โดย ชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ท่านผู้อ่านคงจะได้ยินคำว่า non-bank กันมาบ่อยๆ ตั้งแต่ non-bank เข้ามามีบทบาทด้านการออกบัตรเครดิต และการให้สินเชื่อบุคคล ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา และเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านการเงินส่วนบุคคล จนดูเหมือนทำธุรกิจคล้ายๆ ธนาคารพาณิชย์ (bank) และกลายเป็นที่พึ่งด้านการเงินของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก ที่แต่เดิม บรรดา bank จะไม่ค่อยปล่อยสินเชื่อให้ หากไม่มีหลักประกัน
บางครั้งอาจจะมีผู้สงสัยว่าแล้ว non-bank กับ bank ต่างกันอย่างไร ประการแรกคือ non -bank ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงบริษัทที่ได้ทำธุรกิจการออกบัตรเครดิต หรือการให้สินเชื่อบุคคลที่ประกอบกิจการจริงๆ จังๆ ไม่ใช่ธุรกิจเล็กๆ น้อยๆ ที่ปล่อยกู้เป็นส่วนตัว
Non-bank ดังกล่าว โดยมากจะเป็นบริษัทจำกัด ที่จดทะเบียนขึ้นกับกระทรวงพาณิชย์ เหมือนกับธุรกิจที่ทำการค้าขายโดยทั่วไป ดังนั้น จึงจะไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะสามารถกำกับดูได้เฉพาะธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงิน เท่านั้น นั่น คือข้อแตกต่างประการแรก ดังนั้น จึงทำให้การคิดดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือค่าปรับจากการให้กู้ยืม ไม่อยู่ภายใต้ประกาศของ ธปท.
ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่ง คือต้นทุนของ non-bank ไม่ได้มาจากการรับฝากเงินของประชาชน แต่มาจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น หรือการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์สำหรับบางบริษัท นอกจากนั้น ก็อาจจะมาจากการกู้ยืม ซึ่งอาจจะโดยการกู้ยืมโดยตรง หรือจากการออกหุ้นกู้ เป็นต้น ในขณะที่ต้นทุนของ bank ส่วนใหญ่ มาจากเงินฝากของประชาชน
มาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัย ว่าแล้วการที่ ธปท. ได้ออกกฎเกณฑ์ออกมาควบคุมบัตรเครดิต ทั้งอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ค่าธรรมเนียม รายได้ขั้นต่ำของลูกค้า วงเงินบัตรเครดิต ฯลฯ ทำไมถึงครอบคลุมไปถึง non-bank ด้วย
คำตอบก็คือ ธปท. ไม่สามารถควบคุม non-bank โดยตรงได้ เพราะไม่ใช่สถาบันการเงิน แต่ให้อำนาจตามกฎหมาย คือการนำ ปว.58 (ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ซึ่งออกประกาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515) ที่มีสาระสำคัญ ให้อำนาจฝ่ายบริหาร ออกประกาศควบคุมกิจการค้าขาย อันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุข แห่งสาธารณชน
ทั้งนี้ ธปท. ไม่สามารถนำมาใช้เองได้โดยตรง จะต้องเสนอผ่านกระทรวงการคลัง ซึ่งก็หมายความว่า ต้องมีความเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งเมื่อครั้งนำมาประกาศใช้กับบัตรเครดิตในปี 2547 นั้น มีกระแสที่เห็นว่า การเติบโตของบัตรเครดิตนั้น อยู่ในอัตราที่น่ากลัว ที่อาจจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจได้ จึงได้นำมาบังคับใช้ปฏิบัติ ทำให้ทุกคนอยู่ในระเบียบวินัยอันดีงาม เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
มาบัดนี้ ก็เกิดกระแสการควบคุมการให้สินเชื่อบุคคล เพราะเริ่มมองว่า จะเริ่มก่อให้เกิดปัญหาหรือไม่ ซึ่งก็มีการออกมารำเบิกโรงกันหลายเดือน รวมทั้งการเรียกผู้ประกอบการ ทั้ง bank และ non-bank เข้าไปชี้แจงแถลงไขถึงขั้นตอนการดำเนินงาน การคิดอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ฯลฯ เอาชนิดหมดเปลือก
ผลสุดท้าย ตามข่าวบอกว่า ธปท. ได้มีการนำเสนอหลักเกณฑ์ไปยังกระทรวงการคลังแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้มีการบังคับใช้ซักที ซึ่งในตอนแรก ก็คาดการกันว่า น่าที่จะออกมาบังคับใช้ โดยอิง ปว.58 เหมือนบัตรเครดิต คือครอบคลุมผู้ประกอบการด้านสินเชื่อบุคคลทั้งหมด
แต่เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ พบว่ามีแนวคิดบางแนวคิด ที่ว่าหากจะควบคุมแล้ว ควรจะคุมเฉพาะ bank ไม่ควรคุม non-bank เพราะหลักคือ bank มีการระดมเงินฝากจากประชาชน จึงไม่ทำให้ใครเสียหาย
ดิฉันอ่านข่าวตรงนี้ ถึงกับมึนๆ เหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น คือไม่แน่ใจว่าจริงหรือฝันไป เพราะคิดว่า “ผิดประเด็น” หรือไม่ เนื่องจากแรกเริ่มเดิมที ปัญหาที่รัฐจะต้องเข้ามาดูแลสินเชื่อบุคคล คือ การที่ประชาชนถูกคิดดอกเบี้ยแพง จนถึงกว่า 50ๅ% รวมถึงถูกคิดค่าธรรมเนียม ค่าปรับสารพัด และยังทำให้ผู้มีรายได้น้อยก่อหนี้สิน (บางบริษัท เริ่มต้นให้รายได้ขั้นต่ำของลูกค้าคือ 5,000 บาท)
ซึ่งดิฉันยังไม่เห็นเลย ว่าประเด็นดังกล่าว เกี่ยวข้องกับต้นทุน หรือแหล่งที่มาของทุนอย่างไร ทั้งนี้ ถึงจะเลือกคุมเฉพาะ bank หากผู้ที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน อยู่ภายใต้การควบคุม หรือหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยหน่วยงานของรัฐ ก็จะเกิดความเสมอภาคด้านการค้า
หรือหากจะปล่อยเสรี ก็จะเกิดการแข่งขันเสรี โดยอัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขต่างๆ ก็จะปรับตามสภาพของตลาด แต่ตอนนี้ กลับมีแนวคิดที่ว่า ควบคุม bank แต่ไม่คุม non-bank ดิฉันก็เลยงงๆ เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ของสินเชื่อบุคคลเป็น non-bank ไม่ใช่ bank (ส่วนแบ่งของ bank ประมาณ 20%-30%) และอัตราดอกเบี้ยที่คิดกันในระดับสูงนั้น ก็จาก non-bank เป็นส่วนใหญ่
นอกจากจะเลือกคุม bank ไม่คุม non-bank แล้ว อาจจะมีแนวโน้มในการยกเลิก ปว.58 ซึ่งก็หมายถึง การยึดอาวุธของ ธปท. ที่จะใช้คุม non-bank หาก พ.ร.บ.สถาบันการเงิน ยังไม่มีการนำออกมาใช้ ทำให้เกิดสุญญากาศ
ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงความเหมือน หรือความแตกต่าง ของ bank และ non-bank ส่วนกฎเกณฑ์การควบคุมต่างๆ จะออกมาอย่างไรนั้น หากออกมาจากทางการ ทุกคนก็ต้องปฏิบัติตาม หรืออาจจะร้องเพลง “ฉันเลย OK!”
สนใจสอบถามข้อมูลสามารถส่งมาได้ที่ dcharlotte@krungsri.com หรือ หมายเลขโทรสาร 02-683-1604
ท่านผู้อ่านคงจะได้ยินคำว่า non-bank กันมาบ่อยๆ ตั้งแต่ non-bank เข้ามามีบทบาทด้านการออกบัตรเครดิต และการให้สินเชื่อบุคคล ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา และเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านการเงินส่วนบุคคล จนดูเหมือนทำธุรกิจคล้ายๆ ธนาคารพาณิชย์ (bank) และกลายเป็นที่พึ่งด้านการเงินของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก ที่แต่เดิม บรรดา bank จะไม่ค่อยปล่อยสินเชื่อให้ หากไม่มีหลักประกัน
บางครั้งอาจจะมีผู้สงสัยว่าแล้ว non-bank กับ bank ต่างกันอย่างไร ประการแรกคือ non -bank ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงบริษัทที่ได้ทำธุรกิจการออกบัตรเครดิต หรือการให้สินเชื่อบุคคลที่ประกอบกิจการจริงๆ จังๆ ไม่ใช่ธุรกิจเล็กๆ น้อยๆ ที่ปล่อยกู้เป็นส่วนตัว
Non-bank ดังกล่าว โดยมากจะเป็นบริษัทจำกัด ที่จดทะเบียนขึ้นกับกระทรวงพาณิชย์ เหมือนกับธุรกิจที่ทำการค้าขายโดยทั่วไป ดังนั้น จึงจะไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะสามารถกำกับดูได้เฉพาะธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงิน เท่านั้น นั่น คือข้อแตกต่างประการแรก ดังนั้น จึงทำให้การคิดดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือค่าปรับจากการให้กู้ยืม ไม่อยู่ภายใต้ประกาศของ ธปท.
ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่ง คือต้นทุนของ non-bank ไม่ได้มาจากการรับฝากเงินของประชาชน แต่มาจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น หรือการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์สำหรับบางบริษัท นอกจากนั้น ก็อาจจะมาจากการกู้ยืม ซึ่งอาจจะโดยการกู้ยืมโดยตรง หรือจากการออกหุ้นกู้ เป็นต้น ในขณะที่ต้นทุนของ bank ส่วนใหญ่ มาจากเงินฝากของประชาชน
มาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัย ว่าแล้วการที่ ธปท. ได้ออกกฎเกณฑ์ออกมาควบคุมบัตรเครดิต ทั้งอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ค่าธรรมเนียม รายได้ขั้นต่ำของลูกค้า วงเงินบัตรเครดิต ฯลฯ ทำไมถึงครอบคลุมไปถึง non-bank ด้วย
คำตอบก็คือ ธปท. ไม่สามารถควบคุม non-bank โดยตรงได้ เพราะไม่ใช่สถาบันการเงิน แต่ให้อำนาจตามกฎหมาย คือการนำ ปว.58 (ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ซึ่งออกประกาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515) ที่มีสาระสำคัญ ให้อำนาจฝ่ายบริหาร ออกประกาศควบคุมกิจการค้าขาย อันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุข แห่งสาธารณชน
ทั้งนี้ ธปท. ไม่สามารถนำมาใช้เองได้โดยตรง จะต้องเสนอผ่านกระทรวงการคลัง ซึ่งก็หมายความว่า ต้องมีความเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งเมื่อครั้งนำมาประกาศใช้กับบัตรเครดิตในปี 2547 นั้น มีกระแสที่เห็นว่า การเติบโตของบัตรเครดิตนั้น อยู่ในอัตราที่น่ากลัว ที่อาจจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจได้ จึงได้นำมาบังคับใช้ปฏิบัติ ทำให้ทุกคนอยู่ในระเบียบวินัยอันดีงาม เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
มาบัดนี้ ก็เกิดกระแสการควบคุมการให้สินเชื่อบุคคล เพราะเริ่มมองว่า จะเริ่มก่อให้เกิดปัญหาหรือไม่ ซึ่งก็มีการออกมารำเบิกโรงกันหลายเดือน รวมทั้งการเรียกผู้ประกอบการ ทั้ง bank และ non-bank เข้าไปชี้แจงแถลงไขถึงขั้นตอนการดำเนินงาน การคิดอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ฯลฯ เอาชนิดหมดเปลือก
ผลสุดท้าย ตามข่าวบอกว่า ธปท. ได้มีการนำเสนอหลักเกณฑ์ไปยังกระทรวงการคลังแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้มีการบังคับใช้ซักที ซึ่งในตอนแรก ก็คาดการกันว่า น่าที่จะออกมาบังคับใช้ โดยอิง ปว.58 เหมือนบัตรเครดิต คือครอบคลุมผู้ประกอบการด้านสินเชื่อบุคคลทั้งหมด
แต่เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ พบว่ามีแนวคิดบางแนวคิด ที่ว่าหากจะควบคุมแล้ว ควรจะคุมเฉพาะ bank ไม่ควรคุม non-bank เพราะหลักคือ bank มีการระดมเงินฝากจากประชาชน จึงไม่ทำให้ใครเสียหาย
ดิฉันอ่านข่าวตรงนี้ ถึงกับมึนๆ เหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น คือไม่แน่ใจว่าจริงหรือฝันไป เพราะคิดว่า “ผิดประเด็น” หรือไม่ เนื่องจากแรกเริ่มเดิมที ปัญหาที่รัฐจะต้องเข้ามาดูแลสินเชื่อบุคคล คือ การที่ประชาชนถูกคิดดอกเบี้ยแพง จนถึงกว่า 50ๅ% รวมถึงถูกคิดค่าธรรมเนียม ค่าปรับสารพัด และยังทำให้ผู้มีรายได้น้อยก่อหนี้สิน (บางบริษัท เริ่มต้นให้รายได้ขั้นต่ำของลูกค้าคือ 5,000 บาท)
ซึ่งดิฉันยังไม่เห็นเลย ว่าประเด็นดังกล่าว เกี่ยวข้องกับต้นทุน หรือแหล่งที่มาของทุนอย่างไร ทั้งนี้ ถึงจะเลือกคุมเฉพาะ bank หากผู้ที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน อยู่ภายใต้การควบคุม หรือหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยหน่วยงานของรัฐ ก็จะเกิดความเสมอภาคด้านการค้า
หรือหากจะปล่อยเสรี ก็จะเกิดการแข่งขันเสรี โดยอัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขต่างๆ ก็จะปรับตามสภาพของตลาด แต่ตอนนี้ กลับมีแนวคิดที่ว่า ควบคุม bank แต่ไม่คุม non-bank ดิฉันก็เลยงงๆ เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ของสินเชื่อบุคคลเป็น non-bank ไม่ใช่ bank (ส่วนแบ่งของ bank ประมาณ 20%-30%) และอัตราดอกเบี้ยที่คิดกันในระดับสูงนั้น ก็จาก non-bank เป็นส่วนใหญ่
นอกจากจะเลือกคุม bank ไม่คุม non-bank แล้ว อาจจะมีแนวโน้มในการยกเลิก ปว.58 ซึ่งก็หมายถึง การยึดอาวุธของ ธปท. ที่จะใช้คุม non-bank หาก พ.ร.บ.สถาบันการเงิน ยังไม่มีการนำออกมาใช้ ทำให้เกิดสุญญากาศ
ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงความเหมือน หรือความแตกต่าง ของ bank และ non-bank ส่วนกฎเกณฑ์การควบคุมต่างๆ จะออกมาอย่างไรนั้น หากออกมาจากทางการ ทุกคนก็ต้องปฏิบัติตาม หรืออาจจะร้องเพลง “ฉันเลย OK!”
สนใจสอบถามข้อมูลสามารถส่งมาได้ที่ dcharlotte@krungsri.com หรือ หมายเลขโทรสาร 02-683-1604