ธอส.คว่ำโครงการประชานิยมยุคทักษิณ ล้มบ้านน็อคดาวน์ ส่วนโครงการที่เหลือผ่อนเกณฑ์เดินหน้าแข่งแบงก์พาณิชย์ต่อ โครงการธอส.-กบข.4 จ่อขึ้นดอกเบี้ยต้นปี “อุ๋ย”แนะปล่อยกู้เข้มงวดตามเกณฑ์แบงก์ชาติ ขณะที่การทำซีเคียวรีไทเซชั่น 4 หมื่นล้านอาจต้องทบทวนอีกครั้ง เพราะไม่ต้องแบกรับปล่อยกู้บ้านเอื้ออาทร พร้อมโชว์ระบบคอร์แบงกิ้งที่ทันสมัยที่สุดในประเทศสามารถอนุมัติสินเชื่อได้ภายใน 1 วัน
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เปิดเผยว่า จากการร่วมหารือกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบนโยบายในการปล่อยสินเชื่อแก่ธอส.ให้มีความระมัดระวังมากขึ้น โดยไม่เน้นอัตราการเติบโตของสินเชื่อและการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ผ่านมา
ซึ่งการดำเนินการนับจากนี้เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยที่ธอส.ปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้าจะต้องไม่เป็นภาระแก่ธอส.ในภายหลัง โดยเฉพาะสินเชื่อที่ปล่อยโดยไม่มีหลักประกันหรือมีความเสี่ยงสูงจนเกินไป ก็ให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว อาทิ บ้านน็อคดาวน์เพื่อผู้มีรายได้น้อย จำนวน 5 แสนยูนิต และในส่วนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนจะเปลี่ยนชื่อโครงการ โดยให้เรียกว่าการปล่อยกู้สินเชื่อบ้านโดยมีสัญญาเช่าเป็นหลักประกัน ซึ่งจะให้สินเชื่อเฉพาะผู้ที่มีสัญญาเช่าเป็นระยะเวลายาวกว่าสัญญาเงินกู้เท่านั้น เช่น ระยะเวลากู้เงิน 20 ปี จะต้องมีสัญญาเช่าเหลืออยู่ 30 ปี เป็นต้น
นอกจากนี้ธอส.ยังได้ยกเลิกโครงการ Mortgage Card หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากเห็นว่าเป็นการให้วงเงินหมุนเวียนโดยไม่กำหนดระยะเวลาการชำระเงินต้นทั้งหมด และมีการกู้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมาะกับการทำธุรกรรมของธอส.ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปล่อยกู้ซื้อบ้านเท่านั้น แต่โครงการนี้เป็นการสร้างภาระหนี้ให้แก่ลูกค้ามากขึ้นและไม่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
“ การดำเนินงานตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ผ่านมา หากโครงการใดพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์และไม่มีความเสี่ยงก็ให้ดำเนินการต่อไป แต่หากโครงการใดที่พิจารณาแล้วว่าไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้าน ก็ต้องพิจารณายกเลิกไป ” นายขรรค์กล่าว
นายขรรค์ กล่าวว่า นอกจากนโยบายภาครัฐบาลแล้ว รมว.คลังยังได้สั่งการให้ธอส.ดำเนินโครงการที่ธอส.วางแผนไว้อยู่แล้วให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริษัทประกันสินเชื่อ Mortgage Insurance ซึ่งมอบหมายให้ธอส.หาบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาร่วมทุนดำเนินการ และเมื่อบริษัทประกันสินเชื่อสามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็งแล้วก็ให้ธอส.ถอนตัวออกมาแล้วให้เอกชนดำเนินการเต็มรูปแบบ
ขณะที่ การทำซีเคียวรีไทเซชั่นพอร์ตสินเชื่อลูกค้าธนาคาร วงเงิน 40,000 ล้านบาทนั้น ในอนาคตอาจไม่มีความจำเป็นต้องทำเต็มวงเงินดังกล่าว เนื่องจากการปล่อยกู้ของธนาคารในระยะต่อไป ไม่ต้องใช้วงเงินสำหรับปล่อยกู้มาก และต้องพิจารณาความจำเป็นในการใช้เงินในแต่ละปีประกอบการทำซีเคียวรีไทเซชั่นนด้วย เพราะเมื่อทำซีเคียวรีไทเซชั่นแล้วอาจมีภาระผูกพันกับต้นทุนดอกเบี้ยด้วย
อย่างไรก็ตามในปี 2550 ระบบ Core Banking ของธนาคารจะมีการเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาและทดลองระบบมากว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งหากระบบดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะทำให้การปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร มีความทันสมัยที่สุดในประเทศไทย โดยธนาคารจะมีศักยภาพในการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อได้ภายใน 1 วันหากลูกค้าที่กู้เงินยื่นเอกสารครบสมบูรณ์
