บอร์ดแบงก์ทหารไทยไฟเขียวแผนธุรกิจ 3 ปี ตั้งเป้าหมายเพิ่มมาร์เก็ตแชร์สินเชื่อและเงินฝากให้อยู่ในระดับที่แข่งกับแบงก์อื่นได้ ส่วนการล้างขาดทุนสะสมรอทำในจังหวะที่เหมาะสม เชื่อขายหนี้เน่ากว่า 30,000 ล้านบาทได้ตามแผน ล่าสุดเปิดตัว TMB M-Banking: ธนาคารส่วนตัวบนโทรศัพท์มือถือ นวัตกรรมทางการเงินแบบไร้สายด้วยจุดเด่น ที่สามารถใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย เพื่อตอบสนองทุก Lifestyle ของคนรุ่นใหม่
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร(บอร์ด) ได้เห็นชอบแผนธุรกิจ 3 ปีของธนาคารเรียบร้อยแล้ว โดยในแผนดังกล่าวนั้น ธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ในด้านของสินเชื่อเพิ่มเป็น 11% จากปัจจุบันอยู่ที่ 9% ส่วนเงินฝากตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 14% จากปัจจุบัน 7-9% โดยมาร์เก็ตแชร์ที่ตั้งเป้าหมายไว้นั้นถือเป็นระดับที่สามารถแข่งขันกับธนาคารแห่งอื่นได้ และสามารถที่จะลงทุนต่อยอดไปยังธุรกิจอื่นได้
ทั้งนี้ ธนาคารยังตั้งเป้าหมายในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจรายย่อยเป็น 40% จากปัจจุบันที่อยู่ 30% และตั้งเป้าหมายเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมเป็น 35% จากปัจจุบันที่อยู่ 30% โดยธนาคารจะใช้วิธีให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางและมีการพัฒนาการบริการต่างๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น
สำหรับด้านเงินทุนของธนาคารนั้นปัจจุบันธนาคารยังมีเงินทุนแข็งแกร่ง โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) 12% จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนภายใน 3 ปีนี้ เนื่องจากธนาคารยังมีเงินทุนอยู่มากจากการเพิ่มทุนในช่วงปลายปีก่อนหลังจากที่ไอเอ็นจีเข้ามาถือหุ้น ส่วนแผนการล้างขาดทุนสะสมธนาคารจะทำในเวลาที่เหมาะสม
นายบุญทักษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนที่จะขายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จำนวน 20,000 ล้านบาท และสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) อีกกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการขายหนี้ดังกล่าวจะเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้โดยจะแล้วเสร็จในปีนี้ และหากการขายดังกล่าวเป็นไปตามคาดจะทำให้เอ็นพีแอลในสิ้นปีนี้ลดลงเหลือสุทธิ 7% และเอ็นพีแอลก่อนหักสำรอง 9% จากปัจจุบันที่อยู่ 14%
สำหรับกรณีของการที่บริษัทมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยู่ถึง 2 แห่ง คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจีและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทหารไทยนั้น ธนาคารยังไม่ได้สรุปว่าจะให้มีการควบรวมกันหรือไม่ โดยปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการอยู่ทั้ง 2 แห่ง ซึ่งจะทำให้ธนาคารทหารไทยเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ขายผลิตภัณฑ์ของ 2 บลจ. และสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย นอกจากนี้ธนาคารมีแผนที่จะซื้อบริษัทหลักทรัพย์ แต่ในเบื้องต้นจะต้องรอดูภาวะตลาดจึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด
ล่าสุดธนาคารได้เปิดตัวรูปแบบและช่องทางในการให้บริการทางการเงินในระบบเทคโนโลยีไร้สาย ใหม่ล่าสุด "TMB M-Banking" บริการที่ลูกค้าสามารถทำรายการทางการเงินในบัญชีธนาคารของตนเอง บนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนับเป็นการพัฒนาระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) ที่สอดคล้องและเข้าถึงการใช้ชีวิตของลูกค้าเป็นอย่างดี โดยลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบริการ TMB M-Banking ในการสอบถามยอดเงินคงเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเรียกดูรายการเดินบัญชี (Statement) ย้อนหลังได้สูงสุดถึง 9 เดือน นอกจากนี้ TMB M-Banking ยังให้บริการโอนเงินระหว่างบัญชี และบริการโอนเงินต่างธนาคารแบบ Real-Time พร้อมฟรีส่งข้อความ SMS แจ้งไปยังผู้รับเงินทันที ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้า TMB M-Bankingยังสามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อีกมากมาย เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์มือถือ
