บริษัทที่ปรึกษาอสังหาฯข้ามชาติ เชื่อ อสังหาฯศูนย์การค้าในไตรมาสสองเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว หลังแนวโน้มราคาค่าเช่าไม่ลดลง ผู้ประกอบการอัดแคมเปญเพิ่มขึ้น พื้นที่ว่างศูนย์การค้าชั้นดีเหลือเพียง 5%
นางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ โจนส์ แลง ลาซาลล์ กล่าวว่า กิจกรรมการพัฒนาโครงการศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ เริ่มกลับมามีให้เห็นอีกครั้งในไตรมาสสองของปีนี้ หลังจากที่ไม่มีความเคลื่อนไหวในช่วงไตรมาสแรก ทั้งนี้ แม้ยังไม่มีความแน่ชัดว่า เศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดแล้วหรือไม่ แต่การที่มีโครงการพัฒนาศูนย์การค้าใหม่และเจ้าของโครงการเริ่มชะลอการปรับลดค่าเช่า สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการเริ่มมีมุมมองเชิงบวก เกี่ยวกับแนวโน้มตลาดศูนย์การค้าของกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง ทำให้ในไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมา ผู้ประกอบการศูนย์การค้าจำเป็นต้องลดค่าเช่าพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการค้าภายในศูนย์ลงอีก โดยพื้นที่บริเวณชั้นล่างในศูนย์การค้าชั้นดีของกรุงเทพฯ มีค่าเช่าเฉลี่ยปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อยจาก 2,080 บาทต่อตารางเมตร(ตร.ม.)ต่อเดือน ณ ต้นเดือนม.ค. มาอยู่ที่ตร.ม.ละ 2,046 บาท ณ สิ้นเดือนมี.ค.
ด้านนายแดน ตันติสุนทร หัวหน้าฝ่ายวิจัย โจนส์ แลง ลาซาลล์ กล่าวว่า ตลอดกว่าสองปีที่ผ่าน อัตราค่าเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ ค่อยๆ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ในไตรมาสสองของปีนี้ พบว่า ผู้ประกอบการศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ ได้พยายามไม่ปรับลดค่าเช่าลงอีก ทั้งนี้ อาจเพราะมองว่าบรรยากาศในตลาดศูนย์การค้า เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังจากที่ศูนย์การค้าต่างๆ ได้ออกแคมเปญโปรโมชั่นออกมามาก ในขณะเดียวกันกับที่รัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคของประชาน นอกจากนี้ ในส่วนของศูนย์การค้าเอง พบว่า ยังคงมีอัตราการว่างของพื้นที่เหลือเช่าต่ำ โดยเฉพาะศูนย์การค้าชั้นดี มีพื้นที่ว่างเหลือเช่าเฉลี่ยเพียง 5% ขณะเดียวกัน ผู้ค้าบางส่วนยังคงมีการขยายธุรกิจ
ทั้งนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว Forever 21 ซึ่งเป็นแบรนด์แฟชั่นจากอเมริกาได้เข้ามาเปิดสาขาขนาดพื้นที่ 3,450 ตร.ม.ที่เซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ส่วนในช่วงต้นปีนี้ The Loft ซึ่งเป็นแบรนด์ค้าปลีกของญี่ปุ่นประกาศแผนที่จะขยายขนาดพื้นที่ร้านที่สยามดิสคัฟเวอรี เซ็นเตอร์ เป็น 3,000 ตร.ม.