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เปิดเผยว่า จากการร่วมหารือกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบนโยบายในการปล่อยสินเชื่อแก่ธอส.ให้มีความระมัดระวังมากขึ้น โดยไม่เน้นอัตราการเติบโตของสินเชื่อและการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ผ่านมา
ซึ่งการดำเนินการนับจากนี้เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยที่ธอส.ปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้าจะต้องไม่เป็นภาระแก่ธอส.ในภายหลัง โดยเฉพาะสินเชื่อที่ปล่อยโดยไม่มีหลักประกันหรือมีความเสี่ยงสูงจนเกินไป ก็ให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว อาทิ บ้านน็อคดาวน์เพื่อผู้มีรายได้น้อย จำนวน 5 แสนยูนิต และในส่วนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนจะเปลี่ยนชื่อโครงการ โดยให้เรียกว่าการปล่อยกู้สินเชื่อบ้านโดยมีสัญญาเช่าเป็นหลักประกัน ซึ่งจะให้สินเชื่อเฉพาะผู้ที่มีสัญญาเช่าเป็นระยะเวลายาวกว่าสัญญาเงินกู้เท่านั้น เช่น ระยะเวลากู้เงิน 20 ปี จะต้องมีสัญญาเช่าเหลืออยู่ 30 ปี เป็นต้น
นอกจากนี้ธอส.ยังได้ยกเลิกโครงการ Mortgage Card หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากเห็นว่าเป็นการให้วงเงินหมุนเวียนโดยไม่กำหนดระยะเวลาการชำระเงินต้นทั้งหมด และมีการกู้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมาะกับการทำธุรกรรมของธอส.ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปล่อยกู้ซื้อบ้านเท่านั้น แต่โครงการนี้เป็นการสร้างภาระหนี้ให้แก่ลูกค้ามากขึ้นและไม่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
“ การดำเนินงานตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ผ่านมา หากโครงการใดพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์และไม่มีความเสี่ยงก็ให้ดำเนินการต่อไป แต่หากโครงการใดที่พิจารณาแล้วว่าไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและผู้ที่ต้องการจะซื้อบ้าน ก็ต้องพิจารณายกเลิกไป ” นายขรรค์กล่าว
นายขรรค์ กล่าวว่า นอกจากนโยบายภาครัฐบาลแล้ว รมว.คลังยังได้สั่งการให้ธอส.ดำเนินโครงการที่ธอส.วางแผนไว้อยู่แล้วให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริษัทประกันสินเชื่อ Mortgage Insurance ซึ่งมอบหมายให้ธอส.หาบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาร่วมทุนดำเนินการ และเมื่อบริษัทประกันสินเชื่อสามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็งแล้วก็ให้ธอส.ถอนตัวออกมาแล้วให้เอกชนดำเนินการเต็มรูปแบบ
ขณะที่ การทำซีเคียวรีไทเซชั่นพอร์ตสินเชื่อลูกค้าธนาคาร วงเงิน 40,000 ล้านบาทนั้น ในอนาคตอาจไม่มีความจำเป็นต้องทำเต็มวงเงินดังกล่าว เนื่องจากการปล่อยกู้ของธนาคารในระยะต่อไป ไม่ต้องใช้วงเงินสำหรับปล่อยกู้มาก และต้องพิจารณาความจำเป็นในการใช้เงินในแต่ละปีประกอบการทำซีเคียวรีไทเซชั่นนด้วย เพราะเมื่อทำซีเคียวรีไทเซชั่นแล้วอาจมีภาระผูกพันกับต้นทุนดอกเบี้ยด้วย
อย่างไรก็ตามในปี 2550 ระบบ Core Banking ของธนาคารจะมีการเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาและทดลองระบบมากว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งหากระบบดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะทำให้การปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร มีความทันสมัยที่สุดในประเทศไทย โดยธนาคารจะมีศักยภาพในการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อได้ภายใน 1 วันหากลูกค้าที่กู้เงินยื่นเอกสารครบสมบูรณ์