กองทุนส่วนบุคคลยังนิ่ง แม้สัญญาณเศรษฐกิจกระเตื้อง "เอ็มเอฟซี" ระบุ นักลงทุนห่วงจุดจบเศรษฐกิจตกต่ำอีกยาว แม้ดาวน์ไซด์มีน้อยแล้ว แนะเงินยาว 2 ปี จับจังหวะลงทุนได้ แต่ยังต้องระมัดระวังด้วย ด้าน "ทิสโก้" เผย แนวโน้มดีขึ้น ลูกค้าไม่หยุดลงทุนแต่อย่างใด เหตุส่วนใหญ่ เข้าใจความเสี่ยงดี
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ในขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณการกลับเข้ามาลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) เพิ่มขึ้นหรือมีอะไรที่ผิดไปกว่าเดิม แม้ว่าสัญญาณการลงทุนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศจะดีขึ้นในระดับหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก
ทั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนเองยังระมัดระวังการลงทุนอยู่ และถึงแม้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะเชื่อว่าดาวน์ไซด์ไม่น่าจะมีมาก เพราะดัชนีเองก็ลงมาเยอะ แต่คนก็ยังไม่แน่ใจว่าผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกจะเยอะแค่ไหน
"ตอนนี้ นักลงทุนหลายคนมีการคาดการณ์ไปต่างๆ นาๆ ว่าต้องใช้เวลายาวนานเท่าไหร่ที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น 2 ปี หรือ 3 ปี บางคนก็เปรียบเทียบไซเคิลจากเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา ทำให้ขณะนี้หลายคนยังกลัวการลงทุนอยู่"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากมองถึงการลงทุนระยะยาวแล้ว จังหวะนี้ถือว่าเป็นจังหวะที่ลงทุนได้ โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเงินลงทุนยาว 2 ปีขึ้นไปซึ่งสามารถรอได้ เพราะเชื่อว่าปัจจุบัน คนไทยยังมีความมั่งคั่ง ยังมีเงินลงทุนอยู่ แต่มองไปข้างหน้าถึงรายได้และที่มาของเงินในอนาคตแล้ว อาจจะค่อนข้างลำบากและมีความไม่แน่นอน ทำให้หลายคนยังเก็บเงินลงทุนเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับแผนของบลจ.เอ็มเอฟซีเอง จะเน้นให้ความรู้และความเข้าใจกับนักลงทุนเป็นหลัก เพื่อให้เข้าใจว่าการลงทุนเองยังต้องใช้ความระมัดระวังอยู่ รวมถึงต้องลงทุนอย่างรอบคอบด้วย
ด้านนายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลมีเข้ามาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ลงทุนในกองทุสว่นบุคคลส่วนใหญ่ เป็นนักลงทุนรายใหญ่ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและรับความเสี่ยงได้อยู่แล้ว ซึ่งเราเอง ก็ได้มีการพูดคุยกับลูกค้าเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาความไม่เข้าใจกัน ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้เองค่อนข้างไว เพราะถ้าหุ้นตกจะรอดูสถานการณ์ก่อนและเริ่มลงทุน
สำหรับสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน ก็มีทั้งการลงทุนตั้งแต่ตราสารหนี้ หรือบางกลุ่มก็สามารถรับความเสี่ยงหุ้นกู้ได้และลงทุนได้ทันที และบางส่วนก็มีการลงทุนในหุ้น รวมถึงลงทุนแบบสผมด้วย
"ถึงแม้ว่านักลงทุนจะไม่ให้น้ำหนักการลงทุนเต็ม 100% เพราะหลายอย่างยังไม่ชัดเจน แต่นักลงทุนก็ไม่ได้หยุดไปซะเลยทีเดียว เพราะทุกอย่างก็ดีขึ้นกว่าเดิมและเริ่มเห็นแสงสว่างบ้างแล้วจากมาตรการกระตุ้นเศรฐกิจของประเทศทั่วโลก ซึ่งนักลงทุนรายใหญ่เองที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ต ก็คงไม่ขายหุ้นออกมา เพราะเขาเองคงเสียดาย ซึ่งเขาเองรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น "นายธรีนาถกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ถือว่าเป็นจังหวะดีที่จะทยอยซื้อหุ้นเก็บสะสมเอาไว้ เพราะปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเองให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยถึง 5-6% ซึ่งเทียบกับผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวแล้ว ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.5% ไม่ถึง 4% ทำให้นักลงทุนมองว่า การลงทุนในหุ้นยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอยู่
