เอเอฟพี/รอยเตอร์ – ราคาน้ำมันดีดกลับทะลุ 48 ดอลลาร์อีกรอบ จากความกังวลว่าโอเปกอาจลดกำลังผลิตเร็วๆ นี้ รวมถึงข่าวแคนาดาให้ข้อมูลการค้าผิดพลาด ซึ่งอาจหมายถึงการปรับเพิ่มจีดีพีของสหรัฐฯ รวมถึงดีมานด์น้ำมัน ขณะที่นักวิเคราะห์ชี้ถ้อยแถลงโอเปกส่งสัญญาณยุคน้ำมันแพง
ราคาน้ำมันดิบสวีทครูดในตลาดนิวยอร์กสัญญาส่งมอบเดือนมีนาคมพุ่งขึ้น 1.02 ดอลลาร์ ปิดการซื้อขายในวันจันทร์ที่บาร์เรลละ 48.20 ดอลลาร์ โดยช่วงเปิดตลาดตกฮวบแตะระดับ 46.05 ดอลลาร์ อันเป็นผลจากมติในที่ประชุมองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ให้คงเพดานการผลิตไว้ที่ 27 ล้านบาร์เรลต่อวัน (บีพีดี) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ที่ลอนดอน น้ำมันดิบชนิดเบรนท์สำหรับการส่งมอบเดือนมีนาคมเดินหน้า 97 เซ็นต์ ปิดที่ 45.92 ดอลลาร์ หลังจากร่วงถึงระดับ 43.64 ดอลลาร์ในช่วงเช้า
การเปลี่ยนทิศทางของราคาน้ำมันเกิดขึ้นหลังจากแคนาดายอมรับว่า ประเมินมูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯประจำเดือนพฤศจิกายนต่ำไปกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งอาจทำให้วอชิงตันต้องปรับเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 เป็น 3.3% จาก 3.1% ที่ประกาศไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
อัลเฟรด โกลด์แมนจากเอที เอ็ดเวิร์ดส์ ชี้ว่าการเติบโตที่สูงขึ้นของสหรัฐฯ จะกระตุ้นให้มีการบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้น และนี่เป็นสาเหตุให้ราคาน้ำมันกลับดีดขึ้น
นอกจากนั้น ตลาดยังกังวลว่า โอเปกอาจตัดสินใจลดกำลังผลิตก่อนการประชุมเดือนมีนาคม สืบเนื่องจากการที่โอเปกระบุไว้ในการประชุมเมื่อวันอาทิตย์ว่า หากราคาน้ำมันดิ่งแรงก่อนวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งเป็นกำหนดหารือ สมาชิกจะนัดประชุมพิเศษกัน
ขณะเดียวกัน อดัม ไซมินสกี้ นักวิเคราะห์ของดอยช์แบงก์ มองว่าราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยจะแพงขึ้นกว่าในอดีต พร้อมเสริมว่ามีโอกาส “ที่เป็นจริงได้” ที่ราคาน้ำมันจะยืนระยะเหนือ 30 ดอลลาร์
และการที่โอเปกระงับกลไกแถบราคาที่ระดับ 22-28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลชั่วคราว รวมถึงการที่ชีค อาหมัด ฟาฮัด อัล-ซาบาห์ ประธานกลุ่ม กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมายังคงเติบโตแข็งแกร่งถึง 5% แม้น้ำมันแพงนั้น ก็ทำให้มีการตีความกันว่า ยุคใหม่ของภาวะน้ำมันแพงกำลังจะเริ่มต้นขึ้น
บรูซ เอเวอร์สแห่งอินเวสเทก ซีเคียวริตี้ส์ มองว่าโอเปกอาจเล็งปกป้องราคาน้ำมันที่ระดับ 40 ดอลลาร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ซาอุดีอาระเบีย สมาชิกทรงอิทธิพลของโอเปก มีแผนใช้จ่ายด้านสังคมขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีรายได้มารองรับ
เอเวอร์สเตือนว่า น้ำมันราคาสูงกว่า 40 ดอลลาร์ จะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเมื่อประจวบกับการอ่อนตัวของดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบสวีทครูดในตลาดนิวยอร์กสัญญาส่งมอบเดือนมีนาคมพุ่งขึ้น 1.02 ดอลลาร์ ปิดการซื้อขายในวันจันทร์ที่บาร์เรลละ 48.20 ดอลลาร์ โดยช่วงเปิดตลาดตกฮวบแตะระดับ 46.05 ดอลลาร์ อันเป็นผลจากมติในที่ประชุมองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ให้คงเพดานการผลิตไว้ที่ 27 ล้านบาร์เรลต่อวัน (บีพีดี) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ที่ลอนดอน น้ำมันดิบชนิดเบรนท์สำหรับการส่งมอบเดือนมีนาคมเดินหน้า 97 เซ็นต์ ปิดที่ 45.92 ดอลลาร์ หลังจากร่วงถึงระดับ 43.64 ดอลลาร์ในช่วงเช้า
การเปลี่ยนทิศทางของราคาน้ำมันเกิดขึ้นหลังจากแคนาดายอมรับว่า ประเมินมูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯประจำเดือนพฤศจิกายนต่ำไปกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งอาจทำให้วอชิงตันต้องปรับเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 เป็น 3.3% จาก 3.1% ที่ประกาศไปเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
อัลเฟรด โกลด์แมนจากเอที เอ็ดเวิร์ดส์ ชี้ว่าการเติบโตที่สูงขึ้นของสหรัฐฯ จะกระตุ้นให้มีการบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้น และนี่เป็นสาเหตุให้ราคาน้ำมันกลับดีดขึ้น
นอกจากนั้น ตลาดยังกังวลว่า โอเปกอาจตัดสินใจลดกำลังผลิตก่อนการประชุมเดือนมีนาคม สืบเนื่องจากการที่โอเปกระบุไว้ในการประชุมเมื่อวันอาทิตย์ว่า หากราคาน้ำมันดิ่งแรงก่อนวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งเป็นกำหนดหารือ สมาชิกจะนัดประชุมพิเศษกัน
ขณะเดียวกัน อดัม ไซมินสกี้ นักวิเคราะห์ของดอยช์แบงก์ มองว่าราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยจะแพงขึ้นกว่าในอดีต พร้อมเสริมว่ามีโอกาส “ที่เป็นจริงได้” ที่ราคาน้ำมันจะยืนระยะเหนือ 30 ดอลลาร์
และการที่โอเปกระงับกลไกแถบราคาที่ระดับ 22-28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลชั่วคราว รวมถึงการที่ชีค อาหมัด ฟาฮัด อัล-ซาบาห์ ประธานกลุ่ม กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมายังคงเติบโตแข็งแกร่งถึง 5% แม้น้ำมันแพงนั้น ก็ทำให้มีการตีความกันว่า ยุคใหม่ของภาวะน้ำมันแพงกำลังจะเริ่มต้นขึ้น
บรูซ เอเวอร์สแห่งอินเวสเทก ซีเคียวริตี้ส์ มองว่าโอเปกอาจเล็งปกป้องราคาน้ำมันที่ระดับ 40 ดอลลาร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ซาอุดีอาระเบีย สมาชิกทรงอิทธิพลของโอเปก มีแผนใช้จ่ายด้านสังคมขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีรายได้มารองรับ
เอเวอร์สเตือนว่า น้ำมันราคาสูงกว่า 40 ดอลลาร์ จะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเมื่อประจวบกับการอ่อนตัวของดอลลาร์