กรมสรรพากรจับมือแบงก์กรุงไทย สนับสนุนสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างประจำ เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยเตรียมวงเงินรองรับการปล่อยกู้ 1,000 ล้านบาท โชว์ยอดสินเชื่อสวัสดิการโตเกินคาดจากที่ตั้งไว้ 4,500 ล้านบาท ขณะนี้ปล่อยกู้ไปแล้ว 5,900 ล้านบาท และคาดว่าทั้งปีจะทำได้ถึง 7,000 ล้านบาท
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรมสรรพากรมีแหล่งเงินกู้สำหรับสินเชื่อสวัสดิการเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออเนกประสงค์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น ๆ
นายปรีชา ภูขำ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า สินเชื่อสวัสดิการที่ธนาคารให้บริการกับข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรมสรรพากร ซึ่งมีจำนวนกว่า 20,000 ราย ได้แก่ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเนกประสงค์ ซึ่งผู้กู้สามารถกู้เพื่อไปซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ เพื่อศึกษาต่อ เพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และคิดอัตราดอกเบี้ยแบบพิเศษ โดยได้เตรียมวงเงินไว้รองรับการปล่อยกู้ในครั้งนี้จำนวน 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้ธนาคารยังได้ตั้งวงเงินในส่วนของสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สำหรับสำรองไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินโดยให้กู้ 10 เท่าของเงินเดือนอีกด้วย
โดยในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายขยายสินเชื่อสวัสดิการไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปีสามารถปล่อยสินเชื่อสวัสดิการให้กับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจไปแล้ว 5,900 ล้านบาท ทำให้จนถึงสิ้นปีคาดว่าจะสามารถทำได้ถึง 7,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมียอดสินเชื่อสวัสดิการรวมทั้งสิ้น 34,900 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารได้จัดโปรโมชั่นเพื่อมอบสิทธิพิเศษให้กับหน่วยงานที่ลงนามใช้สินเชื่อสวัสดิการกับธนาคารและใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยในปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) ลบ 1.5% ปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 1% โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์อยู่ที่ 6.875%ต่อปี
"ความร่วมมือดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญที่มุ่งช่วยเหลือข้าราชการและลูกค้าประจำผู้มีรายได้น้อยหรือต้องัรบภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสูงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมามองว่ากลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ จะมีหนี้สินนอกระบบเยอะ เนื่องจากช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคที่สูงขึ้น ทำให้ปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้น ธนาคารจึงอยากเข้ามาช่วยลดปัญหาในส่วนนี้เพื่อให้เข้ามาเป็นหนี้ในระบบแทนและเป็นการช่วยลดภาระ”
นอกจากนี้ มองว่าสังคมไทยถือว่าเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเป็นหนี้ค่อนข้างมาก ธนาคารจึงอยากเข้ามาช่วยอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันตัวเลขหนี้ต่อครัวเรือนอยู่ที่ 150,000 บาท และไม่สามารถจะแยกได้ว่าเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่คาดว่ามากกว่า 50% จะเป็นหนี้ที่เกิดจากนอกระบบ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในแนวโน้มในช่วงต่อจากนี้ตัวเลขหนี้ต่อครัวเรือนน่าจะปรับตัวลดลง เพราะแนวนโยบายที่มุ่งไปเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหากทางรัฐบาลนำมาใช้ตั้งแต่ช่วง 20-30 ปีก่อน นั้นก็จะไม่เกิดปัญหาอย่างทุกวันนี้ ส่วนการจะทำให้ตัวเลขหนี้นอกระบบลดลงนั้น ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐที่ต้องเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง
นายปรีชา ยังได้กล่าวถึงการหาแหล่งเงินทุนเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาลว่า เรื่องทุกอย่างขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะใช้แหล่งเงินกู้จากที่ไหน ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงไทยก็พร้อมจะปล่อยกู้ให้ เนื่องจากมีสภาพคล่องที่เพียงพอ แต่จากการที่ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ขอขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น มองว่าอัตราที่ขอปรับขึ้นก็ยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของแหล่งเงินภายในประเทศ ทำให้เชื่อว่าในที่สุดแล้วรัฐบาลจะใช้แหล่งเงินจากต่างประเทศมากกว่า
