ศาลยกฟ้อง สองพี่น้อง “ลาภวิสุทธิสิน” ตกแต่งบัญชีเท็จ บมจ.ปิคนิค ยื่น ก.ล.ต. สร้างกำไรให้บริษัท ศาลเชื่อพยานจำเลยมีหลักฐานการกู้และการเสียภาษี ระบุสัญญาเช่าถังไม่ขัดกฎหมาย ด้าน ปลัดยุติธรรม และ ดีเอสไอ สั่งสอบหาความจริงทีมทำคดี จงใจทำสำนวนอ่อนหรือไม่
วานนี้(21ธ.ค.)ที่ห้องพิจารณาคดี 7 ศาลอาญากรุงเทพใต้ สนามหลวง ศาลมีคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายธีรัชชานนท์ และ น.ส.สุภาพร ลาภวิสุทธิสิน กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท ปิคนิค คอร์เปอร์เรชั่นจำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นน้องชายและน้องสาวของนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน อดีต รมช.พาณิชย์ ชุดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 22 ราย ซึ่งเป็นกรรมการและโรงงานบรรจุแก๊ส ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307, 308, 311 และ 312 รวม 4 ข้อหา ฐานเป็นกรรมการของบริษัทจำกัด (มหาชน) ร่วมกันกระทำ หรือ ยินยอมให้กระทำบัญชีอันเป็นเท็จเพื่อลวงบุคคลใดๆ , เป็นกรรมการบริษัทกระทำผิดต่อหน้าที่โดยทุจริต เบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัทเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต , กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้ให้กับตนเองและผู้อื่นซึ่งการกระทำนั้นสร้างความเสียหายให้แก่นิติบุคคลนั้น และร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ ที่เป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกที่กรรมการบริษัท กรณีไม่รายงานงบการเงินตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดไว้ ซึ่งบริษัทได้ตกแต่งบัญชีรายได้ระหว่าง 1 เม.ย.- 1 ก.ย. 2547 ให้มีมูลค่าสูงกว่า 400 ล้านบาท
จำเลยทั้ง 22 ปฎิเสธนำสืบต่อสู้ว่า จำเลยที่ 22 คือบมจ.ปิคนิค ได้รับโอนกิจการค้าแก๊สมาจาก บ.ยูเนียนแก๊ส ปิโตรเคมิคอล จก. รวมทั้งเครื่องหมายยี่ห้อปิคนิค โดยได้รับโอนถังแก๊สขนาด 48 กิโลกรัม จำนวน 14,651 ถัง และขนาด 15 กก. จำนวน 108,422 ถัง โดย บมจ.ปิคนิค แบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน 1 งานก่อสร้าง 2 งานค้าแก๊ส และ 3 งานค้าน้ำมัน โดย บจม.ปิคนิค ขายแก๊สให้กับโรงบรรจุแก๊สราว 400 โรง ด้วยการให้ยืมถังแก๊สและเรียกเก็บเงินวางมัดจำค่าเช่าถังแก๊ส ที่จะเป็นส่วนสร้างผลกำไรของกิจการโรงบรรจุแก๊ส ซึ่ง บริษัท ปตท. ผู้นำในการขายแก๊สก็ได้ใช้วิธีการเดียวกัน โดยการวางมัดจำถังแก๊ส บจม.ปิคนิค ได้สอบถามกับบริษัท เอิร์ล แอนด์ ยัง ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีแล้วระบุว่าทำได้ ขณะที่ฝ่ายบริหารการตรวจสอบข้อกฎหมายก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายห้ามหรือขัดต่อระเบียบราชการ รวมถึงเมื่อสอบถามกรมสรรพากรได้รับแจ้งว่าสามารถให้เช่าได้แต่ต้องเสียภาษี ซึ่งในการกระจายถังแก๊สบริษัทได้ให้โรงบรรจุแก๊สทำสัญญาเช่าถัง 42 ฉบับรวม 10 โรง ได้แก่จำเลยที่ 11-20 โดยต้องจ่ายค่าเช่า 20 บาทต่อเดือนต่อถัง และเมื่อครบกำหนด 36 เดือน ให้โรงบรรจุแก๊สใช้ถังแก๊สได้ต่อไปโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน แต่ให้มีเช็คมาวางเป็นหลักประกันค่าเสื่อมราคา โดยในการทำงบการเงินบัญชีรายได้เสนอต่อ กลต. โดย บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 ได้นำรายได้จากค่าเช่าถังแก๊สในแต่ละเดือนมาแยกประเภทเป็นรายได้และบัญชีงบการเงินไตรมาสที่ 2 และ 3 และงบการเงินประจำปี 2547
