xs
xsm
sm
md
lg

LTF VS RMF (2)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สัปดาห์นี้ ดิฉันขอต่อเรื่อง LTF VS RMF นะคะ

เงื่อนไขในการลงทุน

เงิน หรือผลประโยชน์ (Capital gain) ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ มีเงื่อนไขดังนี้

การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน ผู้ถือหน่วยลงทุนเกิดทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ในระหว่างถือหน่วยลงทุน (กรณีทุพพลภาพ ต้องมีแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ได้ตรวจ และแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ)

ถ้าผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน หรือทุพพลภาพ สามารถดำเนินการดังต่อไปนี้ โดยถือว่าไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน

(1) ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนั้นต่อไป
(2) ขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้

การคำนวณต้นทุนของเงินลงทุน ผลประโยชน์ และการหักเงินลงทุนแต่ละรายการ เมื่อมีการขายคืนหน่วยลงทุน หรือการโอนย้ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหนึ่ง ไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยาวอื่น ใช้ตามวิธีการ“เข้าก่อนออกก่อน” (First In First Out–FIFO)

ถ้าผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทำผิดเงื่อนไขการลงทุนจะต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ลงทุนต้อง :

(1) ชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมาของเงินลงทุนจำนวนที่ขายคืนบางส่วน หรือทั้งหมด ของเงินลงทุนใน
แต่ละครั้ง โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติม พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร (อัตรา 1.5% ต่อเดือน)

(2) นำเงิน หรือผลประโยชน์ (Capital gain) ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนนั้น ไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุน
ได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อเสียภาษี

เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร
บริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนหน่วยลงทุน จะจัดส่งหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละปีภาษี เพื่อเป็นเอกสารประกอบการยื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้

กองทุนรวมหุ้นระยะยาวเหมาะสมกับใคร ผู้ที่มีเงินได้ที่สามารถรับความเสี่ยงจากการลงหุ้น และต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนไปพร้อมกัน

ตัวอย่างการประหยัดภาษีกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
สมมติ : คนโสด มีรายได้ปีละ 2,000,000 บาท ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

รายการไม่ลงทุน RMF & LTFลงทุนสูงสุดเฉพาะ LTFลงทุน RMF & LTF
เงินได้2,000,0002,000,0002,000,000
หักค่าใช้จ่าย60,00060,00060,000
เงินได้ก่อนหักค่าลดหย่อน1,940,0001,940,0001,940,000
หักค่าลดหย่อน30,00030,00030,000
เงินลงทุนใน RMF--300,000
เงินลงทุนใน LTF-300,000300,000
เงินได้สุทธิ1,910,0001,610,0001,310,000
ภาษีที่ต้องชำระ414,000324,000234,000
ภาษีที่ประหยัดได้ 90,000180,000


เพื่อให้เห็นถึงความเหมือน หรือความแตกต่าง ของกองทุนรวม 2 ประเภท จึงได้จัดทำตารางข้อเปรียบเทียบ กองทุนรวม RMF และ LTF ดังนี้

 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
นโยบายการลงทุนตราสารหนี้ /ตราสารทุน/ผสมแบบยืดหยุ่นตราสารทุนเพียงอย่างเดียว
การซื้อหน่วยลงทุนทุกวันทำการทุกวันทำการ
การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกวันทำการไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
การจ่ายเงินปันผลไม่สามารถจ่ายเงินปันผลจ่ายได้ไม่เกิน 30%ของกำไรสะสม
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุนกำไรส่วนเกินทุนไม่เสียภาษีกำไรส่วนเกินทุนไม่เสียภาษี
 ลดหย่อนภาษีได้ 15%ของเงินได้สูงสุด 300,000 บาท/ปี เมื่อรวมกับเงินกองทุนกบข. หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้สูงสุด 300,000 บาท/ปี
  ต้องลงทุนไม่เกินปี 2559 ถ้าลงทุนหลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ระยะเวลาการลงทุนที่ถูกต้องตามเงื่อนไขต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข และขายคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ลงทุนปีไหนสามารถนำไปใช้ลดหย่อนในปีภาษีนั้น และขายคืนได้เมื่อครบ 5 ปีปฏิทิน
เงินลงทุนขั้นต่ำของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทไม่กำหนด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกองทุน
จุดเด่น & จุดด้อยมีหลายรูปแบบให้เลือกเน้นลงทุนหุ้นอย่างเดียว
 ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไขของ RMFไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ลงทุนปีไหนสามารถนำไปใช้ลดหย่อนในปีภาษีนั้นและขายคืนได้เมื่อครบ 5 ปีปฏิทิน


คงจะเห็นความแตกต่างของกองทุนฯ ทั้ง 2 ประเภทแล้ว ก็คงจะต้องตัดสินใจเลือกลงทุนกันเอง โดยท่านสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทุกแห่ง

ก็ขอปิดท้ายด้วยคำเตือนมาตรฐาน คือ “การลงทุนเป็นความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”

ขอบคุณ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด
สนใจสอบถามข้อมูลสามารถส่งมาได้ที่ dcharlotte@krungsri.com หรือแฟกซ์มาที่หมายเลข 02-683-1604

กำลังโหลดความคิดเห็น