เจ้าของเดิมเซ็นเตอร์พ้อยท์สู้ยิบตา แข่งประมูลระดับบิ๊ก พร้อมทุ่มพันล้านพัฒนาเซ็นเตอร์พ้อยท์เวอร์ชั่นล่าสุด "ประตูสู่ดวงดาว" ดึงพันธมิตรโรงเรียนสอน ร้อง เต้น เล่นละคร ศูนย์รวมสถานฝึกสอนวัยโจ๋ก้าวสู่ความป็นดาว พร้อมเผยแผนพัฒนาอสังหาฯ เตรียมเปิดคอนโดฯแห่งใหม่ ย่านสุขุมวิท 101/1 กว่า 800 ยูนิต ไม่หวั่นซับพลายล้น หลังพบมีสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดกว่า 20,000 ยูนิต ระบุระบายสินค้าไปแล้วกว่า 10,000 ยูนิต แถมกำลังซื้อเหลืออีกเพียบ
ตามแผนแม่บท(มาสเตอร์แพลน)ของสำนักงานทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีแนวทางนำแปลงที่ดินที่เหมาะสมต่อการพัฒนาในเชิงพาณิชย์มาสร้างมูลค่า มาเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูล คือ พื้นที่โครงการเซ็นเตอร์พอยท์สยามสแควร์ (The Center Point of Siam Square) ขนาดพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 64 ตารางวา และพื้นที่โครงการเกตเวย์ (Gateway) ขนาดพื้นที่ประมาณ 234 ตารางวา รวมเป็น 1 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เพื่อให้เป็นพื้นที่ประกอบธุรกิจที่มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ ก่อให้เกิดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และสร้างเอกลักษณ์แก่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ โดยกำหนดยื่นข้อเสนอภายในวันนี้ (21 ส.ค.) กำหนดโดยมีระยะเวลาสัญญาเช่า 15 ปี
หลังจากได้ประกาศเชิญชวน ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.-18 มิ.ย.2550 ที่ผ่านมา ปรากฏความเคลื่อนไหวของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่ขอรับเอกสารข้อกำหนดและเงื่อนไข (TOR) เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัททีทีซี.ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ,กลุ่มเซ็นทรัล, บริษัทสยามฟิวเจอร์ , ธุรกิจในเครือซีพี , เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ฯ , สยามพารากอน , สยามพิวรรธน์ รวมถึง บริษัท พรไพลิน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัดของนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ ผู้บริหารพื้นที่เซ็นเตอร์พอยต์เดิม
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทพรไพรินฯ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่หมดสัญญาเช่าในเซ็นเตอร์พ้อยท์ไปแล้ว บริษัทก็พร้อมประมูลพัฒนาโครงการเซ็นเตอร์พ้อยท์แข่งกับผู้ประกอบการรายใหญ่กว่า 10 รายข้างต้น เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมากับมือ ดังนั้นจึงต้องการที่จะสานโครงการต่อ โดยจะส่งแผนการพัฒนาโครงการและราคาประมูลในวันนี้ (21 ส.ค.)เช่นกัน
ทั้งนี้ จากการสำรวจของบริษัทฯพบว่า มีคนเดินเข้า-ออกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ถึงวันละ 1-2 แสนคน/วัน และมีคนเดิมเข้าไปยังสยามสแควร์ประมาณ 50,000 คน/วัน ดังนั้นหากมีการเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าเข้ากับสยามสแควร์ เชื่อว่าจะทำให้ดึงดูดคนเข้าสู่สยามสแควร์ได้มากขึ้น
ส่วนรูปแบบที่จะพัฒนานั้น ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องการที่จะให้โครงการนี้เป็นประตูหรือเกตเวย์สู่สยามสแควร์ โดยบริษัทเองได้ใช้แนวคิดนี้เช่นกัน โดยจะพัฒนาเป็นศูนย์การค้า ร้านค้า นอกจากจะเป็นประตูสูสยามสแควร์แล้ว ยังเป็นประตูสู่ฝันของวัยรุ่นอีกด้วย เพราะบริษัทเตรียมดึงพันธมิตรที่เป็นโรงเรียนสอนการแสดง ร้องเพลง เต้น และอื่นๆ มาเปิดโรงเรียนสอนภายในศูนย์ดังกล่าว เพื่อที่จะพัฒนาวัยรุ่นไทยให้มีความรู้ความสามารถ ในการก้าวสู่เวทีดารา นักร้อง
"ต่อไปเซ็นเตอร์พ้อยท์จะไม่ใช่เพียงสถานที่เดินเล่น เที่ยว ชอปปิ้ง เท่านั้น แต่ที่นี่จะเป็นเหมือนประตูสู่ฝันของวัยรุ่นไทยที่มีความสามารถ ทุกค่ายเพลง ทุกค่ายดารา จะต้องมาจับจ้องดาวดวงใหม่ที่นี่"
