้แก่ การเพิ่มมาตรฐานของเงินทุน "ชั้นที่หนึ่ง" (tier one) ของพวกธนาคารพาณิชย์ ตามข้อกำหนดในเรื่องเงินลงทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยที่การเพิ่มมาตรฐานเช่นนี้ มุ่งทั้งทางด้าน "คุณภาพ, ความสม่ำเสมอ, และความโปร่งใส" ทั้งนี้ตามคำแถลงภายหลังการประชุมของคณะกรรมาธิการบาเซิล เป็นต้นว่า เงินทุนชั้นที่หนึ่งเหล่านี้จะต้องเป็นหุ้นสามัญ และมีรายรับอันสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องเปิดเผยให้ทราบกันว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
"ธนาคารต่างๆ จะถูกกำหนดให้เคลื่อนไหวอย่างฉับไวเพื่อยกระดับและคุณภาพของเงินทุนไปสู่มาตรฐานใหม่ ทว่าให้กระทำในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมสนับสนุนเสถียรภาพของระบบการธนาคารแห่งชาติ และของเศรษฐกิจในวงกว้าง" คำแถลงกล่าวต่อ
นอกจากนั้นมาตรการใหม่ๆ ที่อนุมัติในคราวนี้ยังมีเป็นต้นว่า สัดส่วนเงินทุนต่อการก่อหนี้ (leverage ratios) ซึ่งเป็นข้อจำกัดว่าธนาคารต่างๆ จะสามารถก่อหนี้ได้ไม่เกินสัดส่วนของเงินทุนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการบาเซิลจะจัดทำสัดส่วนดังกล่าวนี้ให้สอดคล้องกันในระดับระหว่างประเทศ โดยที่มีการปรับให้เหมาะสมกับระบบบัญชีที่ประเทศต่างๆ มีความแตกต่างกัน
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคราวนี้ยังได้อนุมัติหลักการว่าด้วยมาตรฐานระดับโลกขั้นต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่อง (minimum global standard for funding liquidity) ตลอดจนแผนแม่บทที่จะทำให้แบงก์ต่างๆ มีข้อผูกพันในการสร้างคลังเงินทุน "ต่อต้านวัฏจักรขาขึ้นขาลง" (countercyclical) แบบถาวรขึ้นมา
"มาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะมีข้อกำหนดด้านเงินทุนและด้านสภาพคล่องที่สูงขึ้น และด้านการก่อหนี้ลดน้อยลงในระบบการธนาคาร, มีการขึ้นต่อวัฏจักรขาขึ้นขาลงอย่างลดน้อยลงไป, ภาคการธนาคารมีความยืดหยุ่นต่อแรงเสียดทานได้เพิ่มขึ้นมาก" เวลลิงก์ระบุ
ตามคำแถลงของคณะกรรมาธิการบาเซิลฯ มาตรการต่างๆ เหล่านี้จะมีการจัดทำรายละเอียดให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นก็จะมีการทดสอบและปรับแก้รายละเอียดไปตลอดถึงสิ้นปี 2010
มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ควรที่จะ "ตัดทอนโอกาสความเป็นไปได้ ตลอดจนความร้ายแรงของความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและทางการเงิน ให้ลดน้อยลงไปอย่างสำคัญ" เป็นเนื้อความตอนหนึ่งในคำแถลงของบรรดาผู้ว่าธนาคารกลางเหล่านี้ ซึ่งรวมตัวกันเป็นองค์กรที่ใช้ชื่อว่า คณะกรรมาธิการบาเซิลว่าด้วยการกำกับตรวจสอบการธนาคาร (Basel Committee on Banking Supervision )
มาตรการต่างๆ ที่ออกมาในคราวนี้ เป็นมาตรการที่เรียกกันว่า "บาเซิล 2" ฉบับทบทวนแก้ไข (revised Basel 2) ซึ่งได้จัดทำกันเป็นขั้นสุดท้ายไปเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะกำหนดให้พวกธนาคารทั้งหลายต้องเพิ่มเงินทุน รวมทั้งแก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องต่างๆ ของกฎระเบียบกำกับตรวจสอบภาคธนาคาร ซึ่งเปิดเผยให้เห็นสืบเนื่องจากการล่มสลายของตลาดสินเชื่อและตลาดการเงินในปีที่แล้ว ทั้งนี้จากการตกลงกันในวันอาทิตย์(6) ก็จะทำให้เริ่มต้นกระบวนการที่จะนำมาตรการเหล่านี้ไปปฏิบัติ
