สคบ. ระบุร้องเรียนเรื่องคอนโดฯ ติดอันดับ 5 ใน 10 ร้องเรียนสูงสุด เกือบ 300 ราย ต้องเรียกผู้บริโภค-ผู้ประกอบการไกล่เกลี่ยทุกวัน แนะตรวจสอบโครงการจนมั่นใจแล้วค่อยซื้อ อย่าเชื่อโฆษณา ทางที่ดีซื้อคอนโดฯสร้างเสร็จ ด้านสมาคมอาคารชุดรับควบคุมผู้ประกอบการไม่ได้ เตือนคนซื้อเช็กโครงการมีแบงก์ปล่อยกู้หรือยัง
เป็นข่าวโด่งดังเมื่อดาราสาวชื่อดัง “พอลล่า เทเลอร์” ฟ้องร้องเจ้าของโครงการคอนโดมิเนียมหรู “เดอะ คาริสม่า” สุขุมวิท ของบริษัท อินสไตล์ เอสเตท เอกมัย จำกัด เป็นจำเลยเรื่องผิดสัญญา เรียกค่าเสียหายจำนวนทุนทรัพย์ 2,584,484 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ใช่เฉพาะ พอลล่า เทเลอร์ เท่านั้น แต่ที่ผ่านมามีคดีเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจไม่ดี คือ วางเงินดาวน์ซื้อคอนโดมิเนียมแล้ว ผู้ประกอบการกลับไม่ก่อสร้างตามกำหนด หรือ สเปคไม่ตรงตามที่โฆษณาเอาไว้
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า ในปัจจุบันมีผู้บริโภคร้องเรียนปัญหาการซื้อห้องชุดในโครงการคอนโดมิเนียมประมาณ 200-300 ราย เป็นอันดับ 5 จาก 10 อันดับร้องเรียนสูงสุด โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อโครงการเก่าเมื่อหลายปีมาแล้ว และไม่ความคืบหน้าในการก่อสร้าง โดยซื้อจากการดูโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่ง สคบ.ได้เจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการทุกวัน และได้รับเงินดาวน์คืนไปส่วนมากแล้ว แต่บางรายที่เจรจาไกล่เกลี่ยไม่ได้ก็เข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องต่อไป
“ผู้บริโภคควรตรวจสอบโครงการที่จะซื้อให้ดี ไม่ใช่ดูจากโฆษณาเพียงอย่างเดียว ต้องดูให้ลึกทั้งตัวผู้ประกอบการมีประวัติเป็นอย่างไร เคยถูกร้องเรียนหรือไม่ ใครเป็นเจ้าของ โครงการติดจำนองที่ไหนหรือไม่ มีการแอบอ้างว่าใกล้ทางด่วนหรือรถไฟฟ้าหรือเปล่า ไปดูโครงการถึงที่ มีการก่อสร้างหรือยังได้ใบอนุญาตหรือไม่ อย่ารีบร้อนตัดสินใจซื้อ เพราะบ้านไม่ใช่ราคาถูกๆ ที่ผ่านมาสคบ.ได้พยายามเตือนผู้บริโภคมาตลอด”
**เตือนนักลงทุนหน้าใหม่
**อสังหาฯไม่หมูอย่างที่คิด
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การที่ประเทศไทยเปิดกว้างการเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตในการทำธุรกิจเช่นในต่างประเทศ ทำให้มีนักลงทุนจากธุรกิจอื่นๆ เข้ามาลงทุนในตลาดนี้จำนวนมากในช่วงที่เศรษฐกิจดีๆ เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนเหล่านี้มักขาดความเข้าใจที่ถ่องแท้และความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจอสังหาฯ
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดมิเนียมจะต้องตรวจสอบโครงการ และตัวผู้ประกอบการให้ดี ว่าโครงการที่จะซื้อได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ผ่านสวล.แล้วหรือยัง มีสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการหรือไม่ เมื่อตัดสินใจซื้อแล้วควรติดตามความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง ทุกคนต้องรักษาสิทธิของตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาสมาคมอาคารชุดไทยพยายามให้ข้อมูลเหล่านี้แก่ผู้ซื้อมาตลอด เพื่อให้ผู้ซื้อเลือกซื้อกับผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ เพราะสมาคมฯไม่สามารถไปควบคุมผู้ประกอบการได้
“จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของลูกค้าที่ซื้อใน 1 โครงการเป็นผู้ที่เคยซื้อคอนโดฯมาแล้ว ซึ่งคนที่เคยซื้อจะรู้ว่าควรเลือกโครงการอย่างไร และเชื่อว่ากลุ่มนี้ไม่กลัวที่จะซื้ออีก ส่วนคนที่ไม่เคยซื้ออาจมีความกังวลบ้าง และเชื่อว่าจะไม่ทำให้ผู้ซื้อเลิกซื้อโครงการของผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย ก็เหมือนซื้อน้ำส้มคั้นข้างทาง เราไม่มีทางรู้ว่าร้านนี้สะอาดหรือไม่ นอกจากเป็นลูกค้าประจำหรือคนที่เคยซื้อรับประทานมาก่อน” นายอธิป กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้มีเจตนาไม่ก่อสร้างโครงการ แต่อาจเกิดจากการคิดการตลาดเชิงบวกมากเกินไป คิดว่าจะขายได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ และนำเงินเหล่านั้นไปจ่ายค่าก่อสร้าง แต่ในความเป็นจริงตลาดมีความผันผวนมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เศรษฐกิจและการเมืองไทยมาส่งผลกระทบ ทำให้ยอดขายชะลอตัวไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ กอปรกับสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หากโครงการมียอดพรีเซลส์ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ (ธนาคารแต่ละแห่งจะกำหนดยอดพรีเซลส์แต่ละโครงการไม่เท่ากันประมาณ 40-80% ของจำนวนยูนิตทั้งหมด) จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ส่งผลให้โครงการขาดกระแสเงินทุนหมุนเวียน บางรายติดปัญหาไม่ผ่านการขออนุญาตสิ่งแวดล้อม (สวล.) ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ สุดท้ายปัญหาตกอยู่ที่ผู้ซื้อไม่ได้บ้าน
เป็นข่าวโด่งดังเมื่อดาราสาวชื่อดัง “พอลล่า เทเลอร์” ฟ้องร้องเจ้าของโครงการคอนโดมิเนียมหรู “เดอะ คาริสม่า” สุขุมวิท ของบริษัท อินสไตล์ เอสเตท เอกมัย จำกัด เป็นจำเลยเรื่องผิดสัญญา เรียกค่าเสียหายจำนวนทุนทรัพย์ 2,584,484 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ใช่เฉพาะ พอลล่า เทเลอร์ เท่านั้น แต่ที่ผ่านมามีคดีเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจไม่ดี คือ วางเงินดาวน์ซื้อคอนโดมิเนียมแล้ว ผู้ประกอบการกลับไม่ก่อสร้างตามกำหนด หรือ สเปคไม่ตรงตามที่โฆษณาเอาไว้
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า ในปัจจุบันมีผู้บริโภคร้องเรียนปัญหาการซื้อห้องชุดในโครงการคอนโดมิเนียมประมาณ 200-300 ราย เป็นอันดับ 5 จาก 10 อันดับร้องเรียนสูงสุด โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อโครงการเก่าเมื่อหลายปีมาแล้ว และไม่ความคืบหน้าในการก่อสร้าง โดยซื้อจากการดูโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่ง สคบ.ได้เจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการทุกวัน และได้รับเงินดาวน์คืนไปส่วนมากแล้ว แต่บางรายที่เจรจาไกล่เกลี่ยไม่ได้ก็เข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องต่อไป