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรมสรรพากรมีแหล่งเงินกู้สำหรับสินเชื่อสวัสดิการเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออเนกประสงค์ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น ๆ
นายปรีชา ภูขำ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า สินเชื่อสวัสดิการที่ธนาคารให้บริการกับข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรมสรรพากร ซึ่งมีจำนวนกว่า 20,000 ราย ได้แก่ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเนกประสงค์ ซึ่งผู้กู้สามารถกู้เพื่อไปซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ เพื่อศึกษาต่อ เพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และคิดอัตราดอกเบี้ยแบบพิเศษ โดยได้เตรียมวงเงินไว้รองรับการปล่อยกู้ในครั้งนี้จำนวน 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้ธนาคารยังได้ตั้งวงเงินในส่วนของสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สำหรับสำรองไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉินโดยให้กู้ 10 เท่าของเงินเดือนอีกด้วย
โดยในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายขยายสินเชื่อสวัสดิการไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปีสามารถปล่อยสินเชื่อสวัสดิการให้กับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจไปแล้ว 5,900 ล้านบาท ทำให้จนถึงสิ้นปีคาดว่าจะสามารถทำได้ถึง 7,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมียอดสินเชื่อสวัสดิการรวมทั้งสิ้น 34,900 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารได้จัดโปรโมชั่นเพื่อมอบสิทธิพิเศษให้กับหน่วยงานที่ลงนามใช้สินเชื่อสวัสดิการกับธนาคารและใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยในปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) ลบ 1.5% ปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 1% โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์อยู่ที่ 6.875%ต่อปี
"ความร่วมมือดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญที่มุ่งช่วยเหลือข้าราชการและลูกค้าประจำผู้มีรายได้น้อยหรือต้องัรบภาระหนี้สินที่มีดอกเบี้ยสูงให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมามองว่ากลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ จะมีหนี้สินนอกระบบเยอะ เนื่องจากช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคที่สูงขึ้น ทำให้ปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้น ธนาคารจึงอยากเข้ามาช่วยลดปัญหาในส่วนนี้เพื่อให้เข้ามาเป็นหนี้ในระบบแทนและเป็นการช่วยลดภาระ”
นอกจากนี้ มองว่าสังคมไทยถือว่าเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเป็นหนี้ค่อนข้างมาก ธนาคารจึงอยากเข้ามาช่วยอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันตัวเลขหนี้ต่อครัวเรือนอยู่ที่ 150,000 บาท และไม่สามารถจะแยกได้ว่าเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่คาดว่ามากกว่า 50% จะเป็นหนี้ที่เกิดจากนอกระบบ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในแนวโน้มในช่วงต่อจากนี้ตัวเลขหนี้ต่อครัวเรือนน่าจะปรับตัวลดลง เพราะแนวนโยบายที่มุ่งไปเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหากทางรัฐบาลนำมาใช้ตั้งแต่ช่วง 20-30 ปีก่อน นั้นก็จะไม่เกิดปัญหาอย่างทุกวันนี้ ส่วนการจะทำให้ตัวเลขหนี้นอกระบบลดลงนั้น ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐที่ต้องเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง
นายปรีชา ยังได้กล่าวถึงการหาแหล่งเงินทุนเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาลว่า เรื่องทุกอย่างขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะใช้แหล่งเงินกู้จากที่ไหน ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงไทยก็พร้อมจะปล่อยกู้ให้ เนื่องจากมีสภาพคล่องที่เพียงพอ แต่จากการที่ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ขอขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น มองว่าอัตราที่ขอปรับขึ้นก็ยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของแหล่งเงินภายในประเทศ ทำให้เชื่อว่าในที่สุดแล้วรัฐบาลจะใช้แหล่งเงินจากต่างประเทศมากกว่า