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า การทำสัญญาเช่าทั้ง 42 ฉบับ เป็นการทำสัญญาอันเป็นเท็จหรือไม่ ศาลเห็นว่า เบื้องต้นโจทก์และจำเลยนำสืบยอมรับกันว่า การเช่าถังแก๊สไม่มีกฎหมายห้ามเพียงแต่ต้องควบคุมว่า ถังแก๊สต้องเป็นของผู้ค้าน้ำมันเท่านั้นเพื่อให้ถังเป็นไปตามมาตรฐาน ม.อ.ก. ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจึงรับฟังได้ว่า สัญญาเช่าทั้ง 42 ฉบับไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งหลังจากที่ บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 ให้จำเลยที่ 11-20 เช่าถังแก๊สแล้ว จำเลยที่ 11- 20 ได้ทยอยจ่ายค่าเช่าจนครบ 36 เดือน ซึ่งโรงบรรจุแก๊สจะได้ประโยชน์จากค่าเช่าถังแก๊สถังละ 2 บาท นอกจากนี้กรรมการผู้จัดการบริษัทเฟิร์สสตาร์ จำกัด ที่ทำการประเมินถังแก๊สในท้องตลาดตามคำสั่งของ ก.ล.ต.ได้เบิกความรับรองว่ามีถังแก๊ส หมุนเวียนในท้องตลาดมากกว่า 200 ล้านถัง มูลค่าตลาดกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับถังแก๊สที่ บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 ได้รับโอนมาจาก บ.ยูเนี่ยนฯ จึงเห็นได้ว่า บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 มีถังแก๊สเพียงพอที่จะส่งมอบให้กับคู่สัญญา ข้อกล่าวหาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมีจำนวนถังแก๊ซในครอบครองไม่เพียงพอ จึงไม่มีน้ำหนัก
ประเด็นต่อที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 และ 2 ได้ร่วมกันจัดทำบัญชีระบุการกู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 22 ให้จำเลยที่ 1 จำนวน 60 ล้านบาท ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีเหตุอันชอบตามกฎหมาย แล้วจำเลยที่ 1 นำเช็คเข้าบัญชีของตนเองเพื่อเรียกเก็บเงินอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของจำเลยที่ 22 หรือไม่ ศาลเห็นว่า จำเลยที่ 1, 2, 10 และ 21 ได้ร่วมกันทำสัญญากู้เงินว่าจำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทจำเลยที่ 21 กู้เงินจาก บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 จำนวน 380 ล้านบาทจริง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุก่อสร้าการก่อสร้าง ศาลเห็นว่าจำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างเหมา สัญญากู้เงิน การรับเงินกู้คืน และหลักฐานการเสียภาษีมาแสดง พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1, 2 , 10 และ 21 นำสืบมีเหตุผลและน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ รับฟังได้ว่ามีการกู้เงินและชำระหนี้คืน จึงไม่มีความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 และ 2 ไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ของ บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 แล้ว ดังนั้น บจม.ปิคนิค จำเลยที่ 22 จึงไม่มีความผิดที่ได้จัดทำงบการเงินไตรมาสที่ 2 และ 3 และงบการเงินปี 2547 อันเป็นเท็จยื่นต่อ ก.ล.ต. พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ไม่มีนำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งหมดกระทำความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง
