ตลาดหลักทรัพย์ฯ หารือกับวาณิชธนกิจป้องกันหุ้นไอพีโอต่ำกว่าจอง โดยเตรียมหารือกับสรรพากร เกี่ยวกับการทำ กรีนชูออฟชั่น เข้าข่ายการขายหุ้นนอกตลาดต้องเสียภาษีหรือไม่ และเตือนโบรกเกอร์ อย่าตั้งราคาสูงเกินไป
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการชมรมวาณิชธนกิจ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับแนวทางป้องกันกรณีหุ้นที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปจองซื้อครั้งแรก (ไอพีโอ) และราคาลดลงต่ำกว่าราคาจองเมื่อหุ้นเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันแรกว่า ในที่ประชุมมีการหารือในหลายๆ แนวทางด้วยกัน เช่น การนำหุ้นจัดสรรส่วนเกิน (กรีนชูออฟชั่น) มาใช้ หรือแม้แต่การขอความร่วมมือเกี่ยวกับการตั้งราคาเสนอขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ในส่วนของ กรีนชูออฟชั่น นั้น ที่ประชุมมีการหยิบยกประเด็นเรื่องภาษีขึ้นมา เพราะการทำ กรีนชู จะเกี่ยวข้องกับการยืมหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมมาขายก่อน และการขายในลักษณะดังกล่าวยังเข้าข่ายว่าเป็นการขายนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น เงินที่ได้จากการนำหุ้นส่วนนี้มาขายอาจต้องนำไปหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคลด้วย เพราะเงินส่วนนี้เข้าตัวผู้ถือหุ้นไม่ได้เข้าบริษัท ส่วนกรณีหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ทำได้เนื่องจากเป็นการนำหุ้นของกระทรวงการคลัง มาให้ยืมขายก่อน จึงไม่จำเป็นต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับอาสานำเรื่องไปหารือกับกรมสรรพกร เพื่อตีความว่าการขายหุ้นในลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ และต้องเสียภาษีหรือไม่
“การทำ กรีนชู นั้น ผู้ถือหุ้นจะต้องนำหุ้นตัวเองออกมาให้ยืมขายก่อน โดยมีข้อแม้ว่าหากราคาหุ้นปรับตัวลดลงสามารถกลับเข้ามาซื้อคืนเจ้าของหุ้นได้ แต่หากหุ้นไม่ลดลงต่ำกว่าราคาจองซื้อ เท่ากับว่าผู้ถือหุ้นเดิมนำหุ้นตัวเองออกขายไปโดยปริยาย ซึ่งตรงนี้มีข้อถกเถียงอยู่ว่าจะเข้าข่ายเป็นการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ และต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลหรือไม่ เพราะเงินจากการขายหุ้นส่วนนี้จะเข้ากระเป๋าเจ้าของหุ้น ไม่ได้เข้าบริษัทเพราะไม่ใช่หุ้นเพิ่มทุนใหม่ เรื่องนี้จึงต้องรอการตีความจากกรมสรรพกรก่อน แต่ผมเองเห็นว่าการมี กรีนชู เป็นเรื่องดี” นายมนตรี กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินทั้งหลาย ให้ระมัดระวังการตั้งราคาขายหุ้นไอพีโอ ซึ่งประเด็นนี้ไม่ได้หมายความว่าที่ผ่านมามีการตั้งราคาขายหุ้นแพงเกินไป แต่ปัญหาส่วนใหญ่พบว่าเป็นการตั้งราคาหุ้นผิดจังหวะ คือตั้งราคาขายหุ้นในช่วงหุ้นขาลง ทำให้ราคาหุ้นสูงเมื่อเทียบกับภาวะตลาดโดยรวม อย่างไรก็ตาม หากภาวะหุ้นดี เรื่องการตั้งราคาคงไม่เป็นปัญหา
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการชมรมวาณิชธนกิจ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับแนวทางป้องกันกรณีหุ้นที่เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปจองซื้อครั้งแรก (ไอพีโอ) และราคาลดลงต่ำกว่าราคาจองเมื่อหุ้นเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันแรกว่า ในที่ประชุมมีการหารือในหลายๆ แนวทางด้วยกัน เช่น การนำหุ้นจัดสรรส่วนเกิน (กรีนชูออฟชั่น) มาใช้ หรือแม้แต่การขอความร่วมมือเกี่ยวกับการตั้งราคาเสนอขายหลักทรัพย์
ทั้งนี้ ในส่วนของ กรีนชูออฟชั่น นั้น ที่ประชุมมีการหยิบยกประเด็นเรื่องภาษีขึ้นมา เพราะการทำ กรีนชู จะเกี่ยวข้องกับการยืมหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมมาขายก่อน และการขายในลักษณะดังกล่าวยังเข้าข่ายว่าเป็นการขายนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น เงินที่ได้จากการนำหุ้นส่วนนี้มาขายอาจต้องนำไปหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคลด้วย เพราะเงินส่วนนี้เข้าตัวผู้ถือหุ้นไม่ได้เข้าบริษัท ส่วนกรณีหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ทำได้เนื่องจากเป็นการนำหุ้นของกระทรวงการคลัง มาให้ยืมขายก่อน จึงไม่จำเป็นต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับอาสานำเรื่องไปหารือกับกรมสรรพกร เพื่อตีความว่าการขายหุ้นในลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ และต้องเสียภาษีหรือไม่
“การทำ กรีนชู นั้น ผู้ถือหุ้นจะต้องนำหุ้นตัวเองออกมาให้ยืมขายก่อน โดยมีข้อแม้ว่าหากราคาหุ้นปรับตัวลดลงสามารถกลับเข้ามาซื้อคืนเจ้าของหุ้นได้ แต่หากหุ้นไม่ลดลงต่ำกว่าราคาจองซื้อ เท่ากับว่าผู้ถือหุ้นเดิมนำหุ้นตัวเองออกขายไปโดยปริยาย ซึ่งตรงนี้มีข้อถกเถียงอยู่ว่าจะเข้าข่ายเป็นการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ และต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลหรือไม่ เพราะเงินจากการขายหุ้นส่วนนี้จะเข้ากระเป๋าเจ้าของหุ้น ไม่ได้เข้าบริษัทเพราะไม่ใช่หุ้นเพิ่มทุนใหม่ เรื่องนี้จึงต้องรอการตีความจากกรมสรรพกรก่อน แต่ผมเองเห็นว่าการมี กรีนชู เป็นเรื่องดี” นายมนตรี กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินทั้งหลาย ให้ระมัดระวังการตั้งราคาขายหุ้นไอพีโอ ซึ่งประเด็นนี้ไม่ได้หมายความว่าที่ผ่านมามีการตั้งราคาขายหุ้นแพงเกินไป แต่ปัญหาส่วนใหญ่พบว่าเป็นการตั้งราคาหุ้นผิดจังหวะ คือตั้งราคาขายหุ้นในช่วงหุ้นขาลง ทำให้ราคาหุ้นสูงเมื่อเทียบกับภาวะตลาดโดยรวม อย่างไรก็ตาม หากภาวะหุ้นดี เรื่องการตั้งราคาคงไม่เป็นปัญหา