เอเอฟพี – ดูเหมือนว่าเลโก้ ของเล่นตัวต่อพลาสติกสีสันสดใสยอดฮิตเมื่อหลายสิบปีก่อน จะหมดมนต์ขลังดึงดูดเด็กๆยุคไฮเทค ที่รายล้อมไปด้วยเกมคอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์เสียแล้ว
เลโก้ ธุรกิจครอบครัวของเดนมาร์ก ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1932 ที่เมืองบิลลันด์ ไม่เคยมียอดขายตกฮวบมาก่อน แต่ปีนี้คาดว่า จะขาดทุนเป็นครั้งที่ 4 และมากที่สุดในรอบ 72 ปี
เคลด์ เคิร์ก คริสเตียนเซน หลานของโอเล เคิร์ก คริสเตียนเซน ผู้ก่อตั้งบริษัท ยอมรับว่า เลโก้อยู่ในภาวะวิกฤตขั้นรุนแรง เนื่องจากการแข่งขันในตลาดของเล่นโลกอันดุเดือดทำให้ราคาและกำไรลดลง
ทั้งนี้ ยอดขายเลโก้ลดลง 25-30% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุด หรือคิดเป็น 40% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท
คริสเตียนเซนแถลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่า ปีนี้บริษัทจะมียอดขาดทุนก่อนหักภาษี 1,500-2,000 ล้านโครน (255-339 ล้านดอลลาร์)
อนึ่งคำว่า “เลโก้” มาจากอักษร 2 ตัวแรกของคำว่า “Leg godt” ในภาษาเดนมาร์ก ซึ่งแปลว่า “play well” ในภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่เด็กยุคใหม่เลือกเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมเสมือนจริงมากขึ้น การเล่นเลโก้จึงดูเหมือนล้าสมัยไปแล้ว
กระนั้นก็ตาม เมื่อ 6 ปีก่อน เลโก้ ผู้ผลิตของเล่นอันดับ 4 ของโลก รองจากแมตเทล และฮาสโบร จากสหรัฐฯ รวมถึงบันได จากญี่ปุ่น ยังคงมีภูมิคุ้มกันห่างไกลจากคำว่า “วิกฤต” และ “ขาดทุน” โดยตอนนั้น เลโก้ตั้งเป้าหมายเป็น 1 ใน 5 แบรนด์ยอดนิยมของโลกของครอบครัวที่มีเด็กๆ ภายในปี 2005 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน บริษัทกลับประสบภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรกในปี 1998 ตามด้วยปี 2000 และ 2003
ทอร์เบน ฮันการ์ด ราส์มูส์เซน นักการศึกษาและนักวิจัยของเล่นกล่าวว่า “ไม่ง่ายนักที่เลโก้จะฟื้นตัวจากภาวะขาดทุน” เขาเสริมว่า ตัวต่อเลโก้เป็นของเล่นในยุคอุตสาหกรรม ที่เด็กชอบเล่นสร้างสิ่งต่างๆ แต่ในปัจจุบัน ของเล่นยอดนิยมมักได้แรงบันดาลใจจากโลกเสมือนจริง
เฮนริก โจรับ ประธานบีอาร์ กิจการของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในเดนมาร์ก เปิดเผยว่า เด็กเริ่มเล่นของเล่นกันเร็วขึ้น ทำให้เมื่ออายุ 7-8 ขวบ เด็กๆ มักทิ้งของเล่นดั้งเดิม และหันไปหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือ
บทบรรณาธิการของเบอร์เซน หนังสือพิมพ์การเงินแดนโคนมระบุว่า ปัญหาใหญ่ของเลโก้คือ ผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ หากจำนวนเด็กที่เล่นเลโก้ลดลง ทางบริษัทควรหาวิธีการใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้กลับมาเล่นตัวต่อเลโก้ หรือใช้ชื่อยี่ห้ออันแข็งแกร่งของตนพัฒนาของเล่นชนิดใหม่
ทั้งนี้ นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เลโก้พยายามปรับธุรกิจโดยใช้แบรนด์เดิม อาทิ สร้างสวนสนุกเลโก้แลนด์ในอังกฤษ สหรัฐฯ และเยอรมนี นอกเหนือจากในเดนมาร์ก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เลโก้กำลังพิจารณาขายสวนสนุกทั้งหมด เนื่องจากประสบภาวะขาดทุน นอกจากนี้ เลโก้ยังได้ลงนามเป็นหุ้นส่วนกับทีมแข่งรถ ฟอร์มูล่า 1 วิลเลียมส์ เพื่อให้เด็กๆ หันมาสนใจกีฬา รวมทั้งผลิตเสื้อผ้าภายใต้แบรนด์เลโก้