ภายหลัง นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ อัยการจังหวัดประจำกรมฝ่ายคดีพิเศษ 1 เจ้าของสำนวน กล่าวว่า หลังจากนี้จะต้องรอคัดคำพิพากษาเพื่อตรวจดูรายละเอียดและเหตุผลประกอบการพิจารณาว่าจะยื่นอุทธรณ์ประเด็นใดบ้าง ส่วนข้อกล่าวหาซึ่ง ก.ล.ต.ร้องทุกข์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า นายธีรัชชานนท์ และ น.ส.สุภาพร ยักยอกทรัพย์อีกคดีหนึ่งซึ่งกระทำการในฐานะกรรมการ บมจ.ปิคนิคและเอกชนอีก 2 รายเบิกจ่ายเงินบริษัทจำนวน 1.3 พันล้านบาทออกไปโดยไม่มีผลตอบแทนกลับคืนบริษัทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานและสอบปากคำพยานบุคคลเพื่อสรุปความเห็นสั่งคดีต่อไป
ด้านนายธีรัชชานนท์ กล่าวว่า การถูกฟ้องคดีนี้ ตนไม่ได้มองว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางธุรกิจหรือการเมือง แต่น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดว่าการกระทำของตนเป็นการปั่นหุ้นเพื่อให้มีมูลค่าสูง ซึ่งที่จริงแล้ว ตนในฐานะผู้บริหาร บมจ.ปิคนิค ในขณะนั้นต้องการทำการตลาดรูปแบบใหม่ ซึ่งการให้เช่าถึงแก๊สนั้นได้มีการชำระภาษีอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามรู้สึกดีใจมากที่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ซึ่งจำเลยทั้ง 22 ราย ประกอบด้วย นายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน ,น.ส.สุภาพร ลาภวิสุทธิสิน กรรมการ บมจ.ปิคนิคฯ , นายอนุกูล ตั้งเรืองเกียรติ, นายพิริยะ ถาวร, นายเฉลิมชัย ชุบผา, น.ส.นุชนาฎ ปริกสุวรรณ, นายประเมษ ลอองสุวรรณ, นายทวีทรัพย์ เกริกเกียรติศักดิ์, นายกฤษณ์ โปรยเจริญ, นายพินิจ พุทธศาสตร์, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส เทพารักษ์ จำกัด, บริษัทสังข์อ่องก๊าซ จำกัด, บริษัทอุตสาหกรรม เอส ซีเอส จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส นครปฐม จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส แจ้งวัฒนะ 23 จำกัด, บริษัทลาดกระบัง ปิโตรเลียม จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส ยูนิเวอร์แซล จำกัด, บริษัทปทุมเกตน์ เทรดดิ้ง จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส โพรงมะเดื่อ จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส ธรรมศาลาจำกัด, บริษัท พี.ไดรส์ ซัพพลายส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บมจ. ปิคนิค ฯ
**ดีเอสไอสอบทีมทำคดีปิคนิค**
นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยหลังศาลพิพากษายกฟ้องว่า ตนจะเข้าไปกำกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในคดีปิคนิคฯ โดยการตั้งกรรมการขึ้นเพื่อสอบสวนชุดพนักงานสอบสวนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งตนจะขอดูรายละเอียดทั้งหมดว่ามีจุดบกพร่องอย่างไร
"บางครั้งคนทำงานอาจตั้งใจเต็มที่ ตนอาจจะเข้าไปช่วยวางระบบให้ดีขึ้น แต่ไม่อยากให้นำประเด็นที่ศาลพิพากษายกฟ้องมาเป็นเหตุผลให้การประเมินผลงานเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในดีเอสไอ เพราะจะทำให้เกิดความกดดันและอาจพลาดพลั้งไปถึงผู้บริสุทธิ์ขอให้ยึดหลักทำคดีอาญาด้วยความซื่อสัตย์ รอบคอบ และทำให้เต็มที่ถ้าตรงไหนไม่อยู่ในเกณฑ์ก็ต้องแก้ให้เป็นระบบ"นายจรัญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า คดีปิคนิคฯ เกี่ยวพันกับอดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดเก่า มีใบสั่งการเมืองทำให้สำนวนคดีอ่อนตั้งแต่ชั้นสอบสวนของดีเอสไอหรือไม่ นายจรัญ กล่าวว่า หลักการการทำงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและแพ่ง หรือในงานคดี เราจะไม่รับใบสั่งจากใคร เว้นแต่งานบริหารที่ต้องร่วมมือกับทุกฝ่ายให้งานเดินหน้า ซึ่งในเรื่องคดีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องเข้าใจว่าไม่ควรจะเข้ามาก้าวก่ายหรือสั่งการใด ๆ