ขณะที่ กลุ่มเซ็นทรัล พัฒนาประกาศว่าจะดำเนินการต่อสำหรับโครงการเซ็นทรัล พระราม 9 หลังจากโครงการไม่มีความคืบหน้ามาเป็นเวลานาน ส่วนโครงการเมกกะบางนาของสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์และ IKEA ขนาดพื้นที่ 464,000 ซึ่งไม่มีความเคลื่อนไหวมาระยะหนึ่ง ได้เริ่มมีการเข้าเคลียร์พื้นที่สำหรับการก่อสร้างแล้วในขณะนี้
นางสุพินท์ กล่าวถึงศูนย์การค้าในกลุ่มคอมมิวนิตี มอลล์ หรือเนเบอร์ฮูด มอลล์ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่สร้างขึ้นเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้อยู่อาศัยในชุมชนโดยรอบ พบว่า ยังคงมีการขยายตัว โดยในไตรมาสสองที่ผ่านมา สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ได้เปิดศูนย์การค้านวมินทร์ ซิตี อเวนิว เฟสหนึ่ง ขนาดพื้นที่ประมาณ 24,000 ตร.ม. ส่วนในช่วงที่เหลือของปีนี้ มีศูนย์การค้าในกลุ่มนี้อีกสามโครงการที่มีกำหนดจะก่อสร้างแล้วเสร็จ เช่น โครงการเค วิลเลจ ที่สุขุมวิท 26 ขนาดพื้นที่ 18,000 ตร.ม.เป็นต้น
นางสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ โจนส์ แลง ลาซาลล์ กล่าวว่า กิจกรรมการพัฒนาโครงการศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ เริ่มกลับมามีให้เห็นอีกครั้งในไตรมาสสองของปีนี้ หลังจากที่ไม่มีความเคลื่อนไหวในช่วงไตรมาสแรก ทั้งนี้ แม้ยังไม่มีความแน่ชัดว่า เศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดแล้วหรือไม่ แต่การที่มีโครงการพัฒนาศูนย์การค้าใหม่และเจ้าของโครงการเริ่มชะลอการปรับลดค่าเช่า สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการเริ่มมีมุมมองเชิงบวก เกี่ยวกับแนวโน้มตลาดศูนย์การค้าของกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง ทำให้ในไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมา ผู้ประกอบการศูนย์การค้าจำเป็นต้องลดค่าเช่าพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการค้าภายในศูนย์ลงอีก โดยพื้นที่บริเวณชั้นล่างในศูนย์การค้าชั้นดีของกรุงเทพฯ มีค่าเช่าเฉลี่ยปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อยจาก 2,080 บาทต่อตารางเมตร(ตร.ม.)ต่อเดือน ณ ต้นเดือนม.ค. มาอยู่ที่ตร.ม.ละ 2,046 บาท ณ สิ้นเดือนมี.ค.
ด้านนายแดน ตันติสุนทร หัวหน้าฝ่ายวิจัย โจนส์ แลง ลาซาลล์ กล่าวว่า ตลอดกว่าสองปีที่ผ่าน อัตราค่าเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ ค่อยๆ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ในไตรมาสสองของปีนี้ พบว่า ผู้ประกอบการศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ ได้พยายามไม่ปรับลดค่าเช่าลงอีก ทั้งนี้ อาจเพราะมองว่าบรรยากาศในตลาดศูนย์การค้า เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังจากที่ศูนย์การค้าต่างๆ ได้ออกแคมเปญโปรโมชั่นออกมามาก ในขณะเดียวกันกับที่รัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคของประชาน นอกจากนี้ ในส่วนของศูนย์การค้าเอง พบว่า ยังคงมีอัตราการว่างของพื้นที่เหลือเช่าต่ำ โดยเฉพาะศูนย์การค้าชั้นดี มีพื้นที่ว่างเหลือเช่าเฉลี่ยเพียง 5% ขณะเดียวกัน ผู้ค้าบางส่วนยังคงมีการขยายธุรกิจ
ทั้งนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว Forever 21 ซึ่งเป็นแบรนด์แฟชั่นจากอเมริกาได้เข้ามาเปิดสาขาขนาดพื้นที่ 3,450 ตร.ม.ที่เซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ส่วนในช่วงต้นปีนี้ The Loft ซึ่งเป็นแบรนด์ค้าปลีกของญี่ปุ่นประกาศแผนที่จะขยายขนาดพื้นที่ร้านที่สยามดิสคัฟเวอรี เซ็นเตอร์ เป็น 3,000 ตร.ม.
ขณะที่ กลุ่มเซ็นทรัล พัฒนาประกาศว่าจะดำเนินการต่อสำหรับโครงการเซ็นทรัล พระราม 9 หลังจากโครงการไม่มีความคืบหน้ามาเป็นเวลานาน ส่วนโครงการเมกกะบางนาของสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์และ IKEA ขนาดพื้นที่ 464,000 ซึ่งไม่มีความเคลื่อนไหวมาระยะหนึ่ง ได้เริ่มมีการเข้าเคลียร์พื้นที่สำหรับการก่อสร้างแล้วในขณะนี้
นางสุพินท์ กล่าวถึงศูนย์การค้าในกลุ่มคอมมิวนิตี มอลล์ หรือเนเบอร์ฮูด มอลล์ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่สร้างขึ้นเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้อยู่อาศัยในชุมชนโดยรอบ พบว่า ยังคงมีการขยายตัว โดยในไตรมาสสองที่ผ่านมา สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ได้เปิดศูนย์การค้านวมินทร์ ซิตี อเวนิว เฟสหนึ่ง ขนาดพื้นที่ประมาณ 24,000 ตร.ม. ส่วนในช่วงที่เหลือของปีนี้ มีศูนย์การค้าในกลุ่มนี้อีกสามโครงการที่มีกำหนดจะก่อสร้างแล้วเสร็จ เช่น โครงการเค วิลเลจ ที่สุขุมวิท 26 ขนาดพื้นที่ 18,000 ตร.ม.เป็นต้น