ไทยประกันชีวิต-กรมการประกันภัย จับมือร่วมค้าน นโยบายคลัง ตั้งหน่วยงานอิสระกำกับสถาบันการเงิน เหตุไม่เห็นประโยชน์แท้จริง แนะแยกกรมฯ เป็นองค์กรอิสระดีกว่า เพื่อสะดวก-คล่องตัวในการบริหาร อธิบดีกรมการประกันภัยชี้ ธุรกิจประกันภัยต่างจากแบงก์-หลักทรัพย์
นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวถึงนโยบายที่กระทรวงการคลังจะตั้งสถาบันดูแลสถาบันการเงิน (Financial Supervisor Associate-FSA) เพื่อกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมถึงธุรกิจประกันภัย ว่าเรื่องดังกล่าว ต้องศึกษา ยังไม่ได้ออกเป็นนโยบาย เพราะต้องดูด้วยว่า การใช้นโยบายดังกล่าว เหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษา ยังคงต้องพิจารณาต่อไปอีกระยะ
ทางด้านนายปรีดี ขวัญงาม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวว่าจริงๆ แล้ว เรื่องนี้ หากแยกกรมการประกันภัยเป็นองค์กรอิสระ จะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะจะทำให้คล่องตัวขึ้น และอิสระในการบริหาร การติดต่อประสานงานระหว่างกรมการประกันภัยกับภาคธุรกิจ จะเร็วขึ้นด้วย
อีกทั้งยังยกระดับองค์กรให้เป็นสากลมากขึ้น การที่กรมการประกันภัยจะขึ้นกับกระทรวงการคลัง เขายังไม่เห็นภาพชัดเจน ยังไม่สามารถตอบได้ว่า เมื่อเข้าไปแล้ว กรมการประกันภัยจะได้ประโยชน์อะไร จะดีต่อระบบการทำงานอย่างไร จะคล่องตัวขึ้นหรือไม่ ภาคธุรกิจหรือผู้เอาประกัน จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง
“ผมมองว่า การแยกกรมฯ ออกมาเป็นเอกเทศ จะดีกว่า เพราะมันเป็นการยกระดับองค์กรให้เป็นอิสระ และมีความคล่องตัวขึ้น ที่สำคัญ จะสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ ที่ต้องการให้มีการปกครองตนเอง ซึ่งถ้าเป็นไปได้ มันจะเป็นผลดีกับเรามาก เนื่องจากธุรกิจประกัน เป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติ หรือแม้แต่บริษัทของคนไทยด้วยกันเอง” นายปรีดีกล่าว
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวถึงนโยบายที่กระทรวงการคลังจะตั้งหน่วยงานอิสระ FSA กำกับดูแลสถาบันการเงิน ว่าส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะแม้ธุรกิจประกันภัย จะเป็นสถาบันการเงิน แต่ต่างกันเรื่องการบริหาร และกำกับดูแล
นางสาวพจนีย์ชี้ให้เห็นความแตกต่างในการกำกับดูแล ว่าเนื่องจากธุรกิจประกันภัยมีความเสี่ยงเรื่องหนี้สิน ซึ่งเป็นหนี้สินที่มีภาระต้องจ่ายให้ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาที่ระบุในกรมธรรม์ ขณะที่ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ จะมีความเสี่ยงจากสินทรัพย์ ซึ่งทำให้นโยบายกำกับดูแล แตกต่างกัน
เรื่องดังกล่าว เธอกล่าวว่ายังไม่ใช่นโยบาย เป็นการศึกษาผลดี-ผลเสีย และความเป็นไปได้ในการตั้ง ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะการกำกับดูแลลักษณะดังกล่าว ต่างประเทศก็มี แต่สังเกตได้ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
อีกทั้งรูปแบบการกำกับดูแล หลากหลาย เช่น บางประเทศ ธุรกิจประกันภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลกระทรวงการคลัง แต่บางประเทศ อยู่ในส่วนธนาคารกลาง จึงอยากให้ศึกษา ว่าแบบใดเหมาะสมที่สุด
“อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้แย้งนโยบายของรัฐ แต่อยากให้รัฐศึกษาให้ดี เพราะรูปแบบที่เหมาะสมในประเทศหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมกับอีกประเทศก็ได้ และอย่างที่กล่าว เนื่องจากการบริหารธุรกิจประกันภัย มีความแตกต่าง ถ้าจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลเดียวกับธุรกิจธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ อาจไม่เหมาะสม และขาดความคล่องตัว แต่ก็อยากให้พิจารณาในเรื่องการแยกให้ธุรกิจประกันภัยสามารถกำกับดูแลตัวเอง เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง” เธอกล่าว
บางประเทศ ธุรกิจประกันภัยแยกออกมากำกับดูแลตัวเองได้ โดยมีโครงสร้างกำกับดูแลแยกเป็นธุรกิจประกันชีวิต ประกันภัย และองค์กรทำหน้าที่กำกับดูแล ซึ่งทำให้สามารถกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยได้อิสระ และคล่องตัว นางสาวพจนีย์กล่าว
นโยบายนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ธุรกิจการเงินจะมีบทบาทมากขึ้น การปรับนโยบายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างกระทรวง ซึ่งส่วนกระทรวงพาณิชย์ ที่กรมการประกันภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขณะนี้ ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน
องค์กรพิเศษดังกล่าว ตั้งเพื่อดูแลธนาคารพาณิชย์ บล. บริษัทประกัน เพราะขณะนี้ การดูแลสถาบันการเงินกระจัดกระจาย ธนาคารพาณิชย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บล. อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บริษัทประกันภัย-ประกันชีวิต อยู่ภายใต้การดูแลของกรมประกันภัย กระทรวงพาณิชย์
นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวถึงนโยบายที่กระทรวงการคลังจะตั้งสถาบันดูแลสถาบันการเงิน (Financial Supervisor Associate-FSA) เพื่อกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมถึงธุรกิจประกันภัย ว่าเรื่องดังกล่าว ต้องศึกษา ยังไม่ได้ออกเป็นนโยบาย เพราะต้องดูด้วยว่า การใช้นโยบายดังกล่าว เหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษา ยังคงต้องพิจารณาต่อไปอีกระยะ
ทางด้านนายปรีดี ขวัญงาม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวว่าจริงๆ แล้ว เรื่องนี้ หากแยกกรมการประกันภัยเป็นองค์กรอิสระ จะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะจะทำให้คล่องตัวขึ้น และอิสระในการบริหาร การติดต่อประสานงานระหว่างกรมการประกันภัยกับภาคธุรกิจ จะเร็วขึ้นด้วย
อีกทั้งยังยกระดับองค์กรให้เป็นสากลมากขึ้น การที่กรมการประกันภัยจะขึ้นกับกระทรวงการคลัง เขายังไม่เห็นภาพชัดเจน ยังไม่สามารถตอบได้ว่า เมื่อเข้าไปแล้ว กรมการประกันภัยจะได้ประโยชน์อะไร จะดีต่อระบบการทำงานอย่างไร จะคล่องตัวขึ้นหรือไม่ ภาคธุรกิจหรือผู้เอาประกัน จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง
“ผมมองว่า การแยกกรมฯ ออกมาเป็นเอกเทศ จะดีกว่า เพราะมันเป็นการยกระดับองค์กรให้เป็นอิสระ และมีความคล่องตัวขึ้น ที่สำคัญ จะสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ ที่ต้องการให้มีการปกครองตนเอง ซึ่งถ้าเป็นไปได้ มันจะเป็นผลดีกับเรามาก เนื่องจากธุรกิจประกัน เป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติ หรือแม้แต่บริษัทของคนไทยด้วยกันเอง” นายปรีดีกล่าว
นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวถึงนโยบายที่กระทรวงการคลังจะตั้งหน่วยงานอิสระ FSA กำกับดูแลสถาบันการเงิน ว่าส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะแม้ธุรกิจประกันภัย จะเป็นสถาบันการเงิน แต่ต่างกันเรื่องการบริหาร และกำกับดูแล
นางสาวพจนีย์ชี้ให้เห็นความแตกต่างในการกำกับดูแล ว่าเนื่องจากธุรกิจประกันภัยมีความเสี่ยงเรื่องหนี้สิน ซึ่งเป็นหนี้สินที่มีภาระต้องจ่ายให้ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาที่ระบุในกรมธรรม์ ขณะที่ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ จะมีความเสี่ยงจากสินทรัพย์ ซึ่งทำให้นโยบายกำกับดูแล แตกต่างกัน
เรื่องดังกล่าว เธอกล่าวว่ายังไม่ใช่นโยบาย เป็นการศึกษาผลดี-ผลเสีย และความเป็นไปได้ในการตั้ง ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะการกำกับดูแลลักษณะดังกล่าว ต่างประเทศก็มี แต่สังเกตได้ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
อีกทั้งรูปแบบการกำกับดูแล หลากหลาย เช่น บางประเทศ ธุรกิจประกันภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลกระทรวงการคลัง แต่บางประเทศ อยู่ในส่วนธนาคารกลาง จึงอยากให้ศึกษา ว่าแบบใดเหมาะสมที่สุด
“อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้แย้งนโยบายของรัฐ แต่อยากให้รัฐศึกษาให้ดี เพราะรูปแบบที่เหมาะสมในประเทศหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมกับอีกประเทศก็ได้ และอย่างที่กล่าว เนื่องจากการบริหารธุรกิจประกันภัย มีความแตกต่าง ถ้าจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลเดียวกับธุรกิจธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ อาจไม่เหมาะสม และขาดความคล่องตัว แต่ก็อยากให้พิจารณาในเรื่องการแยกให้ธุรกิจประกันภัยสามารถกำกับดูแลตัวเอง เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง” เธอกล่าว
บางประเทศ ธุรกิจประกันภัยแยกออกมากำกับดูแลตัวเองได้ โดยมีโครงสร้างกำกับดูแลแยกเป็นธุรกิจประกันชีวิต ประกันภัย และองค์กรทำหน้าที่กำกับดูแล ซึ่งทำให้สามารถกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยได้อิสระ และคล่องตัว นางสาวพจนีย์กล่าว
นโยบายนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ธุรกิจการเงินจะมีบทบาทมากขึ้น การปรับนโยบายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างกระทรวง ซึ่งส่วนกระทรวงพาณิชย์ ที่กรมการประกันภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขณะนี้ ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน
องค์กรพิเศษดังกล่าว ตั้งเพื่อดูแลธนาคารพาณิชย์ บล. บริษัทประกัน เพราะขณะนี้ การดูแลสถาบันการเงินกระจัดกระจาย ธนาคารพาณิชย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บล. อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บริษัทประกันภัย-ประกันชีวิต อยู่ภายใต้การดูแลของกรมประกันภัย กระทรวงพาณิชย์