“สำหรับคดีสำคัญที่ดีเอสไอสรุปสำนวนสั่งฟ้องหรือส่งสำนวนไปให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปแล้ว ผมจะเรียกดูรายละเอียดในสำนวนคดีอีกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเหมือนคดีปิคนิคฯ ” นายจรัญ กล่าว
ด้าน นายไกรสร บารมีอวยชัย รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่าตนจะส่งเจ้าหน้าที่ไปขอคัดสำเนาคำพิพากษาของศาลและจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบหลักฐานในสำนวนคดีที่ดีเอสไอสอบสวนและรวบรวมส่งพนักงานอัยการทั้งหมด ว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ประเด็นที่ศาลพิพากษายกฟ้องมีเหตุผลอย่างไร ทั้งนี้ ตั้งแต่ตนเข้ามารักษาการอธิบดีดีเอสไอเป็นห่วงในประเด็นนี้มาตลอด ว่าการสอบสวนคดีสำคัญต้องทำให้รอบคอบ รัดกุม เพราะถ้าเร่งรีบไปถึงศาลแล้วอาจยกฟ้อง โดยตนจะยกคดีปิคนิคฯ ขึ้นมาเป็นคดีตัวอย่างให้ดีเอสไอทำสำนวนให้รัดกุมรอบคอบมากขึ้น โดยเฉพาะกับคดีทุจริตจัดซื้อรถ เรือ และอุปกรณ์ดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร
“การที่ผมคัดค้านไม่ให้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาคดีทุจริตขายสินทรัพย์กลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ก็เป็นเพราะกังวลว่า หากได้หลักฐานไม่ครบถ้วน ศาลอาจพิพากษายกฟ้อง แต่คนในดีเอสไอก็มากล่าวหาว่าผมประวิงเวลาคดีปิคนิคฯ เป็นตัวอย่างให้เห็นแล้ว การสั่งฟ้องคดีต้องทำด้วยความรัดกุมต้องปิดช่องโหว่ทั้งหมด จะได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตัวจริงได้” นายไกรสร กล่าว
นายไกรสร กล่าวด้วยว่า สำหรับการยื่นอุทธรณ์คดีปิคนิคฯ นั้นจะต้องดูเหตุผลในคำพิพากษาก่อน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเหตุผลที่ศาลยกฟ้องถูกต้องสมควรก็อาจจะไม่อุทธรณ์ แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเหตุผลของศาลยังไม่เหมาะสมดีเอสไอก็จะยื่นอุทธรณ์ต่อไป
วานนี้(21ธ.ค.)ที่ห้องพิจารณาคดี 7 ศาลอาญากรุงเทพใต้ สนามหลวง ศาลมีคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายธีรัชชานนท์ และ น.ส.สุภาพร ลาภวิสุทธิสิน กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท ปิคนิค คอร์เปอร์เรชั่นจำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นน้องชายและน้องสาวของนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน อดีต รมช.พาณิชย์ ชุดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 22 ราย ซึ่งเป็นกรรมการและโรงงานบรรจุแก๊ส ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307, 308, 311 และ 312 รวม 4 ข้อหา ฐานเป็นกรรมการของบริษัทจำกัด (มหาชน) ร่วมกันกระทำ หรือ ยินยอมให้กระทำบัญชีอันเป็นเท็จเพื่อลวงบุคคลใดๆ , เป็นกรรมการบริษัทกระทำผิดต่อหน้าที่โดยทุจริต เบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัทเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต , กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้ให้กับตนเองและผู้อื่นซึ่งการกระทำนั้นสร้างความเสียหายให้แก่นิติบุคคลนั้น และร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆ ที่เป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกที่กรรมการบริษัท กรณีไม่รายงานงบการเงินตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดไว้ ซึ่งบริษัทได้ตกแต่งบัญชีรายได้ระหว่าง 1 เม.ย.- 1 ก.ย. 2547 ให้มีมูลค่าสูงกว่า 400 ล้านบาท
