คณะกรรมการกำกับตลาดทุน เปิดช่องให้ผู้บริหารโบรกเกอร์ดำรงตำแหน่งในบริษัทหลักทรัพย์ได้มากกว่า 1 แห่ง แต่นั่งประจำได้เพียงแห่งเดียว บนเงื่อนไขต้องจัดโครงสร้างป้องกันความขัดย้างทางผลประโยชน์ ด้านบอร์ดก.ล.ต.ผ่อนปรนให้บล.ที่ไม่ได้จดทะเบียนตั้งกรรมการหรือกรรมการอิสระที่ทำหน้าที่วางนโยบายบริษัทแต่ไม่ได้ทำหน้าที่บริหารงานประจำวัน อย่างน้อย 2 ราย ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบได้
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 7/2551 มีมติอนุมัติให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สามารถแต่งตั้งกรรมการอิสระ หรือกรรมการที่ไม่ได้รับผิดชอบการบริหารงานประจำวันทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรา 89/25 ได้ ตามมาตรา 89/25 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 กำหนดให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ (หมายถึงบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจัดการกองทุนรวม) หรือบริษัทมหาชน รายงานข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท
ทั้งนี้ เมื่อพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคล ที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทดังกล่าวได้กระทำผิดตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อดำเนินการตรวจสอบและรายงานต่อผู้สอบบัญชีและ ก.ล.ต. นั้น เนื่องจากปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์หลายรายที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนยังไม่มีเกณฑ์กำหนดให้ต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามที่มาตรา 89/25 กำหนดได้
จากปัญหาดังกล่าว เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับบริษัทหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงผ่อนปรนให้บล. ที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนสามารถแต่งตั้งกรรมการอิสระ หรือกรรมการที่ทำหน้าที่วางนโยบายบริษัทและไม่ได้รับผิดชอบการบริหารงานประจำวัน อย่างน้อย 2 คน เพื่อเป็นคณะกรรมการตรวจสอบตามที่กฎหมายมาตรา 89/25 กำหนด
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ได้อนุมัติให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการสามารถดำรงตำแหน่งในบริษัทหลักทรัพย์มากกว่า 1 แห่งได้ ตามที่มาตรา 103 (4) แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถแต่งตั้งผู้บริหารไขว้ในบริษัทหลักทรัพย์อื่น (cross director) ได้ หากเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
สำหรับเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้บริหารไขว้ในบล.อื่นได้ ต้องอยู่บนพื้นฐานว่าโครงสร้างผู้บริหารดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือต้องจัดให้มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) และการแบ่งแยกหน้าที่ (segregation of duties) แต่ผู้บริหารในตำแหน่งที่ต้องทำงานเต็มเวลาจะสามารถทำงานเต็มเวลาได้เพียงแห่งใดแห่งหนึ่งเท่านั้น
นอกจากนี้ได้ ออกประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน สืบเนื่องจากกฎหมายหลักทรัพย์ฉบับแก้ไขใหม่กำหนดว่า ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป การกำกับดูแลเรื่องการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนจะถูกโอนย้ายจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มายัง ก.ล.ต. ดังนั้น ในช่วงแรกนี้เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติและเพื่อให้ภาคเอกชนมีเวลาปรับตัวเข้ากับกฎหมายหลักทรัพย์ที่แก้ไขใหม่ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงออกประกาศหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และหลักเกณฑ์ในการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์โดยมีข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 7/2551 มีมติอนุมัติให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สามารถแต่งตั้งกรรมการอิสระ หรือกรรมการที่ไม่ได้รับผิดชอบการบริหารงานประจำวันทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรา 89/25 ได้ ตามมาตรา 89/25 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 กำหนดให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ (หมายถึงบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจัดการกองทุนรวม) หรือบริษัทมหาชน รายงานข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท
ทั้งนี้ เมื่อพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคล ที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทดังกล่าวได้กระทำผิดตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อดำเนินการตรวจสอบและรายงานต่อผู้สอบบัญชีและ ก.ล.ต. นั้น เนื่องจากปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์หลายรายที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนยังไม่มีเกณฑ์กำหนดให้ต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามที่มาตรา 89/25 กำหนดได้
จากปัญหาดังกล่าว เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับบริษัทหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงผ่อนปรนให้บล. ที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนสามารถแต่งตั้งกรรมการอิสระ หรือกรรมการที่ทำหน้าที่วางนโยบายบริษัทและไม่ได้รับผิดชอบการบริหารงานประจำวัน อย่างน้อย 2 คน เพื่อเป็นคณะกรรมการตรวจสอบตามที่กฎหมายมาตรา 89/25 กำหนด
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ได้อนุมัติให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการสามารถดำรงตำแหน่งในบริษัทหลักทรัพย์มากกว่า 1 แห่งได้ ตามที่มาตรา 103 (4) แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถแต่งตั้งผู้บริหารไขว้ในบริษัทหลักทรัพย์อื่น (cross director) ได้ หากเป็นไปตามข้อยกเว้นที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
สำหรับเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้บริหารไขว้ในบล.อื่นได้ ต้องอยู่บนพื้นฐานว่าโครงสร้างผู้บริหารดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือต้องจัดให้มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) และการแบ่งแยกหน้าที่ (segregation of duties) แต่ผู้บริหารในตำแหน่งที่ต้องทำงานเต็มเวลาจะสามารถทำงานเต็มเวลาได้เพียงแห่งใดแห่งหนึ่งเท่านั้น
นอกจากนี้ได้ ออกประกาศหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน สืบเนื่องจากกฎหมายหลักทรัพย์ฉบับแก้ไขใหม่กำหนดว่า ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป การกำกับดูแลเรื่องการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนจะถูกโอนย้ายจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มายัง ก.ล.ต. ดังนั้น ในช่วงแรกนี้เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติและเพื่อให้ภาคเอกชนมีเวลาปรับตัวเข้ากับกฎหมายหลักทรัพย์ที่แก้ไขใหม่ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงออกประกาศหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และหลักเกณฑ์ในการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์โดยมีข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน