ธนาคารอิสลามฯ เปิด "บัญชีซะกาต " เป็นองค์กรแรกของประเทศ เพื่อให้พี่น้องชาวมุสลิมใช้เป็นช่องทางในการช่วยเหลือผู้อยากไร้ และผู้ที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
นายรัชสุวรรณ ปิดพยันต์ รองผู้จัดการและรักษาการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และนายอรุณ บุญชม ที่ปรึกษาด้านศาสนา ของธนาคารได้แถลงร่วมกันเกี่ยวกับการเปิด "บัญชีซะกาต" เป็นองค์แรกแห่งของประเทศ เพราะตามหลักศาสนาอิสลาม ผู้มีทรัพย์สิน เช่น ทองคำ เงิน ปศุสัตว์ ธัญพืช จำนวนมาก จำเป็นต้องแบ่งปันหรือจัดสรร ทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ คนจน ผู้อยากไร้ คนมีหนี้สิน เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือทำการประกอบอาชีพได้ โดยผู้ที่มีทองคำประมาณ 6 บาท หรือมีเงินฝากเกิน 50,000 บาท จะต้องบริจาคเงินให้แก่ผู้ต้องการรับซะกาตประมาณร้อยละ 2.5 หรือประมาณ 1,281 บาท
ดังนั้นผู้นับถืออิสลามจะสามารถมีช่องทางเพิ่มเติมในการจ่ายซะกาต โดยให้ธนาคารโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนเองไปยังบัญชีซะกาต นอกจากการบริจาคที่มัสยิด เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้เป็นระบบมากขึ้น สำหรับเงินในบัญชีดังกล่าวจะมากน้อยแค่ไหนต้องรอดูในช่วงการถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอนของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงของการทำบุญ และเงินช่วยเหลือส่วนใหญ่ก็จะไปสู่พื้นที่เป็นเงินฝากของตนเอง และบัญชีเงินฝากส่วนใหญ่ที่มีอยู่ 30,000 บัญชี มาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประมาณร้อย 70 ที่มีเงินฝากเกิน 50,000 บาท ที่ต้องจ่ายซะกาต ดังนั้นเงินช่วยเหลือน่าจะลงไปยังพื้นที่ดังกล่าวมากที่สุด
นายรัชสุวรรณ ปิดพยันต์ รองผู้จัดการและรักษาการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และนายอรุณ บุญชม ที่ปรึกษาด้านศาสนา ของธนาคารได้แถลงร่วมกันเกี่ยวกับการเปิด "บัญชีซะกาต" เป็นองค์แรกแห่งของประเทศ เพราะตามหลักศาสนาอิสลาม ผู้มีทรัพย์สิน เช่น ทองคำ เงิน ปศุสัตว์ ธัญพืช จำนวนมาก จำเป็นต้องแบ่งปันหรือจัดสรร ทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ คนจน ผู้อยากไร้ คนมีหนี้สิน เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือทำการประกอบอาชีพได้ โดยผู้ที่มีทองคำประมาณ 6 บาท หรือมีเงินฝากเกิน 50,000 บาท จะต้องบริจาคเงินให้แก่ผู้ต้องการรับซะกาตประมาณร้อยละ 2.5 หรือประมาณ 1,281 บาท
ดังนั้นผู้นับถืออิสลามจะสามารถมีช่องทางเพิ่มเติมในการจ่ายซะกาต โดยให้ธนาคารโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนเองไปยังบัญชีซะกาต นอกจากการบริจาคที่มัสยิด เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้เป็นระบบมากขึ้น สำหรับเงินในบัญชีดังกล่าวจะมากน้อยแค่ไหนต้องรอดูในช่วงการถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอนของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงของการทำบุญ และเงินช่วยเหลือส่วนใหญ่ก็จะไปสู่พื้นที่เป็นเงินฝากของตนเอง และบัญชีเงินฝากส่วนใหญ่ที่มีอยู่ 30,000 บัญชี มาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประมาณร้อย 70 ที่มีเงินฝากเกิน 50,000 บาท ที่ต้องจ่ายซะกาต ดังนั้นเงินช่วยเหลือน่าจะลงไปยังพื้นที่ดังกล่าวมากที่สุด