จำเลยทั้ง 22 ปฎิเสธนำสืบต่อสู้ว่า จำเลยที่ 22 คือบมจ.ปิคนิค ได้รับโอนกิจการค้าแก๊สมาจาก บ.ยูเนียนแก๊ส ปิโตรเคมิคอล จก. รวมทั้งเครื่องหมายยี่ห้อปิคนิค โดยได้รับโอนถังแก๊สขนาด 48 กิโลกรัม จำนวน 14,651 ถัง และขนาด 15 กก. จำนวน 108,422 ถัง โดย บมจ.ปิคนิค แบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน 1 งานก่อสร้าง 2 งานค้าแก๊ส และ 3 งานค้าน้ำมัน โดย บจม.ปิคนิค ขายแก๊สให้กับโรงบรรจุแก๊สราว 400 โรง ด้วยการให้ยืมถังแก๊สและเรียกเก็บเงินวางมัดจำค่าเช่าถังแก๊ส ที่จะเป็นส่วนสร้างผลกำไรของกิจการโรงบรรจุแก๊ส ซึ่ง บริษัท ปตท. ผู้นำในการขายแก๊สก็ได้ใช้วิธีการเดียวกัน โดยการวางมัดจำถังแก๊ส บจม.ปิคนิค ได้สอบถามกับบริษัท เอิร์ล แอนด์ ยัง ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีแล้วระบุว่าทำได้ ขณะที่ฝ่ายบริหารการตรวจสอบข้อกฎหมายก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายห้ามหรือขัดต่อระเบียบราชการ รวมถึงเมื่อสอบถามกรมสรรพากรได้รับแจ้งว่าสามารถให้เช่าได้แต่ต้องเสียภาษี ซึ่งในการกระจายถังแก๊สบริษัทได้ให้โรงบรรจุแก๊สทำสัญญาเช่าถัง 42 ฉบับรวม 10 โรง ได้แก่จำเลยที่ 11-20 โดยต้องจ่ายค่าเช่า 20 บาทต่อเดือนต่อถัง และเมื่อครบกำหนด 36 เดือน ให้โรงบรรจุแก๊สใช้ถังแก๊สได้ต่อไปโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน แต่ให้มีเช็คมาวางเป็นหลักประกันค่าเสื่อมราคา โดยในการทำงบการเงินบัญชีรายได้เสนอต่อ กลต. โดย บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 ได้นำรายได้จากค่าเช่าถังแก๊สในแต่ละเดือนมาแยกประเภทเป็นรายได้และบัญชีงบการเงินไตรมาสที่ 2 และ 3 และงบการเงินประจำปี 2547
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า การทำสัญญาเช่าทั้ง 42 ฉบับ เป็นการทำสัญญาอันเป็นเท็จหรือไม่ ศาลเห็นว่า เบื้องต้นโจทก์และจำเลยนำสืบยอมรับกันว่า การเช่าถังแก๊สไม่มีกฎหมายห้ามเพียงแต่ต้องควบคุมว่า ถังแก๊สต้องเป็นของผู้ค้าน้ำมันเท่านั้นเพื่อให้ถังเป็นไปตามมาตรฐาน ม.อ.ก. ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจึงรับฟังได้ว่า สัญญาเช่าทั้ง 42 ฉบับไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งหลังจากที่ บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 ให้จำเลยที่ 11-20 เช่าถังแก๊สแล้ว จำเลยที่ 11- 20 ได้ทยอยจ่ายค่าเช่าจนครบ 36 เดือน ซึ่งโรงบรรจุแก๊สจะได้ประโยชน์จากค่าเช่าถังแก๊สถังละ 2 บาท นอกจากนี้กรรมการผู้จัดการบริษัทเฟิร์สสตาร์ จำกัด ที่ทำการประเมินถังแก๊สในท้องตลาดตามคำสั่งของ ก.ล.ต.ได้เบิกความรับรองว่ามีถังแก๊ส หมุนเวียนในท้องตลาดมากกว่า 200 ล้านถัง มูลค่าตลาดกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับถังแก๊สที่ บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 ได้รับโอนมาจาก บ.ยูเนี่ยนฯ จึงเห็นได้ว่า บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 มีถังแก๊สเพียงพอที่จะส่งมอบให้กับคู่สัญญา ข้อกล่าวหาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมีจำนวนถังแก๊ซในครอบครองไม่เพียงพอ จึงไม่มีน้ำหนัก