นอกจากต้องเผชิญการแข่งขันจากเกมอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เลโก้ยังกระโจนสู่การแข่งขันในสนามใหม่ในปี 2002 ด้วยการเริ่มผลิตวิดีโอและภาพยนตร์การ์ตูนจาก “ไบโอนิเคิล”ชุดของเล่นที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก พร้อมทั้งเซ็นสัญญากับครีเอทีฟ คาเปอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และมิราแม็กซ์ ฟิล์มส์ ของสหรัฐฯ
เลโก้ยังผลิตเกมที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส และแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายในปี 2002 ทำลายสถิติที่ 11,400 ล้านโครน (1,930 ล้านดอลลาร์)
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะรักษาความสามารถการทำกำไรของบริษัทได้ ทั้งนี้ หลังจากเผชิญการแข่งขันหลากหลายและภาวะขาดทุนในปี 2003 เลโก้ได้ประกาศปรับโครงสร้างหลัก และหันกลับมาเน้นที่สินค้าดั้งเดิม นั่นคือ ตัวต่อเลโก้
อนึ่ง หลังจากที่คริสเตียนเซนเข้ามาคุมอำนาจการบริหารทั้งหมดเมื่อ 9 เดือนก่อน และอัดฉีดเงินส่วนตัวราว 800 ล้านโครน ล่าสุด เขาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) พร้อมระบุว่า บริษัทอยู่ในทิศทางที่สามารถทำกำไรได้ในปี 2005-2006
ขณะที่เจอร์เก้น วิก น็อดสตรัป ซีอีโอรุ่นใหม่ไฟแรงด้วยวัยเพียง 35 ปี ยอมรับว่าพนักงาน 7,500 คนของบริษัท จะต้องร่วมกันฟันฝ่าปัญหาต่อไปอีกพักใหญ่ ภายใต้มาตรการลดต้นทุน และโอนย้ายการผลิตไปยังประเทศต้นทุนต่ำ เช่น จีน
เลโก้ ธุรกิจครอบครัวของเดนมาร์ก ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1932 ที่เมืองบิลลันด์ ไม่เคยมียอดขายตกฮวบมาก่อน แต่ปีนี้คาดว่า จะขาดทุนเป็นครั้งที่ 4 และมากที่สุดในรอบ 72 ปี
เคลด์ เคิร์ก คริสเตียนเซน หลานของโอเล เคิร์ก คริสเตียนเซน ผู้ก่อตั้งบริษัท ยอมรับว่า เลโก้อยู่ในภาวะวิกฤตขั้นรุนแรง เนื่องจากการแข่งขันในตลาดของเล่นโลกอันดุเดือดทำให้ราคาและกำไรลดลง
ทั้งนี้ ยอดขายเลโก้ลดลง 25-30% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุด หรือคิดเป็น 40% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท
คริสเตียนเซนแถลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่า ปีนี้บริษัทจะมียอดขาดทุนก่อนหักภาษี 1,500-2,000 ล้านโครน (255-339 ล้านดอลลาร์)
อนึ่งคำว่า “เลโก้” มาจากอักษร 2 ตัวแรกของคำว่า “Leg godt” ในภาษาเดนมาร์ก ซึ่งแปลว่า “play well” ในภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่เด็กยุคใหม่เลือกเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมเสมือนจริงมากขึ้น การเล่นเลโก้จึงดูเหมือนล้าสมัยไปแล้ว
กระนั้นก็ตาม เมื่อ 6 ปีก่อน เลโก้ ผู้ผลิตของเล่นอันดับ 4 ของโลก รองจากแมตเทล และฮาสโบร จากสหรัฐฯ รวมถึงบันได จากญี่ปุ่น ยังคงมีภูมิคุ้มกันห่างไกลจากคำว่า “วิกฤต” และ “ขาดทุน” โดยตอนนั้น เลโก้ตั้งเป้าหมายเป็น 1 ใน 5 แบรนด์ยอดนิยมของโลกของครอบครัวที่มีเด็กๆ ภายในปี 2005 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน บริษัทกลับประสบภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรกในปี 1998 ตามด้วยปี 2000 และ 2003