สำหรับการพัฒนานั้น จะสร้างเป็นรูปตัว T ยื่นเข้าสู่สยามสแควร์ เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบริเวณชั้น 3 เนื้อที่ประมาณ 6,000 ตร.ม. คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งตลอดระยะเวลาสัญญาเช่า 15 ปี ทางบริษัทฯได้เสนอผลตอบแทนให้แก่จุฬาฯเป็นวงเงิน 2,000 ล้านบาท
อนึ่ง วัตถุประสงค์การพัฒนาโครงการเซ็นเตอร์พอยต์สยามสแควร์ ซึ่งเนื้อที่ 1 ไร่ 64 ตารางวา และโครงการเกตเวย์ ปัจจุบันเป็นพื้นที่อาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้น 13 คูหานั้น เพื่อพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของศูนย์การค้าสยามสแควร์ เพื่อให้มีทางเข้า (Gateway) สู่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ เชื่อมต่อไปยังพื้นที่บริเวณที่เป็นที่ตั้งเซ็นเตอร์พอยต์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยปรับปรุง (Renovate) อาคารพาณิชย์ จำนวน 13 คูหา ริมถนนพระราม 1 หรือพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวในรูปแบบที่เหมาะสม และเพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ สนับสนุนส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์ และเพื่อเป็นการก่อให้เกิดความงดงามทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ และสร้างเอกลักษณ์แก่ศูนย์การค้าสยาม สแควร์
ส่วนขอบเขตในการพัฒนาเซ็นเตอร์พอยต์ ต้องจัดให้มี Landmark Center Point of Siam Square ที่มีเอกลักษณ์ของพื้นที่ไว้บริเวณด้านหน้าริมสยามสแควร์ ซอย 7 ในส่วนที่ 2 โครงการเกตเวย์ ให้มีการบูรณะพัฒนาปรับปรุงอาคารพาณิชย์ 13 ยูนิต โดยใช้โครงสร้างเดิม หรืออาจมีการทุบรื้อได้ทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ,ควรมีลักษณะทางเข้า (Gateway) เพื่อรองรับประชาชนที่มาจากสถานีรถไฟฟ้าและถนนพระราม 1 มายังพื้นที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ และให้มีทางเดินเชื่อมไปยังพื้นที่ตั้งเซ็นเตอร์พอยต์
ก่อนหน้านี้ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ จำกัด ได้ระบุผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 200 จุด เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกระยะ 1 ปี โดยผลการสำรวจพบว่า ในปีที่ผ่านมา ทำเลที่แพงที่สุดขณะนี้ กลายเป็นบริเวณสยามสแควร์ โดยหากเป็นที่ดินเปล่าตกราคาตารางวาละ 640,000 บาท ทั้งนี้ เป็นผลมาจากอิทธิพลของรถไฟฟ้าและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในบริเวณดังกล่าว โดยในปี 49 มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นถึง 16.4% ขณะที่ปี 2548 ยังประเมินเป็นเงินไร่ละ 550,000 บาท แต่ปี 2549 ประเมินใหม่เป็น 640,000 บาท
ทั้งนี้ นอกจากโครงการดังกล่าว ตามแผนแม่บทของทางจุฬาฯ ในระยะเวลา 4 ปีจากนี้ไป มีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ฝั่งถนนบรรทัดทองประมาณ 250 ไร่อีกด้วย แต่การพัฒนาจะแบ่งเป็นระยะๆ ไป โดยคาดว่าในช่วง 2 ปีแรกโครงการที่จะดำเนินการคือ พื้นที่ตลาดสามย่าน และพื้นที่ตรงข้ามกับสี่แยกเจริญผล ซึ่งคาดว่าจะมีการก่อสร้างโครงการที่มีศักยภาพด้านพาณิชย์ขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ
**ผุดซิตี้คอนโดฯสุขุมวิท101/1**
นายพรนริศ กล่าวถึงการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯว่า มีแผนที่จะเปิดขายโครงกาคอนโดมิเนียม ในซ.สุขุมวิท 101/1 บนเนื้อที่ 10 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารสูง 8 ชั้น 6 อาคาร จำนวน 800 ยูนิต ราคาตร.ม.ละ 35,000 บาท ขนาดห้องตั้งแต่ 30-60 ตร.ม. หรือราคาเริ่มต้นที่ 9 แสนบาทถึง 1.3 ล้านบาท คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาประมาณ 2-3 ปี