นางสาวศรีเนตร ฤทธิรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บลจ. พรีมาเวสท์ กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทจะเน้นทำการตลาดในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) มากขึ้น โดยมีเป้าหมายอยู่ 2 ส่วนคือ การเพิ่มตัวแทนขายจากฐานเดิมที่มีอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ยังมีแผนเพิ่ม IP อิสระ (Investment Planner) อีกประมาณ 3-5 ราย เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ให้มากขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งในส่วนนี้ ได้เริมต้นไปบ้างแล้วในเดือนนี้
ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลเอง มีโพรดักส์บางตัวที่น่าสนใจ และไม่มีความซับซ้อนอย่างกองทุนรวมทั่วไป ดังนั้น จึงเชื่อว่าในปีนี้ กองทุนส่วนบุคคลจะขยายตัวได้เช่นกัน
โดยปัจจุบัน บลจ.พรีมาเวสท์ มีสินทรัพย์ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลอยู่ที่ 289.11 ล้านบาท จากจำนวนกองทุนทั้งหมด 3 กองทุน ส่วนตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบในเดือนมกราคม 2552 พบว่า ทั้งอุตสาหกรรมมีเงินลงทุนลดลงรวมกันทั้งสิ้น 21,582.15 ล้านบาท ทำให้เดือนแรกของปี กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีสินทรัพย์รวม 146,694.81 ล้านบาท ลดลงจากจำนวนเงินทั้งระบบ 168,276.96 ล้านบาทในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบในเดือนมกราคม 2552 ว่า ทั้งอุตสาหกรรมมีเงินลงทุนลดลงรวมกันทั้งสิ้น 21,582.15 ล้านบาท ทำให้เดือนแรกของปี กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีสินทรัพย์รวม 146,694.81 ล้านบาท ลดลงจากจำนวนเงินทั้งระบบ 168,276.96 ล้านบาทในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา
โดยจากรายงานดังกล่าวพบว่า บริษัทจัดการที่อยู่ในอันดับต้นๆ 5 อันดับแรก ต่างมีสินทรัพย์ลดลงทั้งสิ้น โดยบลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 มีสินทรัพย์ลดลงถึง 5,272.42 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ.วรรณ มีสินทรัพย์ลดลง 5,058.43 ล้านบาท อันดับ 3.. บลจ.เอ็มเอฟซี สินทรัพย์ลดลงรวมทั้งสิ้น 5,059.43 ล้านบาท อันดับ 4. บลจ.ทิสโก้ สินทรัพย์ลดลง 4,553.70 ล้านบาท และอันดับ 5.บลจ.ไอเอ็นจี มีสินทรัพย์ลดลงรวมกันกว่า 579.77 ล้านบาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ในขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณการกลับเข้ามาลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) เพิ่มขึ้นหรือมีอะไรที่ผิดไปกว่าเดิม แม้ว่าสัญญาณการลงทุนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศจะดีขึ้นในระดับหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก
ทั้งนี้ เนื่องจากนักลงทุนเองยังระมัดระวังการลงทุนอยู่ และถึงแม้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะเชื่อว่าดาวน์ไซด์ไม่น่าจะมีมาก เพราะดัชนีเองก็ลงมาเยอะ แต่คนก็ยังไม่แน่ใจว่าผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกจะเยอะแค่ไหน
"ตอนนี้ นักลงทุนหลายคนมีการคาดการณ์ไปต่างๆ นาๆ ว่าต้องใช้เวลายาวนานเท่าไหร่ที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น 2 ปี หรือ 3 ปี บางคนก็เปรียบเทียบไซเคิลจากเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา ทำให้ขณะนี้หลายคนยังกลัวการลงทุนอยู่"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากมองถึงการลงทุนระยะยาวแล้ว จังหวะนี้ถือว่าเป็นจังหวะที่ลงทุนได้ โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเงินลงทุนยาว 2 ปีขึ้นไปซึ่งสามารถรอได้ เพราะเชื่อว่าปัจจุบัน คนไทยยังมีความมั่งคั่ง ยังมีเงินลงทุนอยู่ แต่มองไปข้างหน้าถึงรายได้และที่มาของเงินในอนาคตแล้ว อาจจะค่อนข้างลำบากและมีความไม่แน่นอน ทำให้หลายคนยังเก็บเงินลงทุนเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับแผนของบลจ.เอ็มเอฟซีเอง จะเน้นให้ความรู้และความเข้าใจกับนักลงทุนเป็นหลัก เพื่อให้เข้าใจว่าการลงทุนเองยังต้องใช้ความระมัดระวังอยู่ รวมถึงต้องลงทุนอย่างรอบคอบด้วย