ประเด็นต่อที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 และ 2 ได้ร่วมกันจัดทำบัญชีระบุการกู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 22 ให้จำเลยที่ 1 จำนวน 60 ล้านบาท ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีเหตุอันชอบตามกฎหมาย แล้วจำเลยที่ 1 นำเช็คเข้าบัญชีของตนเองเพื่อเรียกเก็บเงินอันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของจำเลยที่ 22 หรือไม่ ศาลเห็นว่า จำเลยที่ 1, 2, 10 และ 21 ได้ร่วมกันทำสัญญากู้เงินว่าจำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทจำเลยที่ 21 กู้เงินจาก บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 จำนวน 380 ล้านบาทจริง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุก่อสร้าการก่อสร้าง ศาลเห็นว่าจำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างเหมา สัญญากู้เงิน การรับเงินกู้คืน และหลักฐานการเสียภาษีมาแสดง พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1, 2 , 10 และ 21 นำสืบมีเหตุผลและน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ รับฟังได้ว่ามีการกู้เงินและชำระหนี้คืน จึงไม่มีความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 และ 2 ไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ของ บมจ.ปิคนิค จำเลยที่ 22 แล้ว ดังนั้น บจม.ปิคนิค จำเลยที่ 22 จึงไม่มีความผิดที่ได้จัดทำงบการเงินไตรมาสที่ 2 และ 3 และงบการเงินปี 2547 อันเป็นเท็จยื่นต่อ ก.ล.ต. พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ไม่มีนำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งหมดกระทำความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง
ภายหลัง นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ อัยการจังหวัดประจำกรมฝ่ายคดีพิเศษ 1 เจ้าของสำนวน กล่าวว่า หลังจากนี้จะต้องรอคัดคำพิพากษาเพื่อตรวจดูรายละเอียดและเหตุผลประกอบการพิจารณาว่าจะยื่นอุทธรณ์ประเด็นใดบ้าง ส่วนข้อกล่าวหาซึ่ง ก.ล.ต.ร้องทุกข์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า นายธีรัชชานนท์ และ น.ส.สุภาพร ยักยอกทรัพย์อีกคดีหนึ่งซึ่งกระทำการในฐานะกรรมการ บมจ.ปิคนิคและเอกชนอีก 2 รายเบิกจ่ายเงินบริษัทจำนวน 1.3 พันล้านบาทออกไปโดยไม่มีผลตอบแทนกลับคืนบริษัทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานและสอบปากคำพยานบุคคลเพื่อสรุปความเห็นสั่งคดีต่อไป
ด้านนายธีรัชชานนท์ กล่าวว่า การถูกฟ้องคดีนี้ ตนไม่ได้มองว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางธุรกิจหรือการเมือง แต่น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดว่าการกระทำของตนเป็นการปั่นหุ้นเพื่อให้มีมูลค่าสูง ซึ่งที่จริงแล้ว ตนในฐานะผู้บริหาร บมจ.ปิคนิค ในขณะนั้นต้องการทำการตลาดรูปแบบใหม่ ซึ่งการให้เช่าถึงแก๊สนั้นได้มีการชำระภาษีอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามรู้สึกดีใจมากที่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ซึ่งจำเลยทั้ง 22 ราย ประกอบด้วย นายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน ,น.ส.สุภาพร ลาภวิสุทธิสิน กรรมการ บมจ.ปิคนิคฯ , นายอนุกูล ตั้งเรืองเกียรติ, นายพิริยะ ถาวร, นายเฉลิมชัย ชุบผา, น.ส.นุชนาฎ ปริกสุวรรณ, นายประเมษ ลอองสุวรรณ, นายทวีทรัพย์ เกริกเกียรติศักดิ์, นายกฤษณ์ โปรยเจริญ, นายพินิจ พุทธศาสตร์, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส เทพารักษ์ จำกัด, บริษัทสังข์อ่องก๊าซ จำกัด, บริษัทอุตสาหกรรม เอส ซีเอส จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส นครปฐม จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส แจ้งวัฒนะ 23 จำกัด, บริษัทลาดกระบัง ปิโตรเลียม จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส ยูนิเวอร์แซล จำกัด, บริษัทปทุมเกตน์ เทรดดิ้ง จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส โพรงมะเดื่อ จำกัด, บริษัทโรงบรรจุแก๊ส ธรรมศาลาจำกัด, บริษัท พี.ไดรส์ ซัพพลายส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บมจ. ปิคนิค ฯ