นายพรนริศ กล่าวต่อว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในย่านอ่อนนุชไปจนถึงซ.แบริ่ง สมุทรปราการ กว่า 20,000 ยูนิต ซึ่งในปัจจุบันโครงการเหล่านั้นสามารถระบายสินค้าออกไปแล้วกว่า 10,000 ยูนิต มียูนิตเหลือขายอีกไม่มากนัก ในขณะที่ความต้องการยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง กำลังซื้อยังมีอีกมาก โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมราคาระดับกลางล่างดังกล่าว
ตามแผนแม่บท(มาสเตอร์แพลน)ของสำนักงานทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีแนวทางนำแปลงที่ดินที่เหมาะสมต่อการพัฒนาในเชิงพาณิชย์มาสร้างมูลค่า มาเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูล คือ พื้นที่โครงการเซ็นเตอร์พอยท์สยามสแควร์ (The Center Point of Siam Square) ขนาดพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 64 ตารางวา และพื้นที่โครงการเกตเวย์ (Gateway) ขนาดพื้นที่ประมาณ 234 ตารางวา รวมเป็น 1 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เพื่อให้เป็นพื้นที่ประกอบธุรกิจที่มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ ก่อให้เกิดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และสร้างเอกลักษณ์แก่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ โดยกำหนดยื่นข้อเสนอภายในวันนี้ (21 ส.ค.) กำหนดโดยมีระยะเวลาสัญญาเช่า 15 ปี
หลังจากได้ประกาศเชิญชวน ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.-18 มิ.ย.2550 ที่ผ่านมา ปรากฏความเคลื่อนไหวของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่ขอรับเอกสารข้อกำหนดและเงื่อนไข (TOR) เป็นจำนวนมาก อาทิ บริษัททีทีซี.ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ,กลุ่มเซ็นทรัล, บริษัทสยามฟิวเจอร์ , ธุรกิจในเครือซีพี , เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ฯ , สยามพารากอน , สยามพิวรรธน์ รวมถึง บริษัท พรไพลิน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัดของนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ ผู้บริหารพื้นที่เซ็นเตอร์พอยต์เดิม
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทพรไพรินฯ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่หมดสัญญาเช่าในเซ็นเตอร์พ้อยท์ไปแล้ว บริษัทก็พร้อมประมูลพัฒนาโครงการเซ็นเตอร์พ้อยท์แข่งกับผู้ประกอบการรายใหญ่กว่า 10 รายข้างต้น เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมากับมือ ดังนั้นจึงต้องการที่จะสานโครงการต่อ โดยจะส่งแผนการพัฒนาโครงการและราคาประมูลในวันนี้ (21 ส.ค.)เช่นกัน
ทั้งนี้ จากการสำรวจของบริษัทฯพบว่า มีคนเดินเข้า-ออกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ถึงวันละ 1-2 แสนคน/วัน และมีคนเดิมเข้าไปยังสยามสแควร์ประมาณ 50,000 คน/วัน ดังนั้นหากมีการเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าเข้ากับสยามสแควร์ เชื่อว่าจะทำให้ดึงดูดคนเข้าสู่สยามสแควร์ได้มากขึ้น
ส่วนรูปแบบที่จะพัฒนานั้น ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องการที่จะให้โครงการนี้เป็นประตูหรือเกตเวย์สู่สยามสแควร์ โดยบริษัทเองได้ใช้แนวคิดนี้เช่นกัน โดยจะพัฒนาเป็นศูนย์การค้า ร้านค้า นอกจากจะเป็นประตูสูสยามสแควร์แล้ว ยังเป็นประตูสู่ฝันของวัยรุ่นอีกด้วย เพราะบริษัทเตรียมดึงพันธมิตรที่เป็นโรงเรียนสอนการแสดง ร้องเพลง เต้น และอื่นๆ มาเปิดโรงเรียนสอนภายในศูนย์ดังกล่าว เพื่อที่จะพัฒนาวัยรุ่นไทยให้มีความรู้ความสามารถ ในการก้าวสู่เวทีดารา นักร้อง
"ต่อไปเซ็นเตอร์พ้อยท์จะไม่ใช่เพียงสถานที่เดินเล่น เที่ยว ชอปปิ้ง เท่านั้น แต่ที่นี่จะเป็นเหมือนประตูสู่ฝันของวัยรุ่นไทยที่มีความสามารถ ทุกค่ายเพลง ทุกค่ายดารา จะต้องมาจับจ้องดาวดวงใหม่ที่นี่"
สำหรับการพัฒนานั้น จะสร้างเป็นรูปตัว T ยื่นเข้าสู่สยามสแควร์ เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบริเวณชั้น 3 เนื้อที่ประมาณ 6,000 ตร.ม. คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งตลอดระยะเวลาสัญญาเช่า 15 ปี ทางบริษัทฯได้เสนอผลตอบแทนให้แก่จุฬาฯเป็นวงเงิน 2,000 ล้านบาท
