ธนาคารกรุงศรีอยุธยาฟันธงเฟดขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 3.25 ในปีหน้าส่งผลให้ดอกเบี้ยในประเทศปรับเพิ่มตาม และจะขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ที่ 1,300 ล้านดอลลาร์ พร้อมลดเป้าจีดีพีเหลือร้อยละ 5.6 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาจากการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค
ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เผยแพร่ผลวิจัยเรื่องภาวะเศรษฐกิจในปี 2548 โดยระบุว่าในปี 2548 นับเป็นปีที่ประเทศไทยมีแนวโน้มจะเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งน้ำมันราคาแพง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักและความยืดเยื้อของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังคงเติบโตในระดับที่น่าพอใจอีกปีหนึ่ง แม้จะขยายตัวชะลอลงบ้าง
ปัจจัยเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ส่งผล FED Funds Rate ณ สิ้นปี 2548 จะอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 3.25 จากร้อยละ 2 ในปัจจุบัน ส่วนภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป อาเซียน และจีนที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากปี 2547 จะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยตามไปด้วย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศทางการยังมีภาระต้องฟื้นฟูสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
ปัจจัยดังกล่าวทำให้อัตราขยายตัวปี 2548 จะเติบ โตในอัตราชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 5.6 จากร้อยละ 6.1 ในปี 2547 ปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาจากการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภคที่เป็นผลจากการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ส่วนภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเร่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามโครงการเร่งด่วนและระยะสั้นในปีนี้
ทั้งนี้ การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐจะเติบโตในอัตราร้อยละ 14.8 และร้อยละ 5 เทียบกับร้อยละ 16 และร้อยละ 5.2 ในปี 2547 ตามลำดับ ส่วนการบริโภคภาคเอกชนจากการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และอาจมีการปรับเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำจะยังคงสนับสนุนให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเติบโตได้ โดยจะขยายตัวชะลอลงเพียงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 4.9 จากร้อยละ 5.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบบ้างจากราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มตามต้นทุนการผลิตและอัตราดอกเบี้ยช่วงขาขึ้น ด้านการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 8.5 จากที่เติบโตสูงกว่าร้อยละ 20 ในปี 2547 เนื่องจากภาวะน้ำมันแพงกระทบต้นทุนการผลิตสินค้า
ขณะที่อุปสงค์ของตลาดหลักชะลอตัวลง ประกอบกับฐานตัวเลขส่งออกในปี 2547 ที่อยู่ในเกณฑ์สูง สำหรับประเด็นด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นับเป็นปัจจัยที่ควรติดตาม ทั้งด้านอัตราเงิน เฟ้อที่จะสูงขึ้นและดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะเกินดุลลดลงอันเนื่องมาจากการขาดดุลการค้า ขณะที่รายได้จากดุลบริการโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวอาจไม่เป็นไปตามคาด โดยอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.3 (จากสมมติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยแหล่งเบรนท์ที่ 40-42 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) จากร้อยละ 2.8 ในปี 2547 ตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากราคาน้ำมัน การปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานอื่น ๆ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อโดยรวมจึงเพิ่มได้จำกัด
“ส่วนดุลการค้าของประเทศปี 2548 ที่มีแนวโน้มว่าจะขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ที่ประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นอีกประเด็นที่ควรจับตา เพราะจะส่งผลกระทบทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง เนื่องจากดุลบริการบริจาคโดยเฉพาะในส่วนของการท่องเที่ยวที่ยังมีทิศทางไม่ชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะการฟื้นฟูสถานการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้”
นอกจากนี้ ภาวะภัยแล้งที่กำลังแผ่กระจายเป็นวงกว้างและคาดว่าจะยืดเยื้อไปถึงเดือนพฤษภาคม 2548 เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข เพราะจะกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรต่อเนื่องไปถึงอำนาจการใช้จ่ายของประชาชนและการส่งออกภาคเกษตรได้ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังเกินดุลร้อยละ 3.9 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จากร้อยละ 5.1 ในปี 2547 ผนวกกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ หนี้ต่างประเทศที่ปรับลดลงต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้มีความยืดหยุ่นในการรองรับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยง ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมยังเติบโตได้ต่อไป
ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เผยแพร่ผลวิจัยเรื่องภาวะเศรษฐกิจในปี 2548 โดยระบุว่าในปี 2548 นับเป็นปีที่ประเทศไทยมีแนวโน้มจะเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งน้ำมันราคาแพง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักและความยืดเยื้อของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังคงเติบโตในระดับที่น่าพอใจอีกปีหนึ่ง แม้จะขยายตัวชะลอลงบ้าง
ปัจจัยเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ส่งผล FED Funds Rate ณ สิ้นปี 2548 จะอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 3.25 จากร้อยละ 2 ในปัจจุบัน ส่วนภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป อาเซียน และจีนที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากปี 2547 จะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยตามไปด้วย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศทางการยังมีภาระต้องฟื้นฟูสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
ปัจจัยดังกล่าวทำให้อัตราขยายตัวปี 2548 จะเติบ โตในอัตราชะลอลงเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 5.6 จากร้อยละ 6.1 ในปี 2547 ปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาจากการลงทุนภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภคที่เป็นผลจากการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ส่วนภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเร่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผ่านยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามโครงการเร่งด่วนและระยะสั้นในปีนี้
ทั้งนี้ การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐจะเติบโตในอัตราร้อยละ 14.8 และร้อยละ 5 เทียบกับร้อยละ 16 และร้อยละ 5.2 ในปี 2547 ตามลำดับ ส่วนการบริโภคภาคเอกชนจากการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และอาจมีการปรับเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำจะยังคงสนับสนุนให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเติบโตได้ โดยจะขยายตัวชะลอลงเพียงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 4.9 จากร้อยละ 5.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบบ้างจากราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มตามต้นทุนการผลิตและอัตราดอกเบี้ยช่วงขาขึ้น ด้านการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 8.5 จากที่เติบโตสูงกว่าร้อยละ 20 ในปี 2547 เนื่องจากภาวะน้ำมันแพงกระทบต้นทุนการผลิตสินค้า
ขณะที่อุปสงค์ของตลาดหลักชะลอตัวลง ประกอบกับฐานตัวเลขส่งออกในปี 2547 ที่อยู่ในเกณฑ์สูง สำหรับประเด็นด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นับเป็นปัจจัยที่ควรติดตาม ทั้งด้านอัตราเงิน เฟ้อที่จะสูงขึ้นและดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะเกินดุลลดลงอันเนื่องมาจากการขาดดุลการค้า ขณะที่รายได้จากดุลบริการโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวอาจไม่เป็นไปตามคาด โดยอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.3 (จากสมมติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยแหล่งเบรนท์ที่ 40-42 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) จากร้อยละ 2.8 ในปี 2547 ตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากราคาน้ำมัน การปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานอื่น ๆ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อโดยรวมจึงเพิ่มได้จำกัด
“ส่วนดุลการค้าของประเทศปี 2548 ที่มีแนวโน้มว่าจะขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ที่ประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นอีกประเด็นที่ควรจับตา เพราะจะส่งผลกระทบทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง เนื่องจากดุลบริการบริจาคโดยเฉพาะในส่วนของการท่องเที่ยวที่ยังมีทิศทางไม่ชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะการฟื้นฟูสถานการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้”
นอกจากนี้ ภาวะภัยแล้งที่กำลังแผ่กระจายเป็นวงกว้างและคาดว่าจะยืดเยื้อไปถึงเดือนพฤษภาคม 2548 เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข เพราะจะกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรต่อเนื่องไปถึงอำนาจการใช้จ่ายของประชาชนและการส่งออกภาคเกษตรได้ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังเกินดุลร้อยละ 3.9 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จากร้อยละ 5.1 ในปี 2547 ผนวกกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ หนี้ต่างประเทศที่ปรับลดลงต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้มีความยืดหยุ่นในการรองรับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยง ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมยังเติบโตได้ต่อไป