Morgan Stanley Capital International (MSCI) เป็นสถาบันการเงินที่จัดทำดัชนีที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก คือ MSCI Index ซึ่งดัชนีดังกล่าวนี้มักจะถูกใช้เป็นบรรทัดฐาน (Brenchmark) ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้จัดการกองทุนจะพยายามบริหารกองทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่า MSCI Index
สำหรับ MSCI Index แบ่งออกได้เป็นหลายระดับ เริ่มตั้งแต่ MSCI World Index ซึ่งเป็นการนำหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศทั่วโลกที่เข้าเกณฑ์ของ MSCI มาคำนวณเป็นดัชนี ระดับล่างลงมาเป็นระดับภูมิภาค เช่น MSCI Far east ex Japan ซึ่งประเทศไทยจะอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนระดับล่างสุดคือ ระดับประเทศ เช่น MSCI Thailand ซึ่งคล้ายคลึงกับ SET Index ของประเทศไทย แตกต่างกันที่จำนวนหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณของ MSCI จะมีน้อยกว่าโดยมีหลักเกณฑ์ในการเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีขนาดของทุนจดทะเบียนที่มากพอสมควรและมี Free float สูงกว่า 15%
ดัชนี MSCI จะมีการปรับปรุงทุกไตรมาส เริ่มตั้งแต่ พ.ค. ส.ค. พ.ย.และ ก.พ. ในการปรับปรุงแต่ละครั้ง MSCI Index จะมีการเปลี่ยนแปลง 2 ส่วนคือ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณในดัชนีฯ และการเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์โดยอาจมีการนำเข้าออก ตามเกณฑ์ของ MSCI
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยคือ น้ำหนักของตลาดหุ้นไทยอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลง ตามปรับปรุงประจำไตรมาสโดยหาก MSCI เพิ่มหลักทรัพย์เข้ามาคำนวณ หรือเพิ่มน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่คำนวณในดัชนีฯ อยู่แล้วจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากจะทำให้กองทุนต่างประเทศต้องเพิ่มน้ำหนักขอลงตลาดหุ้นไทยตามเกณฑ์ใหม่ของ MSCI แต่หาก MSCI มีการนำหลักทรัพย์ออกหรือลดน้ำหนักของหลักทรัพย์ก็จะส่งผลเสียงเช่นกัน ในระดับของหลักทรัพย์นั้น มีผลกระทบคล้ายกันคือ หลักทรัพย์ไหนถูกนำเข้าไปคำนวณก็จะทำให้มีแรงซื้อในหลักทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น ตรงข้ามหลักทรัพย์ที่ถูกนำออกจากการคำนวณก็จะมีแรงขายเช่นกัน
สำหรับในการประกาศปรับปรุงดัชนี MSCI ไตรมาสล่าสุด สิ้นสุดเดือน พ.ย.47 พบว่ามี 9 หลักทรัพย์ที่ถูกนำเข้ามาคำนวณใหม่และมี 1 หลักทรัพย์ที่ถูกนำออกไปจากการคำนวณ โดยในตลาดหุ้นเอเชียมีหุ้นในอินเดีย ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเลเซีย ที่ถูกนำเข้าไปคำนวณสำหรบตลาดหุ้นไทยไม่มีการนำหุ้นเข้า-ออก โดยหุ้น TOP ยังไม่ถูกนำเข้าไปคำนวณในครั้งนี้ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของหลักทรัพย์นั้น พบว่ามี 129 หลักทรัพย์จาก 16 ประเทศมีการเกณฑ์ในการลงทุนของตลาดหุ้นไต้หวัน ที่อนุญาตให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถลงทุนได้มากขึ้น
โดยสรุปแล้วการปรับปรุงดัชนี MSCI ในไตรมาสนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยไม่มาก โดยคาดว่าน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยใน MSCI Far east ex Japan ยังคงอยู่ที่ระดับ 3.6%
สำหรับ MSCI Index แบ่งออกได้เป็นหลายระดับ เริ่มตั้งแต่ MSCI World Index ซึ่งเป็นการนำหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศทั่วโลกที่เข้าเกณฑ์ของ MSCI มาคำนวณเป็นดัชนี ระดับล่างลงมาเป็นระดับภูมิภาค เช่น MSCI Far east ex Japan ซึ่งประเทศไทยจะอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนระดับล่างสุดคือ ระดับประเทศ เช่น MSCI Thailand ซึ่งคล้ายคลึงกับ SET Index ของประเทศไทย แตกต่างกันที่จำนวนหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณของ MSCI จะมีน้อยกว่าโดยมีหลักเกณฑ์ในการเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีขนาดของทุนจดทะเบียนที่มากพอสมควรและมี Free float สูงกว่า 15%
ดัชนี MSCI จะมีการปรับปรุงทุกไตรมาส เริ่มตั้งแต่ พ.ค. ส.ค. พ.ย.และ ก.พ. ในการปรับปรุงแต่ละครั้ง MSCI Index จะมีการเปลี่ยนแปลง 2 ส่วนคือ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณในดัชนีฯ และการเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์โดยอาจมีการนำเข้าออก ตามเกณฑ์ของ MSCI
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยคือ น้ำหนักของตลาดหุ้นไทยอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลง ตามปรับปรุงประจำไตรมาสโดยหาก MSCI เพิ่มหลักทรัพย์เข้ามาคำนวณ หรือเพิ่มน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่คำนวณในดัชนีฯ อยู่แล้วจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากจะทำให้กองทุนต่างประเทศต้องเพิ่มน้ำหนักขอลงตลาดหุ้นไทยตามเกณฑ์ใหม่ของ MSCI แต่หาก MSCI มีการนำหลักทรัพย์ออกหรือลดน้ำหนักของหลักทรัพย์ก็จะส่งผลเสียงเช่นกัน ในระดับของหลักทรัพย์นั้น มีผลกระทบคล้ายกันคือ หลักทรัพย์ไหนถูกนำเข้าไปคำนวณก็จะทำให้มีแรงซื้อในหลักทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น ตรงข้ามหลักทรัพย์ที่ถูกนำออกจากการคำนวณก็จะมีแรงขายเช่นกัน
สำหรับในการประกาศปรับปรุงดัชนี MSCI ไตรมาสล่าสุด สิ้นสุดเดือน พ.ย.47 พบว่ามี 9 หลักทรัพย์ที่ถูกนำเข้ามาคำนวณใหม่และมี 1 หลักทรัพย์ที่ถูกนำออกไปจากการคำนวณ โดยในตลาดหุ้นเอเชียมีหุ้นในอินเดีย ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเลเซีย ที่ถูกนำเข้าไปคำนวณสำหรบตลาดหุ้นไทยไม่มีการนำหุ้นเข้า-ออก โดยหุ้น TOP ยังไม่ถูกนำเข้าไปคำนวณในครั้งนี้ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของหลักทรัพย์นั้น พบว่ามี 129 หลักทรัพย์จาก 16 ประเทศมีการเกณฑ์ในการลงทุนของตลาดหุ้นไต้หวัน ที่อนุญาตให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถลงทุนได้มากขึ้น
โดยสรุปแล้วการปรับปรุงดัชนี MSCI ในไตรมาสนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยไม่มาก โดยคาดว่าน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยใน MSCI Far east ex Japan ยังคงอยู่ที่ระดับ 3.6%