“ผู้บริโภคควรตรวจสอบโครงการที่จะซื้อให้ดี ไม่ใช่ดูจากโฆษณาเพียงอย่างเดียว ต้องดูให้ลึกทั้งตัวผู้ประกอบการมีประวัติเป็นอย่างไร เคยถูกร้องเรียนหรือไม่ ใครเป็นเจ้าของ โครงการติดจำนองที่ไหนหรือไม่ มีการแอบอ้างว่าใกล้ทางด่วนหรือรถไฟฟ้าหรือเปล่า ไปดูโครงการถึงที่ มีการก่อสร้างหรือยังได้ใบอนุญาตหรือไม่ อย่ารีบร้อนตัดสินใจซื้อ เพราะบ้านไม่ใช่ราคาถูกๆ ที่ผ่านมาสคบ.ได้พยายามเตือนผู้บริโภคมาตลอด”
**เตือนนักลงทุนหน้าใหม่
**อสังหาฯไม่หมูอย่างที่คิด
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การที่ประเทศไทยเปิดกว้างการเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตในการทำธุรกิจเช่นในต่างประเทศ ทำให้มีนักลงทุนจากธุรกิจอื่นๆ เข้ามาลงทุนในตลาดนี้จำนวนมากในช่วงที่เศรษฐกิจดีๆ เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนเหล่านี้มักขาดความเข้าใจที่ถ่องแท้และความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจอสังหาฯ
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดมิเนียมจะต้องตรวจสอบโครงการ และตัวผู้ประกอบการให้ดี ว่าโครงการที่จะซื้อได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ผ่านสวล.แล้วหรือยัง มีสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการหรือไม่ เมื่อตัดสินใจซื้อแล้วควรติดตามความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง ทุกคนต้องรักษาสิทธิของตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาสมาคมอาคารชุดไทยพยายามให้ข้อมูลเหล่านี้แก่ผู้ซื้อมาตลอด เพื่อให้ผู้ซื้อเลือกซื้อกับผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ เพราะสมาคมฯไม่สามารถไปควบคุมผู้ประกอบการได้
“จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของลูกค้าที่ซื้อใน 1 โครงการเป็นผู้ที่เคยซื้อคอนโดฯมาแล้ว ซึ่งคนที่เคยซื้อจะรู้ว่าควรเลือกโครงการอย่างไร และเชื่อว่ากลุ่มนี้ไม่กลัวที่จะซื้ออีก ส่วนคนที่ไม่เคยซื้ออาจมีความกังวลบ้าง และเชื่อว่าจะไม่ทำให้ผู้ซื้อเลิกซื้อโครงการของผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย ก็เหมือนซื้อน้ำส้มคั้นข้างทาง เราไม่มีทางรู้ว่าร้านนี้สะอาดหรือไม่ นอกจากเป็นลูกค้าประจำหรือคนที่เคยซื้อรับประทานมาก่อน” นายอธิป กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้มีเจตนาไม่ก่อสร้างโครงการ แต่อาจเกิดจากการคิดการตลาดเชิงบวกมากเกินไป คิดว่าจะขายได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ และนำเงินเหล่านั้นไปจ่ายค่าก่อสร้าง แต่ในความเป็นจริงตลาดมีความผันผวนมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เศรษฐกิจและการเมืองไทยมาส่งผลกระทบ ทำให้ยอดขายชะลอตัวไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ กอปรกับสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หากโครงการมียอดพรีเซลส์ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ (ธนาคารแต่ละแห่งจะกำหนดยอดพรีเซลส์แต่ละโครงการไม่เท่ากันประมาณ 40-80% ของจำนวนยูนิตทั้งหมด) จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ส่งผลให้โครงการขาดกระแสเงินทุนหมุนเวียน บางรายติดปัญหาไม่ผ่านการขออนุญาตสิ่งแวดล้อม (สวล.) ไม่สามารถพัฒนาโครงการได้ สุดท้ายปัญหาตกอยู่ที่ผู้ซื้อไม่ได้บ้าน