ซิตี้แบงก์โปรยหาหอมเศรษฐกิจไทยไปโลด เชื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยแน่ ร้อยละ 0.25 ในวันนี้ หากไม่ขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่แปลก ประกาศปี 48 รุกสินเชื่อรายย่อยต่อ ในขณะที่ “ชาติศิริ” ฟันธงไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปี
นายเทอเรนซ์ เคคัดไดร์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารซิตี้แบงก์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2548 ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากปีนี้ แม้ว่าระดับราคาน้ำมันจะยังปรับตัวสูงขึ้นอยู่ก็ตาม ซึ่งในปีหน้า จะเห็นว่ามีนักลงทุนเพิ่มการลงทุนเพิ่ม ทำให้ความต้องการใช้เงินทุนในการขยายกิจการเพิ่มตามไปด้วย ส่งผลให้ภาคธนาคารมีแนวโน้มในการเพิ่มธุรกิจได้มากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับธนาคารซิตี้แบงก์แล้ว ยังให้ความสำคัญกับลูกค้ารายย่อยอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะประเมินว่ากลุ่มลูกค้ารายย่อยจะมีการใช้จ่ายเพิ่ม โดยเฉพาะบัตรเครดิต และมีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มลูกค้ารายย่อยจะมีการกู้ยืมเงินเพิ่ม และธนาคารก็มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีระบบการควบคุม
ที่ดีจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของกลุ่มลูกค้ารายย่อยในปีหน้า
“กลุ่มลูกค้ารายย่อยในประเทศไทยกำลังเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าในปีหน้าอัตราการเติบโตของกลุ่มลูกค้ารายย่อยจะมีอัตราการเติบโตมากกว่า กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ เพราะกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ของธนาคารนั้นดำเนินการมาก่อนลูกค้ารายย่อยถึง 10 ปี”
กลยุทธ์ของธนาคารในการเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยในปีหน้านั้น เชื่อว่าจะสามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน เพราะธนาคารใช้กลยุทธ์ในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์ที่เอื้อประโยชน์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมทั้งการนำนวัตกรรมทางการเงินใหม่เข้ามาช่วยสนับสนุน แม้กระทั่งลูกค้ารายใหญ่ ล่าสุดก็ได้ร่วมกับสำนักงานประกันสังคมในการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบ ซิตี้แบงก์คอร์เนค
“สำหรับในวันนี้ (10 พ.ย.) เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแน่นอนร้อยละ 0.25 เพราะเป็นที่คาดเดาของนักวิเคราะห์หลายคนแล้ว หากไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ถือว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดพอสมควร สำหรับนโยบายของทางการในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้น คาดเดาลำบาก ส่วนระดับราคาน้ำมันหากยังสูงอยู่ก็เชื่อว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย”
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารยังไม่มีแผนในการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ภายใน 2 เดือน เนื่องจากธนาคารมีสภาพคล่องส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ประกอบกับธนาคารมีโครงสร้างเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ ร้อยละ 40 ของเงินฝากทั้งหมด ซึ่งถือว่ายังสามารถรับได้ ในขณะที่สินเชื่อมีการขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 75 แต่ทั้งนี้ธนาคารจะพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในช่วงสิ้นปีว่าจะดำเนินการอย่างไรกับอัตราดอกเบี้ย
“สำหรับธนาคารกรุงเทพ ปลายปีค่อยคิดอีกที สภาพของธนาคารในปัจจุบันยังรับได้ เราดูสภาพของเราเป็นหลัก โดยเฉพาะสภาพคล่องในปัจจุบันถือว่าเหมาะสมดีอยู่ และเชื่อว่าดอกเบี้ยทั้งระบบจะอยู่ในระดับนี้ต่อไปจนถึงสิ้นปี”
นายชาติศิริ กล่าวว่า หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่าดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากธนาคารยังมีสภาพคล่องส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ส่วนดอกเบี้ยอาร์พีจะขึ้นหรือไม่ นั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน
สำหรับการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ธนาคารจะพยายามทำให้ได้เต็มที่ และจะทำให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้คือ ต่ำกว่าร้อยละ 15 ขณะที่ยอดสินเชื่อ มีอัตราการขยายตัวได้ดี และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งสินเชื่อที่ขยายตัวนั้น มาจาก 3 กลุ่ม คือ เอสเอ็มอี ลูกค้ารายใหญ่ และลูกค้ารายย่อย โดยทั้ง 3 กลุ่มนั้นมีการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยธนาคารต้องใช้เวลา 2-3 ปีในการผลักดันให้กลุ่มลูกค้ารายย่อยมีอัตราการเติบโตถึง 30%
“อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีในการทำให้เศรษฐกิจมีการเติบโต การที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นบ้างก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งไม่น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจและสินเชื่อ”
นายเทอเรนซ์ เคคัดไดร์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารซิตี้แบงก์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2548 ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากปีนี้ แม้ว่าระดับราคาน้ำมันจะยังปรับตัวสูงขึ้นอยู่ก็ตาม ซึ่งในปีหน้า จะเห็นว่ามีนักลงทุนเพิ่มการลงทุนเพิ่ม ทำให้ความต้องการใช้เงินทุนในการขยายกิจการเพิ่มตามไปด้วย ส่งผลให้ภาคธนาคารมีแนวโน้มในการเพิ่มธุรกิจได้มากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับธนาคารซิตี้แบงก์แล้ว ยังให้ความสำคัญกับลูกค้ารายย่อยอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะประเมินว่ากลุ่มลูกค้ารายย่อยจะมีการใช้จ่ายเพิ่ม โดยเฉพาะบัตรเครดิต และมีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มลูกค้ารายย่อยจะมีการกู้ยืมเงินเพิ่ม และธนาคารก็มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีระบบการควบคุม
ที่ดีจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของกลุ่มลูกค้ารายย่อยในปีหน้า
“กลุ่มลูกค้ารายย่อยในประเทศไทยกำลังเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าในปีหน้าอัตราการเติบโตของกลุ่มลูกค้ารายย่อยจะมีอัตราการเติบโตมากกว่า กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ เพราะกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ของธนาคารนั้นดำเนินการมาก่อนลูกค้ารายย่อยถึง 10 ปี”
กลยุทธ์ของธนาคารในการเจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยในปีหน้านั้น เชื่อว่าจะสามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน เพราะธนาคารใช้กลยุทธ์ในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์ที่เอื้อประโยชน์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมทั้งการนำนวัตกรรมทางการเงินใหม่เข้ามาช่วยสนับสนุน แม้กระทั่งลูกค้ารายใหญ่ ล่าสุดก็ได้ร่วมกับสำนักงานประกันสังคมในการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผ่านระบบ ซิตี้แบงก์คอร์เนค
“สำหรับในวันนี้ (10 พ.ย.) เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแน่นอนร้อยละ 0.25 เพราะเป็นที่คาดเดาของนักวิเคราะห์หลายคนแล้ว หากไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ถือว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดพอสมควร สำหรับนโยบายของทางการในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้น คาดเดาลำบาก ส่วนระดับราคาน้ำมันหากยังสูงอยู่ก็เชื่อว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย”
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารยังไม่มีแผนในการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ภายใน 2 เดือน เนื่องจากธนาคารมีสภาพคล่องส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ประกอบกับธนาคารมีโครงสร้างเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ ร้อยละ 40 ของเงินฝากทั้งหมด ซึ่งถือว่ายังสามารถรับได้ ในขณะที่สินเชื่อมีการขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 75 แต่ทั้งนี้ธนาคารจะพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในช่วงสิ้นปีว่าจะดำเนินการอย่างไรกับอัตราดอกเบี้ย
“สำหรับธนาคารกรุงเทพ ปลายปีค่อยคิดอีกที สภาพของธนาคารในปัจจุบันยังรับได้ เราดูสภาพของเราเป็นหลัก โดยเฉพาะสภาพคล่องในปัจจุบันถือว่าเหมาะสมดีอยู่ และเชื่อว่าดอกเบี้ยทั้งระบบจะอยู่ในระดับนี้ต่อไปจนถึงสิ้นปี”
นายชาติศิริ กล่าวว่า หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่าดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากธนาคารยังมีสภาพคล่องส่วนเกินเป็นจำนวนมาก ส่วนดอกเบี้ยอาร์พีจะขึ้นหรือไม่ นั้นขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน
สำหรับการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ธนาคารจะพยายามทำให้ได้เต็มที่ และจะทำให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้คือ ต่ำกว่าร้อยละ 15 ขณะที่ยอดสินเชื่อ มีอัตราการขยายตัวได้ดี และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งสินเชื่อที่ขยายตัวนั้น มาจาก 3 กลุ่ม คือ เอสเอ็มอี ลูกค้ารายใหญ่ และลูกค้ารายย่อย โดยทั้ง 3 กลุ่มนั้นมีการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยธนาคารต้องใช้เวลา 2-3 ปีในการผลักดันให้กลุ่มลูกค้ารายย่อยมีอัตราการเติบโตถึง 30%
“อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีในการทำให้เศรษฐกิจมีการเติบโต การที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นบ้างก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งไม่น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจและสินเชื่อ”