กรมที่ดินยอมรับ 2 แพกเกจมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้เพื่อนำส่งท้องถิ่นลดลงมาก 30-40% จากเดิมเพียงมาตรการเดียว 10% ระบุการซื้อขายส่วนใหญ่จะอยู่นอกโครงการจัดสรรมากกว่าจัดสรร พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ประชาชนสอดส่องสาธารณูปโภคโครงการจัดสรรที่ชำรุด เพื่อดำเนินการให้เจ้าของโครงการเร่งปรับปรุง ขู่หากไม่ปรับปรุงถูกปรับรายวัน 1,000 บาท
นายสุชาติ ดอกไม้เพ็ง โฆษกกรมที่ดิน เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ มาตรการที่มีผลบังคับใช้แล้ว คือ การลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% (ส่วนนี้รวมการจัดเก็บภาษี เพื่อนำส่งท้องถิ่นเข้าไปแล้วตามอัตรา 10% ของ 3% เลยเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะที่ 3.3% ) เหลือ 0.11% ค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% และค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% ซึ่งเป็นการช่วยเฉพาะอสังหาฯที่อยู่ในโครงการจัดสรร และมาตรการช่วยเหลือบ้านมือสองที่ไม่ได้อยู่ในข่ายโครงการจัดสรรนั้น ขณะนี้รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยผลต่อเนื่องจาก 2 มาตรการดังกล่าวนั้น ทางกรมที่ดินได้ประเมินว่า จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้เพื่อนำส่งให้ท้องถิ่น โดยคาดว่าจะทำให้การจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองลดลงประมาณ 30-40% จากเดิมครั้งแรก คาดว่าจะกระทบแค่เพียง 10% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้จะปรับลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก การซื้อขายในส่วนของบ้านมือสองซึ่งอยู่นอกเขตโครงการจัดสรรมีปริมาณมากกว่าการซื้อขายที่อยู่ในเขตโครงการจัดสรร
“มาตรการก๊อก 2 นี้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ หรืออย่างช้าไม่เกินกลางเดือนนี้ โดยขณะนี้ ทางกรมที่ดินอยู่ระหว่างการทำประกาศกระทรวงเพื่อส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามอยู่ และนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วนเรื่องภาษีธุรกิจเฉพาะของกรมสรรพากรนั้น ไม่ต้องออกมาเป็นพระราชกฤษฎีกาแล้ว เนื่องจากได้มีการประกาศครอบคลุมตั้งแต่มาตรการในครั้งแรก”โฆษกกล่าว
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2550 ( ต.ค.49-ก.ย.50) กรมที่ดินได้จัดเก็บรายได้นำส่งท้องถิ่นประมาณ 18,000 ล้านบาท และในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 51 (ต.ค.50-ก.ย.51) สามารถจัดเก็บรายได้และนำส่งท้องถิ่นกว่า 6,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 1,500 ล้านบาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมของการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 51 กรมที่ดินตั้งเป้าจัดเก็บรายได้นำส่งมอบให้แก่กระทรวงการคลัง วงเงินประมาณการ 50,000
ล้านบาท จากผู้เสียภาษีและค่าธรรมเนียมจำนวน 5 ล้านรายทั่วประเทศ และในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-ก.ย.52) วางเป้าไว้ 50,000 ล้านบาท
นายสุชาติกล่าวยอมรับว่า หลังมาตรการออกมาแล้วปรากฎว่ามีการซื้อขายและโอนจำนวนมาก เนื่องจากในช่วงก่อนมาตรการจะมีผลบังคับใช้ ประชาชนชะลอการทำธุรกรรม เพื่อหวังใช้ประโยชน์จากมาตรการ แต่อัตราการเพิ่มเท่าไหร่ ยังไม่สามารถระบุตัวเลขที่ชัดเจนได้ เพราะต้องรอให้สำนักงานที่ดินแต่ละพื้นที่ส่งรายงานตัวเลขเข้ามา
" ส่วนจะมีมาตรการอย่างอื่นออกมาเสริมอีกหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถบอกได้ แต่ก็จะต้องมาวิเคราะห์กันอีกครั้งว่า พอมีอะไรที่จะออกมาได้อีก ซึ่งหากจะมีการประกาศอีกก็คงจะเป็นประเภทอื่นแล้ว "
สำหรับความคืบหน้าในการตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการจัดสรรนั้น นายสุชาติกล่าวว่า ทางกรมฯอยู่ระหว่างการทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ โดยล่าสุดทางสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกรมที่ดิน ได้มีการส่งทีมงานไปสุ่มตรวจสาธารณูปโภคของโครงการแล้วว่ามีการดำเนินการถูกต้องหรือทอดทิ้งหรือไม่ โดยมุ่งเน้นโครงการของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มนี้ค่อนข้างมีปัญหา หากพบว่าทอดทิ้งก็จะแจ้งให้ทราบ หากไม่ดำเนินการก็จะทำการปรับวันละ 1,000 บาทนับจากวันที่แจ้ง และหากหาผู้ประกอบการไม่พบหรือไม่มีตัวตนแล้วก็จะนำเงินค้ำประกันสาธารณูปโภคที่ตั้งไว้มาดำเนินการพัฒนาต่อไป