"ตั้งเป้าหมายว่าในเบื้องต้นจะมีลูกค้ามาใช้บริการ 50,000-100,000 ราย โดยการทำธุรกรรมผ่านบริการนี้ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าไปใช้บริการผ่านสาขาธนาคาร เช่น โอนเงินข้ามจังหวัดที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 30 บาท แต่หากผ่านบริการนี้อาจจะเสียแค่ 20 บาทเป็นต้น"
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร(บอร์ด) ได้เห็นชอบแผนธุรกิจ 3 ปีของธนาคารเรียบร้อยแล้ว โดยในแผนดังกล่าวนั้น ธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ในด้านของสินเชื่อเพิ่มเป็น 11% จากปัจจุบันอยู่ที่ 9% ส่วนเงินฝากตั้งเป้าหมายเพิ่มเป็น 14% จากปัจจุบัน 7-9% โดยมาร์เก็ตแชร์ที่ตั้งเป้าหมายไว้นั้นถือเป็นระดับที่สามารถแข่งขันกับธนาคารแห่งอื่นได้ และสามารถที่จะลงทุนต่อยอดไปยังธุรกิจอื่นได้
ทั้งนี้ ธนาคารยังตั้งเป้าหมายในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจรายย่อยเป็น 40% จากปัจจุบันที่อยู่ 30% และตั้งเป้าหมายเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมเป็น 35% จากปัจจุบันที่อยู่ 30% โดยธนาคารจะใช้วิธีให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางและมีการพัฒนาการบริการต่างๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น
สำหรับด้านเงินทุนของธนาคารนั้นปัจจุบันธนาคารยังมีเงินทุนแข็งแกร่ง โดยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) 12% จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนภายใน 3 ปีนี้ เนื่องจากธนาคารยังมีเงินทุนอยู่มากจากการเพิ่มทุนในช่วงปลายปีก่อนหลังจากที่ไอเอ็นจีเข้ามาถือหุ้น ส่วนแผนการล้างขาดทุนสะสมธนาคารจะทำในเวลาที่เหมาะสม
นายบุญทักษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนที่จะขายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จำนวน 20,000 ล้านบาท และสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) อีกกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการขายหนี้ดังกล่าวจะเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้โดยจะแล้วเสร็จในปีนี้ และหากการขายดังกล่าวเป็นไปตามคาดจะทำให้เอ็นพีแอลในสิ้นปีนี้ลดลงเหลือสุทธิ 7% และเอ็นพีแอลก่อนหักสำรอง 9% จากปัจจุบันที่อยู่ 14%
สำหรับกรณีของการที่บริษัทมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยู่ถึง 2 แห่ง คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจีและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทหารไทยนั้น ธนาคารยังไม่ได้สรุปว่าจะให้มีการควบรวมกันหรือไม่ โดยปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการอยู่ทั้ง 2 แห่ง ซึ่งจะทำให้ธนาคารทหารไทยเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ขายผลิตภัณฑ์ของ 2 บลจ. และสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย นอกจากนี้ธนาคารมีแผนที่จะซื้อบริษัทหลักทรัพย์ แต่ในเบื้องต้นจะต้องรอดูภาวะตลาดจึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด
ล่าสุดธนาคารได้เปิดตัวรูปแบบและช่องทางในการให้บริการทางการเงินในระบบเทคโนโลยีไร้สาย ใหม่ล่าสุด "TMB M-Banking" บริการที่ลูกค้าสามารถทำรายการทางการเงินในบัญชีธนาคารของตนเอง บนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนับเป็นการพัฒนาระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) ที่สอดคล้องและเข้าถึงการใช้ชีวิตของลูกค้าเป็นอย่างดี โดยลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบริการ TMB M-Banking ในการสอบถามยอดเงินคงเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเรียกดูรายการเดินบัญชี (Statement) ย้อนหลังได้สูงสุดถึง 9 เดือน นอกจากนี้ TMB M-Banking ยังให้บริการโอนเงินระหว่างบัญชี และบริการโอนเงินต่างธนาคารแบบ Real-Time พร้อมฟรีส่งข้อความ SMS แจ้งไปยังผู้รับเงินทันที ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้า TMB M-Bankingยังสามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อีกมากมาย เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์มือถือ
"ตั้งเป้าหมายว่าในเบื้องต้นจะมีลูกค้ามาใช้บริการ 50,000-100,000 ราย โดยการทำธุรกรรมผ่านบริการนี้ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าไปใช้บริการผ่านสาขาธนาคาร เช่น โอนเงินข้ามจังหวัดที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 30 บาท แต่หากผ่านบริการนี้อาจจะเสียแค่ 20 บาทเป็นต้น"