ธนาคารอาคารสงเคราะห์จับมือกับสำนักงานประกันสังคมปล่อยกู้ซื้อบ้านให้ผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม โดย ธอส.เตรียมวงเงินเบื้องต้นในการปล่อยกู้ไว้ 3,000 ล้านบาท ซึ่งผู้ที่กู้เงินในโครงการดังกล่าวจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ โดยสามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.47 เป็นต้นไป
นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการบ้าน สปส.-ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตนระหว่างนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และนายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อต้องการให้ผู้ประกันตนที่มีรายได้น้อยและปานกลางมีแหล่งเงินกู้ต่ำ เพื่อนำไปซื้อที่อยู่อาศัยต่อเติมหรือซ่อมแซม ซึ่ง สปส.ได้ร่วมกับ ธอส. เตรียมวงเงินรองรับโครงการดังกล่าวจำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5 ปีแรกร้อยละ 2.5 ต่อปี จากนั้นจะใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวเอ็มอาร์อาร์ ลบร้อยละ 1.75 สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ ลบร้อยละ 1.25 ส่วนเงินกู้เกิน 3 ล้านบาท ใช้อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบร้อยละ 1 โดยจะกันเงินไว้ให้ผู้กู้ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,800 ล้านบาท หากวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท กันไว้จำนวน 900 ล้านบาท และวงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท จะกันไว้ 300 ล้านบาท
นายขรรค์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ประกันตนในปัจจุบันมีอยู่ทั่วประเทศกว่า 8 ล้านคน นับว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่ยังต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติของผู้ขอกู้ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยเป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคมอย่างน้อย 5 ปี สำหรับผู้ประกันตนที่สนใจขอตรวจสอบคุณสมบัติและกรอกใบรับรองสิทธิได้ที่ สปส. ในเขตพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1-9 พฤศจิกายน 2547 จากนั้นสามารถยืนขอกู้กับ ธอส. ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2547 - 31 มีนาคม 2548
ด้านนายไพโรจน์ กล่าวว่า หากสมาชิกของกองทุนประกันสังคมต้องการซื้อบ้านเป็นจำนวนมากก็อาจขยายวงเงินในการขอกู้ได้ถึง 4,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจัดทำโครงการปล่อยกู้ในระยะที่ 2 หรือเฟส 2 โดยมีเงื่อนไขในการปล่อยกู้ในลักษณะเช่นเดียวกับเฟสแรก แต่อาจจะมีการพิจารณาในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ที่กู้วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทเพิ่มเติม สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งเป็นบุคคลที่ประกันตนแต่ไม่มีนายจ้างจะไม่ได้รับสิทธิในการขอกู้ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงในการปล่อยกู้
เลขาธิการ สปส. กล่าวอีกว่า คณะกรรมการกองทุนประกันสังคมได้มีมติแล้วที่จะไม่ปรับลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม จากเดิมที่คาดว่าจะให้ส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนและนายจ้างลดลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อราย เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจขณะนี้ยังไม่เป็นภาระต่อผู้ประกันตนมากนัก แต่อาจจะทบทวนการลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลพิจารณาปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในช่วงต้นปีหน้า เพื่อดูผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อและภาพรวมเศรษฐกิจให้มีความชัดเจน
นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการบ้าน สปส.-ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตนระหว่างนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และนายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อต้องการให้ผู้ประกันตนที่มีรายได้น้อยและปานกลางมีแหล่งเงินกู้ต่ำ เพื่อนำไปซื้อที่อยู่อาศัยต่อเติมหรือซ่อมแซม ซึ่ง สปส.ได้ร่วมกับ ธอส. เตรียมวงเงินรองรับโครงการดังกล่าวจำนวน 3,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5 ปีแรกร้อยละ 2.5 ต่อปี จากนั้นจะใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวเอ็มอาร์อาร์ ลบร้อยละ 1.75 สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ ลบร้อยละ 1.25 ส่วนเงินกู้เกิน 3 ล้านบาท ใช้อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบร้อยละ 1 โดยจะกันเงินไว้ให้ผู้กู้ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1,800 ล้านบาท หากวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท กันไว้จำนวน 900 ล้านบาท และวงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท จะกันไว้ 300 ล้านบาท
นายขรรค์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ประกันตนในปัจจุบันมีอยู่ทั่วประเทศกว่า 8 ล้านคน นับว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่ยังต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติของผู้ขอกู้ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยเป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคมอย่างน้อย 5 ปี สำหรับผู้ประกันตนที่สนใจขอตรวจสอบคุณสมบัติและกรอกใบรับรองสิทธิได้ที่ สปส. ในเขตพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1-9 พฤศจิกายน 2547 จากนั้นสามารถยืนขอกู้กับ ธอส. ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2547 - 31 มีนาคม 2548
ด้านนายไพโรจน์ กล่าวว่า หากสมาชิกของกองทุนประกันสังคมต้องการซื้อบ้านเป็นจำนวนมากก็อาจขยายวงเงินในการขอกู้ได้ถึง 4,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจัดทำโครงการปล่อยกู้ในระยะที่ 2 หรือเฟส 2 โดยมีเงื่อนไขในการปล่อยกู้ในลักษณะเช่นเดียวกับเฟสแรก แต่อาจจะมีการพิจารณาในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ที่กู้วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทเพิ่มเติม สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งเป็นบุคคลที่ประกันตนแต่ไม่มีนายจ้างจะไม่ได้รับสิทธิในการขอกู้ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงในการปล่อยกู้
เลขาธิการ สปส. กล่าวอีกว่า คณะกรรมการกองทุนประกันสังคมได้มีมติแล้วที่จะไม่ปรับลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม จากเดิมที่คาดว่าจะให้ส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนและนายจ้างลดลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อราย เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจขณะนี้ยังไม่เป็นภาระต่อผู้ประกันตนมากนัก แต่อาจจะทบทวนการลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐบาลพิจารณาปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในช่วงต้นปีหน้า เพื่อดูผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อและภาพรวมเศรษฐกิจให้มีความชัดเจน