นายสุชาติ ดอกไม้เพ็ง โฆษกกรมที่ดิน เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ มาตรการที่มีผลบังคับใช้แล้ว คือ การลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% (ส่วนนี้รวมการจัดเก็บภาษี เพื่อนำส่งท้องถิ่นเข้าไปแล้วตามอัตรา 10% ของ 3% เลยเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะที่ 3.3% ) เหลือ 0.11% ค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% และค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% ซึ่งเป็นการช่วยเฉพาะอสังหาฯที่อยู่ในโครงการจัดสรร และมาตรการช่วยเหลือบ้านมือสองที่ไม่ได้อยู่ในข่ายโครงการจัดสรรนั้น ขณะนี้รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยผลต่อเนื่องจาก 2 มาตรการดังกล่าวนั้น ทางกรมที่ดินได้ประเมินว่า จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้เพื่อนำส่งให้ท้องถิ่น โดยคาดว่าจะทำให้การจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองลดลงประมาณ 30-40% จากเดิมครั้งแรก คาดว่าจะกระทบแค่เพียง 10% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้จะปรับลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก การซื้อขายในส่วนของบ้านมือสองซึ่งอยู่นอกเขตโครงการจัดสรรมีปริมาณมากกว่าการซื้อขายที่อยู่ในเขตโครงการจัดสรร
“มาตรการก๊อก 2 นี้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ หรืออย่างช้าไม่เกินกลางเดือนนี้ โดยขณะนี้ ทางกรมที่ดินอยู่ระหว่างการทำประกาศกระทรวงเพื่อส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามอยู่ และนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วนเรื่องภาษีธุรกิจเฉพาะของกรมสรรพากรนั้น ไม่ต้องออกมาเป็นพระราชกฤษฎีกาแล้ว เนื่องจากได้มีการประกาศครอบคลุมตั้งแต่มาตรการในครั้งแรก”โฆษกกล่าว
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2550 ( ต.ค.49-ก.ย.50) กรมที่ดินได้จัดเก็บรายได้นำส่งท้องถิ่นประมาณ 18,000 ล้านบาท และในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 51 (ต.ค.50-ก.ย.51) สามารถจัดเก็บรายได้และนำส่งท้องถิ่นกว่า 6,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 1,500 ล้านบาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมของการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 51 กรมที่ดินตั้งเป้าจัดเก็บรายได้นำส่งมอบให้แก่กระทรวงการคลัง วงเงินประมาณการ 50,000
ล้านบาท จากผู้เสียภาษีและค่าธรรมเนียมจำนวน 5 ล้านรายทั่วประเทศ และในปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-ก.ย.52) วางเป้าไว้ 50,000 ล้านบาท
นายสุชาติกล่าวยอมรับว่า หลังมาตรการออกมาแล้วปรากฎว่ามีการซื้อขายและโอนจำนวนมาก เนื่องจากในช่วงก่อนมาตรการจะมีผลบังคับใช้ ประชาชนชะลอการทำธุรกรรม เพื่อหวังใช้ประโยชน์จากมาตรการ แต่อัตราการเพิ่มเท่าไหร่ ยังไม่สามารถระบุตัวเลขที่ชัดเจนได้ เพราะต้องรอให้สำนักงานที่ดินแต่ละพื้นที่ส่งรายงานตัวเลขเข้ามา
" ส่วนจะมีมาตรการอย่างอื่นออกมาเสริมอีกหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถบอกได้ แต่ก็จะต้องมาวิเคราะห์กันอีกครั้งว่า พอมีอะไรที่จะออกมาได้อีก ซึ่งหากจะมีการประกาศอีกก็คงจะเป็นประเภทอื่นแล้ว "
สำหรับความคืบหน้าในการตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการจัดสรรนั้น นายสุชาติกล่าวว่า ทางกรมฯอยู่ระหว่างการทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ โดยล่าสุดทางสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกรมที่ดิน ได้มีการส่งทีมงานไปสุ่มตรวจสาธารณูปโภคของโครงการแล้วว่ามีการดำเนินการถูกต้องหรือทอดทิ้งหรือไม่ โดยมุ่งเน้นโครงการของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มนี้ค่อนข้างมีปัญหา หากพบว่าทอดทิ้งก็จะแจ้งให้ทราบ หากไม่ดำเนินการก็จะทำการปรับวันละ 1,000 บาทนับจากวันที่แจ้ง และหากหาผู้ประกอบการไม่พบหรือไม่มีตัวตนแล้วก็จะนำเงินค้ำประกันสาธารณูปโภคที่ตั้งไว้มาดำเนินการพัฒนาต่อไป