"การตกลงกันต่างๆ ที่บรรลุในวันนี้ในระหว่าง 27 ประเทศสำคัญๆ ของโลก เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากมันเป็นการวางมาตรฐานใหม่ๆ สำหรับการจัดระเบียบและการกำกับตรวจสอบภาคการธนาคารในระดับทั่วโลก ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ฌอง-โคลด ตริเชต์ กล่าวในคำแถลง ในฐานะประธานของการประชุมคราวนี้
ขณะที่ นุต เวลลิงก์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการบาเซิลฯคนปัจจุบัน ระบุเพิ่มเติมว่า บรรดาหน่วยงานกำกับตรวจสอบภาคการเงินการธนาคารของชาติต่างๆ ก็ควรที่จะต้องดูแลให้การจ่ายเงินเดือนหรือผลตอบแทนให้แก่พวกนายแบงก์พาณิชย์ทั้งหลาย "มีความสัมพันธ์โยงใยอย่างเหมาะสมกับผลประกอบการระยะยาว และกับการตัดสินใจด้านความเสี่ยงที่สุขุมรอบคอบ"
สำหรับมาตรการต่างๆ ที่อนุมัติกันในคราวนี้ ได้แก่ การเพิ่มมาตรฐานของเงินทุน "ชั้นที่หนึ่ง" (tier one) ของพวกธนาคารพาณิชย์ ตามข้อกำหนดในเรื่องเงินลงทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยที่การเพิ่มมาตรฐานเช่นนี้ มุ่งทั้งทางด้าน "คุณภาพ, ความสม่ำเสมอ, และความโปร่งใส" ทั้งนี้ตามคำแถลงภายหลังการประชุมของคณะกรรมาธิการบาเซิล เป็นต้นว่า เงินทุนชั้นที่หนึ่งเหล่านี้จะต้องเป็นหุ้นสามัญ และมีรายรับอันสม่ำเสมอ รวมทั้งต้องเปิดเผยให้ทราบกันว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
"ธนาคารต่างๆ จะถูกกำหนดให้เคลื่อนไหวอย่างฉับไวเพื่อยกระดับและคุณภาพของเงินทุนไปสู่มาตรฐานใหม่ ทว่าให้กระทำในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมสนับสนุนเสถียรภาพของระบบการธนาคารแห่งชาติ และของเศรษฐกิจในวงกว้าง" คำแถลงกล่าวต่อ
นอกจากนั้นมาตรการใหม่ๆ ที่อนุมัติในคราวนี้ยังมีเป็นต้นว่า สัดส่วนเงินทุนต่อการก่อหนี้ (leverage ratios) ซึ่งเป็นข้อจำกัดว่าธนาคารต่างๆ จะสามารถก่อหนี้ได้ไม่เกินสัดส่วนของเงินทุนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการบาเซิลจะจัดทำสัดส่วนดังกล่าวนี้ให้สอดคล้องกันในระดับระหว่างประเทศ โดยที่มีการปรับให้เหมาะสมกับระบบบัญชีที่ประเทศต่างๆ มีความแตกต่างกัน
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคราวนี้ยังได้อนุมัติหลักการว่าด้วยมาตรฐานระดับโลกขั้นต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่อง (minimum global standard for funding liquidity) ตลอดจนแผนแม่บทที่จะทำให้แบงก์ต่างๆ มีข้อผูกพันในการสร้างคลังเงินทุน "ต่อต้านวัฏจักรขาขึ้นขาลง" (countercyclical) แบบถาวรขึ้นมา
"มาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะมีข้อกำหนดด้านเงินทุนและด้านสภาพคล่องที่สูงขึ้น และด้านการก่อหนี้ลดน้อยลงในระบบการธนาคาร, มีการขึ้นต่อวัฏจักรขาขึ้นขาลงอย่างลดน้อยลงไป, ภาคการธนาคารมีความยืดหยุ่นต่อแรงเสียดทานได้เพิ่มขึ้นมาก" เวลลิงก์ระบุ
ตามคำแถลงของคณะกรรมาธิการบาเซิลฯ มาตรการต่างๆ เหล่านี้จะมีการจัดทำรายละเอียดให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นก็จะมีการทดสอบและปรับแก้รายละเอียดไปตลอดถึงสิ้นปี 2010