ตลท. จับมือ เอินส์ท แอนด์ ยัง ฯ พัฒนาตำรา "การวางแผนภาษีและมรดก" เพื่ออบรมบุคลากรในตลาดการเงินและบุคคลทั่วไป เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านต่าง ๆ
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า โครงการพัฒนาตำรา "การวางแผนภาษีและมรดก" ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงภาษี แต่เป็นการวางแผนภาษีเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและส่งผลดีต่อภาครัฐ โดยบริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซล จำกัด เป็นผู้พัฒนาเนื้อหาร่วมกันและมอบให้ตลาดหลักทรัพย์นฯใช้เป็นตำรา เพื่ออบรมบุคลากรในตลาดเงินและบุคคลทั่วไป
นายทรงเดช ประดิษฐสมานนท์ ประธาน บริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง คอร์ปอเรท เซอร์วิส จำกัด เปิดเผยว่า โครงการฯ การวางแผนภาษีและมรดก เป็นการวางแผนล่วงหน้าเรื่อง เงินรายได้, รายจ่าย, ภาษี และสิทธิค่าลดหย่อนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลงทุนกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(RTF) ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30 % ของเงินที่ลงทุน โดยจะพัฒนาควบคู่ไปกับจริยธรรม ซึ่งจะส่งผลดีต่อบุคคลทั่วไปและรัฐบาล โดยในอนาคตจะได้รับการรับรองจากสถาบันเอฟ พี เอฟ บี (FAFB) ของสหรัฐฯ
สำหรับ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีมรดก ขณะที่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเรียกเก็บภาษีอยู่ที่ 1-2 %ซึ่งบางประเทศอาจมีการคิดระยะเวลาของผู้ถือทรัพย์สินเพิ่มเติมด้วย ส่วนไทยนั้นหากจะเรียกเก็บภาษีดังกล่าวควรอยู่ที่ 0.5-1% โดยกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญจะเป็นผู้ที่มีรายได้สูงเป็นหลัก
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า โครงการพัฒนาตำรา "การวางแผนภาษีและมรดก" ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงภาษี แต่เป็นการวางแผนภาษีเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและส่งผลดีต่อภาครัฐ โดยบริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซล จำกัด เป็นผู้พัฒนาเนื้อหาร่วมกันและมอบให้ตลาดหลักทรัพย์นฯใช้เป็นตำรา เพื่ออบรมบุคลากรในตลาดเงินและบุคคลทั่วไป
นายทรงเดช ประดิษฐสมานนท์ ประธาน บริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง คอร์ปอเรท เซอร์วิส จำกัด เปิดเผยว่า โครงการฯ การวางแผนภาษีและมรดก เป็นการวางแผนล่วงหน้าเรื่อง เงินรายได้, รายจ่าย, ภาษี และสิทธิค่าลดหย่อนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลงทุนกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(RTF) ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30 % ของเงินที่ลงทุน โดยจะพัฒนาควบคู่ไปกับจริยธรรม ซึ่งจะส่งผลดีต่อบุคคลทั่วไปและรัฐบาล โดยในอนาคตจะได้รับการรับรองจากสถาบันเอฟ พี เอฟ บี (FAFB) ของสหรัฐฯ
สำหรับ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีมรดก ขณะที่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเรียกเก็บภาษีอยู่ที่ 1-2 %ซึ่งบางประเทศอาจมีการคิดระยะเวลาของผู้ถือทรัพย์สินเพิ่มเติมด้วย ส่วนไทยนั้นหากจะเรียกเก็บภาษีดังกล่าวควรอยู่ที่ 0.5-1% โดยกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญจะเป็นผู้ที่มีรายได้สูงเป็นหลัก