ธนาคารโลก ชมมาตรการกระตุ้น ศก.ไทย ตรงจุด-ทันเวลา เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แนะเข็นมาตรการระยะกลาง ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างความพร้อมในการแข่งขันของประเทศ พร้อมตอกย้ำความเชื่อมั่น “จีดีพี” ยังโตได้ 2% แน่นอน ระบุ ครึ่งปีแรกอาจย่ำแย่ เพราะโดนผลกระทบต่างประเทศเต็มๆ แต่มีสินค้าเกษตรช่วยไว้ ส่วนการจ่ายตรง 2 พันใส่ระบบ ช่วยคนรายได้น้อย เชื่อจะไม่สูญเปล่า เป็นผลดีเชิงจิตวิทยา
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาในขณะนี้ ถือว่า มีความเหมาะสมและทันเวลา ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบทางลบจากปัจจัยเศรษฐกิจในต่างประเทศได้ ซึ่งมาตรการที่ออกมาส่วนใหญ่เป็นมาตรการระยะสั้น พร้อมแนะนำว่า รัฐบาลจะต้องมีการออกมาตรการระยะปานกลาง ที่เน้นการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันให้กับประเทศไทย ในการกลับเข้าไปแข่งขันในเวทีโลก หลังเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ หากผลกระทบจากเศรษฐกิจทั่วโลกทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน และไม่มีความรุนแรงมากขึ้นก็เป็นไปได้ที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล จะช่วยให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โตได้ที่อัตราร้อยละ 2 ขณะเดียวกัน ธนาคารโลก ก็ยังคงการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ไว้ที่ระดับร้อยละ 2 ตามเดิม
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ จะขยายตัวแย่ลง แต่จะเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบปีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยจากต่างประเทศ แต่มองว่า ราคาสินค้าเกษตรจะยังคงพยุงการขยายตัวของเศรษฐกิจไว้ได้ แม้ราคาจะลดต่ำลง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ดี
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยังกล่าวถึงมาตรการของรัฐบาลที่ให้เงินช่วยเหลือ 2,000 บาทแก่ประชาชน ผู้ที่มีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท โดยมองว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่สูญเปล่า เพราะจำนวนเงิน 2,000 บาท ถือว่ามีมูลค่ามาก ในการช่วยเหลือรายจ่ายของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และจะเป็นการสร้างกำลังใจให้แก่ประชาชน ซึ่งจะเป็นผลดีในด้านเชิงจิตวิทยา ทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่มีผลมากนักต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และการปล่อยสินเชื่อ แต่อย่างน้อยก็เป็นการช่วยลดต้นทุนจากผู้ประกอบการได้
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาในขณะนี้ ถือว่า มีความเหมาะสมและทันเวลา ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบทางลบจากปัจจัยเศรษฐกิจในต่างประเทศได้ ซึ่งมาตรการที่ออกมาส่วนใหญ่เป็นมาตรการระยะสั้น พร้อมแนะนำว่า รัฐบาลจะต้องมีการออกมาตรการระยะปานกลาง ที่เน้นการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันให้กับประเทศไทย ในการกลับเข้าไปแข่งขันในเวทีโลก หลังเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ หากผลกระทบจากเศรษฐกิจทั่วโลกทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน และไม่มีความรุนแรงมากขึ้นก็เป็นไปได้ที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล จะช่วยให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โตได้ที่อัตราร้อยละ 2 ขณะเดียวกัน ธนาคารโลก ก็ยังคงการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ไว้ที่ระดับร้อยละ 2 ตามเดิม
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ จะขยายตัวแย่ลง แต่จะเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบปีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยจากต่างประเทศ แต่มองว่า ราคาสินค้าเกษตรจะยังคงพยุงการขยายตัวของเศรษฐกิจไว้ได้ แม้ราคาจะลดต่ำลง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ดี
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยังกล่าวถึงมาตรการของรัฐบาลที่ให้เงินช่วยเหลือ 2,000 บาทแก่ประชาชน ผู้ที่มีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท โดยมองว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่สูญเปล่า เพราะจำนวนเงิน 2,000 บาท ถือว่ามีมูลค่ามาก ในการช่วยเหลือรายจ่ายของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และจะเป็นการสร้างกำลังใจให้แก่ประชาชน ซึ่งจะเป็นผลดีในด้านเชิงจิตวิทยา ทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้
ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่มีผลมากนักต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และการปล่อยสินเชื่อ แต่อย่างน้อยก็เป็นการช่วยลดต้นทุนจากผู้ประกอบการได้