ก.ล.ต.เผยระบบตรวจสอบลงโทษมาร์เกตติ้งเป็นไปตามกระบวนการ ย้ำเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท เผยแต่ละกรณีจะเร็วหรือช้าเป็นเรื่องปกติระบุต้องให้เวลาผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง ยืนยันพร้อมรับเรื่องร้องจากนักลงทุนทุกเรื่อง
นายประเวศ องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโสสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต.กล่าวถึงกรณีการลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งว่ากระบวนการตรวจสอบของสำนักงานก.ล.ต.มีทั้งการตรวจสอบจากการรับเรื่องร้องเรียนจากนักลงทุนในกรณีต่างๆ เช่น เรื่องการส่งคำสั่งซื้อขายเองโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากนักลงทุน หรือการตรวจสอบแบบเฉพาะกิจ เช่น การตรวจสอบเรื่องการปล่อยกู้กับนักลงทุนเพื่อให้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเรื่องการป้องกันความเสี่ยง
ทั้งนี้กระบวนการและขั้นตอนในการตรวจสอบแต่ละเรื่องแต่ละกรณีก็มีระยะเวลาในการตรวจสอบที่แตกต่างกัน โดยในการบางกรณีอาจจะใช้เวลาในการตรวจสอบระยะสั้นแต่บางกรณีอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบนาน แต่อย่างต่ำต้องไม่ต่ำกว่า 90 วันซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบเนื่องจากจะต้องให้ผู้ที่ถูกกล่าวหามีการชี้แจงข้อมูลตามกระบวนการให้ครบถ้วน
"ก.ล.ต.พร้อมรับเรื่องร้องเรียนจากนักลงทุนทุกเรื่องเพื่อดำเนินการตรวจสอบ แต่การตรวจสอบในแต่ละเรื่องใช้เวลาต่างกัน ซึ่งกระบวนการและขั้นตอนต่างๆจะต้องเป็นไปตามกระบวนการทั้งหมด"นายประเวศกล่าว
ในส่วนของการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ก็จะมีขั้นตอนและการตรวจสอบตามขั้นตอนอยู่ กรณีการตรวจสอบเจ้าหน้าที่การตลาดจะไม่ส่งผลต่อการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นต้นสังกัดเนื่องจากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องของตัวบุคคล และถือว่าเป็นจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่แต่ละราย ซึ่งระดับการตรวจสอบรวมถึงบทลงโทษจะมีการพิจารณาควบคู่กับข้อมูลในอดีต โดยจะมีการตรวจสอบถึงพฤติกรรมในอดีตว่ามีการภาคทัณฑ์หรือบทลงโทษหรือไม่อย่างไร
นายประเวศ กล่าวอีกว่า ระบบการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งสำนักงานก.ล.ต.จะเข้าไปดูและเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับของสำนักงาน เช่น การตรวจสอบทุนจดทะเบียน การตรวจระบบการจัดการระบบบันทึกข้อมูลระหว่างมาร์เกตติ้งกับลูกค้า ซึ่งเรื่องดังกล่าวนอกจากจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับบริษัทหลักทรัพย์ยังเป็นการปกป้องเจ้าหน้าที่อีกด้วย
"นอกเหนือจากที่เราจะตรวจสอบเจ้าหน้าที่การตลาด เรายังมีการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมดอยู่โดยตลอดเพื่อให้ทุกแห่งปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ"นายประเวศกล่าว
อนึ่งในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2549ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง)รวม 16 ราย แบ่งเป็น เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ 3ราย สั่งพักการให้ความเห็นชอบ 1 ราย สั่งภาคทัณฑ์การให้ความเห็นชอบ 6 ราย และสั่งภาคทัณฑ์ผู้ให้คำแนะนำการลงทุน 1 รายและภาคทัณฑ์ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน 5 ราย
นายประเวศ องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโสสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต.กล่าวถึงกรณีการลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งว่ากระบวนการตรวจสอบของสำนักงานก.ล.ต.มีทั้งการตรวจสอบจากการรับเรื่องร้องเรียนจากนักลงทุนในกรณีต่างๆ เช่น เรื่องการส่งคำสั่งซื้อขายเองโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากนักลงทุน หรือการตรวจสอบแบบเฉพาะกิจ เช่น การตรวจสอบเรื่องการปล่อยกู้กับนักลงทุนเพื่อให้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเรื่องการป้องกันความเสี่ยง
ทั้งนี้กระบวนการและขั้นตอนในการตรวจสอบแต่ละเรื่องแต่ละกรณีก็มีระยะเวลาในการตรวจสอบที่แตกต่างกัน โดยในการบางกรณีอาจจะใช้เวลาในการตรวจสอบระยะสั้นแต่บางกรณีอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบนาน แต่อย่างต่ำต้องไม่ต่ำกว่า 90 วันซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบเนื่องจากจะต้องให้ผู้ที่ถูกกล่าวหามีการชี้แจงข้อมูลตามกระบวนการให้ครบถ้วน
"ก.ล.ต.พร้อมรับเรื่องร้องเรียนจากนักลงทุนทุกเรื่องเพื่อดำเนินการตรวจสอบ แต่การตรวจสอบในแต่ละเรื่องใช้เวลาต่างกัน ซึ่งกระบวนการและขั้นตอนต่างๆจะต้องเป็นไปตามกระบวนการทั้งหมด"นายประเวศกล่าว
ในส่วนของการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ก็จะมีขั้นตอนและการตรวจสอบตามขั้นตอนอยู่ กรณีการตรวจสอบเจ้าหน้าที่การตลาดจะไม่ส่งผลต่อการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นต้นสังกัดเนื่องจากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องของตัวบุคคล และถือว่าเป็นจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่แต่ละราย ซึ่งระดับการตรวจสอบรวมถึงบทลงโทษจะมีการพิจารณาควบคู่กับข้อมูลในอดีต โดยจะมีการตรวจสอบถึงพฤติกรรมในอดีตว่ามีการภาคทัณฑ์หรือบทลงโทษหรือไม่อย่างไร
นายประเวศ กล่าวอีกว่า ระบบการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งสำนักงานก.ล.ต.จะเข้าไปดูและเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับของสำนักงาน เช่น การตรวจสอบทุนจดทะเบียน การตรวจระบบการจัดการระบบบันทึกข้อมูลระหว่างมาร์เกตติ้งกับลูกค้า ซึ่งเรื่องดังกล่าวนอกจากจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับบริษัทหลักทรัพย์ยังเป็นการปกป้องเจ้าหน้าที่อีกด้วย
"นอกเหนือจากที่เราจะตรวจสอบเจ้าหน้าที่การตลาด เรายังมีการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมดอยู่โดยตลอดเพื่อให้ทุกแห่งปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ"นายประเวศกล่าว
อนึ่งในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2549ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง)รวม 16 ราย แบ่งเป็น เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ 3ราย สั่งพักการให้ความเห็นชอบ 1 ราย สั่งภาคทัณฑ์การให้ความเห็นชอบ 6 ราย และสั่งภาคทัณฑ์ผู้ให้คำแนะนำการลงทุน 1 รายและภาคทัณฑ์ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน 5 ราย