อนึ่ง วัตถุประสงค์การพัฒนาโครงการเซ็นเตอร์พอยต์สยามสแควร์ ซึ่งเนื้อที่ 1 ไร่ 64 ตารางวา และโครงการเกตเวย์ ปัจจุบันเป็นพื้นที่อาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้น 13 คูหานั้น เพื่อพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของศูนย์การค้าสยามสแควร์ เพื่อให้มีทางเข้า (Gateway) สู่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ เชื่อมต่อไปยังพื้นที่บริเวณที่เป็นที่ตั้งเซ็นเตอร์พอยต์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยปรับปรุง (Renovate) อาคารพาณิชย์ จำนวน 13 คูหา ริมถนนพระราม 1 หรือพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวในรูปแบบที่เหมาะสม และเพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ สนับสนุนส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพพื้นที่สยามสแควร์ และเพื่อเป็นการก่อให้เกิดความงดงามทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ และสร้างเอกลักษณ์แก่ศูนย์การค้าสยาม สแควร์
ส่วนขอบเขตในการพัฒนาเซ็นเตอร์พอยต์ ต้องจัดให้มี Landmark Center Point of Siam Square ที่มีเอกลักษณ์ของพื้นที่ไว้บริเวณด้านหน้าริมสยามสแควร์ ซอย 7 ในส่วนที่ 2 โครงการเกตเวย์ ให้มีการบูรณะพัฒนาปรับปรุงอาคารพาณิชย์ 13 ยูนิต โดยใช้โครงสร้างเดิม หรืออาจมีการทุบรื้อได้ทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ,ควรมีลักษณะทางเข้า (Gateway) เพื่อรองรับประชาชนที่มาจากสถานีรถไฟฟ้าและถนนพระราม 1 มายังพื้นที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ และให้มีทางเดินเชื่อมไปยังพื้นที่ตั้งเซ็นเตอร์พอยต์
ก่อนหน้านี้ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ จำกัด ได้ระบุผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 200 จุด เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกระยะ 1 ปี โดยผลการสำรวจพบว่า ในปีที่ผ่านมา ทำเลที่แพงที่สุดขณะนี้ กลายเป็นบริเวณสยามสแควร์ โดยหากเป็นที่ดินเปล่าตกราคาตารางวาละ 640,000 บาท ทั้งนี้ เป็นผลมาจากอิทธิพลของรถไฟฟ้าและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในบริเวณดังกล่าว โดยในปี 49 มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นถึง 16.4% ขณะที่ปี 2548 ยังประเมินเป็นเงินไร่ละ 550,000 บาท แต่ปี 2549 ประเมินใหม่เป็น 640,000 บาท
ทั้งนี้ นอกจากโครงการดังกล่าว ตามแผนแม่บทของทางจุฬาฯ ในระยะเวลา 4 ปีจากนี้ไป มีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ฝั่งถนนบรรทัดทองประมาณ 250 ไร่อีกด้วย แต่การพัฒนาจะแบ่งเป็นระยะๆ ไป โดยคาดว่าในช่วง 2 ปีแรกโครงการที่จะดำเนินการคือ พื้นที่ตลาดสามย่าน และพื้นที่ตรงข้ามกับสี่แยกเจริญผล ซึ่งคาดว่าจะมีการก่อสร้างโครงการที่มีศักยภาพด้านพาณิชย์ขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ
**ผุดซิตี้คอนโดฯสุขุมวิท101/1**
นายพรนริศ กล่าวถึงการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯว่า มีแผนที่จะเปิดขายโครงกาคอนโดมิเนียม ในซ.สุขุมวิท 101/1 บนเนื้อที่ 10 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารสูง 8 ชั้น 6 อาคาร จำนวน 800 ยูนิต ราคาตร.ม.ละ 35,000 บาท ขนาดห้องตั้งแต่ 30-60 ตร.ม. หรือราคาเริ่มต้นที่ 9 แสนบาทถึง 1.3 ล้านบาท คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาประมาณ 2-3 ปี
นายพรนริศ กล่าวต่อว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในย่านอ่อนนุชไปจนถึงซ.แบริ่ง สมุทรปราการ กว่า 20,000 ยูนิต ซึ่งในปัจจุบันโครงการเหล่านั้นสามารถระบายสินค้าออกไปแล้วกว่า 10,000 ยูนิต มียูนิตเหลือขายอีกไม่มากนัก ในขณะที่ความต้องการยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง กำลังซื้อยังมีอีกมาก โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมราคาระดับกลางล่างดังกล่าว