ทอร์เบน ฮันการ์ด ราส์มูส์เซน นักการศึกษาและนักวิจัยของเล่นกล่าวว่า “ไม่ง่ายนักที่เลโก้จะฟื้นตัวจากภาวะขาดทุน” เขาเสริมว่า ตัวต่อเลโก้เป็นของเล่นในยุคอุตสาหกรรม ที่เด็กชอบเล่นสร้างสิ่งต่างๆ แต่ในปัจจุบัน ของเล่นยอดนิยมมักได้แรงบันดาลใจจากโลกเสมือนจริง
เฮนริก โจรับ ประธานบีอาร์ กิจการของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในเดนมาร์ก เปิดเผยว่า เด็กเริ่มเล่นของเล่นกันเร็วขึ้น ทำให้เมื่ออายุ 7-8 ขวบ เด็กๆ มักทิ้งของเล่นดั้งเดิม และหันไปหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์มือถือ
บทบรรณาธิการของเบอร์เซน หนังสือพิมพ์การเงินแดนโคนมระบุว่า ปัญหาใหญ่ของเลโก้คือ ผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ หากจำนวนเด็กที่เล่นเลโก้ลดลง ทางบริษัทควรหาวิธีการใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้กลับมาเล่นตัวต่อเลโก้ หรือใช้ชื่อยี่ห้ออันแข็งแกร่งของตนพัฒนาของเล่นชนิดใหม่
ทั้งนี้ นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เลโก้พยายามปรับธุรกิจโดยใช้แบรนด์เดิม อาทิ สร้างสวนสนุกเลโก้แลนด์ในอังกฤษ สหรัฐฯ และเยอรมนี นอกเหนือจากในเดนมาร์ก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เลโก้กำลังพิจารณาขายสวนสนุกทั้งหมด เนื่องจากประสบภาวะขาดทุน นอกจากนี้ เลโก้ยังได้ลงนามเป็นหุ้นส่วนกับทีมแข่งรถ ฟอร์มูล่า 1 วิลเลียมส์ เพื่อให้เด็กๆ หันมาสนใจกีฬา รวมทั้งผลิตเสื้อผ้าภายใต้แบรนด์เลโก้
นอกจากต้องเผชิญการแข่งขันจากเกมอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เลโก้ยังกระโจนสู่การแข่งขันในสนามใหม่ในปี 2002 ด้วยการเริ่มผลิตวิดีโอและภาพยนตร์การ์ตูนจาก “ไบโอนิเคิล”ชุดของเล่นที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก พร้อมทั้งเซ็นสัญญากับครีเอทีฟ คาเปอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และมิราแม็กซ์ ฟิล์มส์ ของสหรัฐฯ
เลโก้ยังผลิตเกมที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส และแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายในปี 2002 ทำลายสถิติที่ 11,400 ล้านโครน (1,930 ล้านดอลลาร์)
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะรักษาความสามารถการทำกำไรของบริษัทได้ ทั้งนี้ หลังจากเผชิญการแข่งขันหลากหลายและภาวะขาดทุนในปี 2003 เลโก้ได้ประกาศปรับโครงสร้างหลัก และหันกลับมาเน้นที่สินค้าดั้งเดิม นั่นคือ ตัวต่อเลโก้
อนึ่ง หลังจากที่คริสเตียนเซนเข้ามาคุมอำนาจการบริหารทั้งหมดเมื่อ 9 เดือนก่อน และอัดฉีดเงินส่วนตัวราว 800 ล้านโครน ล่าสุด เขาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) พร้อมระบุว่า บริษัทอยู่ในทิศทางที่สามารถทำกำไรได้ในปี 2005-2006
ขณะที่เจอร์เก้น วิก น็อดสตรัป ซีอีโอรุ่นใหม่ไฟแรงด้วยวัยเพียง 35 ปี ยอมรับว่าพนักงาน 7,500 คนของบริษัท จะต้องร่วมกันฟันฝ่าปัญหาต่อไปอีกพักใหญ่ ภายใต้มาตรการลดต้นทุน และโอนย้ายการผลิตไปยังประเทศต้นทุนต่ำ เช่น จีน