**ดีเอสไอสอบทีมทำคดีปิคนิค**
นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยหลังศาลพิพากษายกฟ้องว่า ตนจะเข้าไปกำกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในคดีปิคนิคฯ โดยการตั้งกรรมการขึ้นเพื่อสอบสวนชุดพนักงานสอบสวนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งตนจะขอดูรายละเอียดทั้งหมดว่ามีจุดบกพร่องอย่างไร
"บางครั้งคนทำงานอาจตั้งใจเต็มที่ ตนอาจจะเข้าไปช่วยวางระบบให้ดีขึ้น แต่ไม่อยากให้นำประเด็นที่ศาลพิพากษายกฟ้องมาเป็นเหตุผลให้การประเมินผลงานเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในดีเอสไอ เพราะจะทำให้เกิดความกดดันและอาจพลาดพลั้งไปถึงผู้บริสุทธิ์ขอให้ยึดหลักทำคดีอาญาด้วยความซื่อสัตย์ รอบคอบ และทำให้เต็มที่ถ้าตรงไหนไม่อยู่ในเกณฑ์ก็ต้องแก้ให้เป็นระบบ"นายจรัญ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า คดีปิคนิคฯ เกี่ยวพันกับอดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดเก่า มีใบสั่งการเมืองทำให้สำนวนคดีอ่อนตั้งแต่ชั้นสอบสวนของดีเอสไอหรือไม่ นายจรัญ กล่าวว่า หลักการการทำงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและแพ่ง หรือในงานคดี เราจะไม่รับใบสั่งจากใคร เว้นแต่งานบริหารที่ต้องร่วมมือกับทุกฝ่ายให้งานเดินหน้า ซึ่งในเรื่องคดีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องเข้าใจว่าไม่ควรจะเข้ามาก้าวก่ายหรือสั่งการใด ๆ
“สำหรับคดีสำคัญที่ดีเอสไอสรุปสำนวนสั่งฟ้องหรือส่งสำนวนไปให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปแล้ว ผมจะเรียกดูรายละเอียดในสำนวนคดีอีกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเหมือนคดีปิคนิคฯ ” นายจรัญ กล่าว
ด้าน นายไกรสร บารมีอวยชัย รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่าตนจะส่งเจ้าหน้าที่ไปขอคัดสำเนาคำพิพากษาของศาลและจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบหลักฐานในสำนวนคดีที่ดีเอสไอสอบสวนและรวบรวมส่งพนักงานอัยการทั้งหมด ว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ประเด็นที่ศาลพิพากษายกฟ้องมีเหตุผลอย่างไร ทั้งนี้ ตั้งแต่ตนเข้ามารักษาการอธิบดีดีเอสไอเป็นห่วงในประเด็นนี้มาตลอด ว่าการสอบสวนคดีสำคัญต้องทำให้รอบคอบ รัดกุม เพราะถ้าเร่งรีบไปถึงศาลแล้วอาจยกฟ้อง โดยตนจะยกคดีปิคนิคฯ ขึ้นมาเป็นคดีตัวอย่างให้ดีเอสไอทำสำนวนให้รัดกุมรอบคอบมากขึ้น โดยเฉพาะกับคดีทุจริตจัดซื้อรถ เรือ และอุปกรณ์ดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร
“การที่ผมคัดค้านไม่ให้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาคดีทุจริตขายสินทรัพย์กลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ก็เป็นเพราะกังวลว่า หากได้หลักฐานไม่ครบถ้วน ศาลอาจพิพากษายกฟ้อง แต่คนในดีเอสไอก็มากล่าวหาว่าผมประวิงเวลาคดีปิคนิคฯ เป็นตัวอย่างให้เห็นแล้ว การสั่งฟ้องคดีต้องทำด้วยความรัดกุมต้องปิดช่องโหว่ทั้งหมด จะได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตัวจริงได้” นายไกรสร กล่าว
นายไกรสร กล่าวด้วยว่า สำหรับการยื่นอุทธรณ์คดีปิคนิคฯ นั้นจะต้องดูเหตุผลในคำพิพากษาก่อน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเหตุผลที่ศาลยกฟ้องถูกต้องสมควรก็อาจจะไม่อุทธรณ์ แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเหตุผลของศาลยังไม่เหมาะสมดีเอสไอก็จะยื่นอุทธรณ์ต่อไป