เอกรัฐ โซลาร์ บริษัทย่อย AKR เล็งอีก 3 ปี ลุยลงทุนผลิตโซลาร์เซลล์ครบวงจร โดยใช้ทุนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท พร้อมหาพันธมิตรเสริมทัพหากแนวโน้มดี ขณะที่โรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์เดินเครื่องก.ย.นี้สร้างรายได้ 500 ล้านบาทและปีละ 3พันล้านเมื่อผลิตเต็มกำลังในปี 52
นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอกรัฐโซลาร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (AKR) เปิดเผยว่าขณะนี้โรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ของบริษัทและเป็นแห่งแรกของไทย ซึ่งใช้เงินลงทุนไป 2 พันล้านบาท จะเดินเครื่องผลิตจริงเดือนกันยายน50 นี้ ด้วยกำลังการผลิตเบื้องต้น 4 เมกะวัตต์ ก่อนผลิตได้เต็มกำลังปี 52 คาดปีแรกสร้างรายได้ 500 ล้านบาทและปีละ 3 พันล้านบาทเมื่อผลิตเต็มกำลัง
ทั้งนี้ จากการประเมินปริมาณการความต้องการใช้โซลาร์เซลล์จะมีการขยายตัวปีละ30% ของโลก เริ่มให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อน จึงมองหาพลังงานทดแทนไว้ใช้ หากธุรกิจนี้ไปได้ดีบริษัทมีแนวคิดที่จะลงทุนผลิตแผ่นเวเฟอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของการผลิตโซลาร์เซลล์เองในไทย จากปัจจุบันที่ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท
" การลงทุนครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำของธุรกิจนี้ คาดใช้เงิน 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้เอกรัฐฯลงทุนเฉพาะการผลิตแผ่นโซลาร์เซลล์เพื่อนำมาประกอบกับแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำถึงปลายน้ำ และเราต้องติดตามผลงานหลังปี 52 แนวโน้มหากดีก็จะหาพันธมิตรร่วมทุน " นายเกียรติพงศ์ กล่าว
สำหรับ โซลาร์เซลล์ที่ผลิต จะเน้นการส่งออก 90% ที่เหลือขายในประเทศ โดยตลาดหลักคือเยอรมัน และฝรั่งเศล ขณะที่การจำหน่ายในประเทศเป็นลักษณะของการติดตั้งที่ใช้ผสมกับแหล่งพลังงาน อื่น ๆ
นายเกียรติพงศ์ กล่าวถึง AKR ซึ่งเป็นบริษัทแม่นั้น ธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้ายังมีการขยายตัวต่อเนื่อง เพียงแต่ช่วงนี้ตลาดในประเทศยังไม่มีโครงการลงทุนใหม่ ๆ คงรองบประมาณจากภาครัฐ จึงหันไปส่งออกมาขึ้น ขณะนี้บริษัทรับงานที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ มูลค่า 100 ล้านบาท
นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอกรัฐโซลาร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (AKR) เปิดเผยว่าขณะนี้โรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ของบริษัทและเป็นแห่งแรกของไทย ซึ่งใช้เงินลงทุนไป 2 พันล้านบาท จะเดินเครื่องผลิตจริงเดือนกันยายน50 นี้ ด้วยกำลังการผลิตเบื้องต้น 4 เมกะวัตต์ ก่อนผลิตได้เต็มกำลังปี 52 คาดปีแรกสร้างรายได้ 500 ล้านบาทและปีละ 3 พันล้านบาทเมื่อผลิตเต็มกำลัง
ทั้งนี้ จากการประเมินปริมาณการความต้องการใช้โซลาร์เซลล์จะมีการขยายตัวปีละ30% ของโลก เริ่มให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อน จึงมองหาพลังงานทดแทนไว้ใช้ หากธุรกิจนี้ไปได้ดีบริษัทมีแนวคิดที่จะลงทุนผลิตแผ่นเวเฟอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของการผลิตโซลาร์เซลล์เองในไทย จากปัจจุบันที่ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท
" การลงทุนครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำของธุรกิจนี้ คาดใช้เงิน 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้เอกรัฐฯลงทุนเฉพาะการผลิตแผ่นโซลาร์เซลล์เพื่อนำมาประกอบกับแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำถึงปลายน้ำ และเราต้องติดตามผลงานหลังปี 52 แนวโน้มหากดีก็จะหาพันธมิตรร่วมทุน " นายเกียรติพงศ์ กล่าว
สำหรับ โซลาร์เซลล์ที่ผลิต จะเน้นการส่งออก 90% ที่เหลือขายในประเทศ โดยตลาดหลักคือเยอรมัน และฝรั่งเศล ขณะที่การจำหน่ายในประเทศเป็นลักษณะของการติดตั้งที่ใช้ผสมกับแหล่งพลังงาน อื่น ๆ
นายเกียรติพงศ์ กล่าวถึง AKR ซึ่งเป็นบริษัทแม่นั้น ธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้ายังมีการขยายตัวต่อเนื่อง เพียงแต่ช่วงนี้ตลาดในประเทศยังไม่มีโครงการลงทุนใหม่ ๆ คงรองบประมาณจากภาครัฐ จึงหันไปส่งออกมาขึ้น ขณะนี้บริษัทรับงานที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ มูลค่า 100 ล้านบาท