"ประสาร"ชี้การเปลี่ยนใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินแทนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน มีข้อดีทำให้เข้าใจง่าย แต่ท้ายสุดก็ต้องศึกษาว่าแบบไหนจึงจะเหมาะกับประเทศที่สุด
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวคิดจะใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินแทนการใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานว่า การใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้นถือว่าเป็นส่วนที่ประชาชนรู้จักแต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียโดยส่วนข้อเสียคือองค์ประกอบยังมีความผันผวนอยู่บ้างจากราคาพลังงานและอาหาร ทั้งนี้ที่ผ่านมาในวงวิชาการได้มีการนำเรื่องดังกล่าวมาพูดถึงบ้างแล้ว
โดยหากมีการนำเงินเฟ้อทั่วไปมาใช้อาจทำให้ต้องมีการปรึกษากับรัฐบาลเพื่อกำหนดกรอบซึ่งก็เป็นข้อต่อที่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตามในที่สุดแล้วก็ต้องให้อิสระกับธปท.ในการทำงานที่สำคัญก็คือได้ให้สภาได้พูดอะไรที่เป็นประโยชน์กับประชาชนบ้าง
"โครงสร้างเศรษฐกิจของไทย เหมาะกับเงินเฟ้อแบบไหนแถวประเทศใกล้บ้านเราก็มีทั้งที่ใช้ 2 แบบแต่เงินเฟ้อทั่วไปดีตรงเข้าใจง่ายแต่ก็ต้องดูไส้ในที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดซึ่งก่อนจะใช้ตัวไหนก็ต้องดูว่ามีตัวไหนจะทำให้เข้าใจผิด"
ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (กนง.)ชุดใหม่ในเดือนตุลาคมนี้ จะมีการกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินร่วมกับกระทรวงการคลังและจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยจากการศึกษาพบว่ากรอบเงินเฟ้อที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินมีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแทนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเงินเฟ้อทั้งสองตัวนี้เดิมก็มีการเกาะไปในทิศทางเดียวกัน และอัตราเร่งของการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงใกล้เคียงกัน แต่ในขณะนี้การเพิ่มขึ้นและระยะเวลาของอัตราเงินเฟ้อทั้ง 2 ตัวแตกต่างกัน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวคิดจะใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินแทนการใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานว่า การใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้นถือว่าเป็นส่วนที่ประชาชนรู้จักแต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียโดยส่วนข้อเสียคือองค์ประกอบยังมีความผันผวนอยู่บ้างจากราคาพลังงานและอาหาร ทั้งนี้ที่ผ่านมาในวงวิชาการได้มีการนำเรื่องดังกล่าวมาพูดถึงบ้างแล้ว
โดยหากมีการนำเงินเฟ้อทั่วไปมาใช้อาจทำให้ต้องมีการปรึกษากับรัฐบาลเพื่อกำหนดกรอบซึ่งก็เป็นข้อต่อที่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตามในที่สุดแล้วก็ต้องให้อิสระกับธปท.ในการทำงานที่สำคัญก็คือได้ให้สภาได้พูดอะไรที่เป็นประโยชน์กับประชาชนบ้าง
"โครงสร้างเศรษฐกิจของไทย เหมาะกับเงินเฟ้อแบบไหนแถวประเทศใกล้บ้านเราก็มีทั้งที่ใช้ 2 แบบแต่เงินเฟ้อทั่วไปดีตรงเข้าใจง่ายแต่ก็ต้องดูไส้ในที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดซึ่งก่อนจะใช้ตัวไหนก็ต้องดูว่ามีตัวไหนจะทำให้เข้าใจผิด"
ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (กนง.)ชุดใหม่ในเดือนตุลาคมนี้ จะมีการกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินร่วมกับกระทรวงการคลังและจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยจากการศึกษาพบว่ากรอบเงินเฟ้อที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินมีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแทนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเงินเฟ้อทั้งสองตัวนี้เดิมก็มีการเกาะไปในทิศทางเดียวกัน และอัตราเร่งของการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงใกล้เคียงกัน แต่ในขณะนี้การเพิ่มขึ้นและระยะเวลาของอัตราเงินเฟ้อทั้ง 2 ตัวแตกต่างกัน