ด้านนายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลมีเข้ามาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ลงทุนในกองทุสว่นบุคคลส่วนใหญ่ เป็นนักลงทุนรายใหญ่ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและรับความเสี่ยงได้อยู่แล้ว ซึ่งเราเอง ก็ได้มีการพูดคุยกับลูกค้าเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาความไม่เข้าใจกัน ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้เองค่อนข้างไว เพราะถ้าหุ้นตกจะรอดูสถานการณ์ก่อนและเริ่มลงทุน
สำหรับสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน ก็มีทั้งการลงทุนตั้งแต่ตราสารหนี้ หรือบางกลุ่มก็สามารถรับความเสี่ยงหุ้นกู้ได้และลงทุนได้ทันที และบางส่วนก็มีการลงทุนในหุ้น รวมถึงลงทุนแบบสผมด้วย
"ถึงแม้ว่านักลงทุนจะไม่ให้น้ำหนักการลงทุนเต็ม 100% เพราะหลายอย่างยังไม่ชัดเจน แต่นักลงทุนก็ไม่ได้หยุดไปซะเลยทีเดียว เพราะทุกอย่างก็ดีขึ้นกว่าเดิมและเริ่มเห็นแสงสว่างบ้างแล้วจากมาตรการกระตุ้นเศรฐกิจของประเทศทั่วโลก ซึ่งนักลงทุนรายใหญ่เองที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ต ก็คงไม่ขายหุ้นออกมา เพราะเขาเองคงเสียดาย ซึ่งเขาเองรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น "นายธรีนาถกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ถือว่าเป็นจังหวะดีที่จะทยอยซื้อหุ้นเก็บสะสมเอาไว้ เพราะปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเองให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยถึง 5-6% ซึ่งเทียบกับผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวแล้ว ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.5% ไม่ถึง 4% ทำให้นักลงทุนมองว่า การลงทุนในหุ้นยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอยู่
นางสาวศรีเนตร ฤทธิรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บลจ. พรีมาเวสท์ กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทจะเน้นทำการตลาดในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) มากขึ้น โดยมีเป้าหมายอยู่ 2 ส่วนคือ การเพิ่มตัวแทนขายจากฐานเดิมที่มีอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ยังมีแผนเพิ่ม IP อิสระ (Investment Planner) อีกประมาณ 3-5 ราย เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ให้มากขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งในส่วนนี้ ได้เริมต้นไปบ้างแล้วในเดือนนี้
ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลเอง มีโพรดักส์บางตัวที่น่าสนใจ และไม่มีความซับซ้อนอย่างกองทุนรวมทั่วไป ดังนั้น จึงเชื่อว่าในปีนี้ กองทุนส่วนบุคคลจะขยายตัวได้เช่นกัน
โดยปัจจุบัน บลจ.พรีมาเวสท์ มีสินทรัพย์ในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลอยู่ที่ 289.11 ล้านบาท จากจำนวนกองทุนทั้งหมด 3 กองทุน ส่วนตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบในเดือนมกราคม 2552 พบว่า ทั้งอุตสาหกรรมมีเงินลงทุนลดลงรวมกันทั้งสิ้น 21,582.15 ล้านบาท ทำให้เดือนแรกของปี กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีสินทรัพย์รวม 146,694.81 ล้านบาท ลดลงจากจำนวนเงินทั้งระบบ 168,276.96 ล้านบาทในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบในเดือนมกราคม 2552 ว่า ทั้งอุตสาหกรรมมีเงินลงทุนลดลงรวมกันทั้งสิ้น 21,582.15 ล้านบาท ทำให้เดือนแรกของปี กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีสินทรัพย์รวม 146,694.81 ล้านบาท ลดลงจากจำนวนเงินทั้งระบบ 168,276.96 ล้านบาทในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา
โดยจากรายงานดังกล่าวพบว่า บริษัทจัดการที่อยู่ในอันดับต้นๆ 5 อันดับแรก ต่างมีสินทรัพย์ลดลงทั้งสิ้น โดยบลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 มีสินทรัพย์ลดลงถึง 5,272.42 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ.วรรณ มีสินทรัพย์ลดลง 5,058.43 ล้านบาท อันดับ 3.. บลจ.เอ็มเอฟซี สินทรัพย์ลดลงรวมทั้งสิ้น 5,059.43 ล้านบาท อันดับ 4. บลจ.ทิสโก้ สินทรัพย์ลดลง 4,553.70 ล้านบาท และอันดับ 5.บลจ.ไอเอ็นจี มีสินทรัพย์ลดลงรวมกันกว่า 579.77 ล้านบาท