นายกฯ อังกฤษ เรียกร้องให้ไอเอ็มเอฟ เป็นผู้เตือนภัยทางการเงินให้กับทั่วโลก ป้องกันวิกฤติการณ์ที่กำลังลุกลาม ชี้บทเรียนปีก่อน ธนาคารกลางหลายประเทศ ต้องอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของโลก
วันนี้(21 ม.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษ เรียกร้องให้ไอเอ็มเอฟทำหน้าที่เป็นผู้นำในเรื่อง "ระบบเตือนภัยล่วงหน้า" ให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤติการเงินลุกลามไปทั่วโลก
นายบราวน์กล่าวในการแถลงการณ์ที่กรุงนิวเดลีระหว่างการเยือนจีนและอินเดียว่า ธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟต้องปฏิรูปการทำงานเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก เพราะปัญหาบางอย่างสามารถลุกลามเป็นปัญหาระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว
"ไอเอ็มเอฟต้องประสานงานกับกลุ่มเสถียรภาพทางการเงิน (FSF) เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนนำของระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ความผันผวนทางการเงินลุกลามและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก"
สำนักข่าวธอมสัน ไฟแนนเชียล รายงานว่า เมื่อปีที่แล้ว นายบราวน์เคยกล่าวว่า การที่ธนาคารกลางหลายแห่งอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน เป็นตัวอย่างของ สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกันเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของโลก
ทั้งนี้ นายบราวน์เปิดเผยว่า เขาต้องการให้ไอเอ็มเอฟพัฒนาระบบการทำงานให้มีความโปร่งใสกว่าเดิม ทั้งในด้านตราสารหนี้ การบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยงจากเงินนอกงบประมาณ และบทบาทของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือและน่าลงทุน
วันนี้(21 ม.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษ เรียกร้องให้ไอเอ็มเอฟทำหน้าที่เป็นผู้นำในเรื่อง "ระบบเตือนภัยล่วงหน้า" ให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤติการเงินลุกลามไปทั่วโลก
นายบราวน์กล่าวในการแถลงการณ์ที่กรุงนิวเดลีระหว่างการเยือนจีนและอินเดียว่า ธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟต้องปฏิรูปการทำงานเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก เพราะปัญหาบางอย่างสามารถลุกลามเป็นปัญหาระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว
"ไอเอ็มเอฟต้องประสานงานกับกลุ่มเสถียรภาพทางการเงิน (FSF) เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนนำของระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ความผันผวนทางการเงินลุกลามและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก"
สำนักข่าวธอมสัน ไฟแนนเชียล รายงานว่า เมื่อปีที่แล้ว นายบราวน์เคยกล่าวว่า การที่ธนาคารกลางหลายแห่งอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน เป็นตัวอย่างของ สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกันเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของโลก
ทั้งนี้ นายบราวน์เปิดเผยว่า เขาต้องการให้ไอเอ็มเอฟพัฒนาระบบการทำงานให้มีความโปร่งใสกว่าเดิม ทั้งในด้านตราสารหนี้ การบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยงจากเงินนอกงบประมาณ และบทบาทของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือและน่าลงทุน