ชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
วันนี้ ดิฉันคงจะเขียนถึงกลุ่มของบัตรพลาสติกว่ามีอะไรบ้าง เพื่อปูพื้นฐานให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม และทำไมถึงเรียกบัตรพลาสติกนั้น คงจะตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า ทำจากพลาสติก แต่ในอนาคต หากมีการนำวัสดุอื่นมาทำบัตร ก็คงสามารถกลายพันธุ์ได้
ประเภทของบัตรพลาสติก สามารถแบ่งได้เป็นบัตรเดบิต (debit card) ก็คือบัตรที่จะหักบัญชีของผู้ใช้ทันที เมื่อมีการรูดบัตรชำระเงิน ซึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือบัตร Visa Electron เพราะบริษัท Visa ได้มาทำตลาดในประเทศไทยก่อนคนอื่น จึงคุ้นเคยกลายเป็นชื่อสามัญ (generic name) เหมือนเช่น แฟ้บ ใช้แทนผงซักฟอก เป็นต้น
แต่ก็ได้มีบางธนาคาร พยายามสร้างชื่อบัตรเดบิตของตัวเอง เช่น B First ของธนาคารกรุงเทพ ดังนั้น บัตรเดบิตจึงเป็นเสมือนอัฐยายซื้อขนมยาย คือใช้เงินตัวเองจ่ายค่าสินค้า หรือบริการ เลย แต่บัตรเดบิต ก็อาจจะเพิ่มสายพันธุ์กลายเป็นกึ่งเครดิตได้
แต่ยังคงเดินตามหลักการเดิม คือเป็นการตัดบัญชีของเจ้าของบัตร แต่บัญชีที่มีอยู่นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นบัญชีเงินฝากอย่างเดียว อย่างเช่น E-loan ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นการให้สินเชื่อโดยให้เป็นวงเงินในบัญชีลูกค้า คล้ายๆ OD แต่ไม่ได้ใช้สมุดเช็ค โดยลูกค้าสามารถเบิกใช้ได้ผ่านบัตร ATM หรือ Visa Electron อันนี้ก็เป็นการตัดแต่งพันธุกรรมอีกแบบหนึ่ง
บัตรพลาสติกอีกประเภทหนึ่ง คือ charged card ถือเป็นการใช้ชำระสินค้าและบริการ โดยที่บริษัทผู้ออกบัตร จะเป็นผู้ชำระให้กับร้านค้า แล้วมาเรียกเก็บจากเจ้าของบัตรเป็นรอบๆ โดยปกติ จะเรียกเก็บทุกเดือน โดยเจ้าของบัตร จะต้องชำระเงินเต็มตามมูลค่าที่เรียกเก็บ และจะไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมใดๆ (หมายถึงค่าธรรมเนียมต่อรายการที่ใช้ ไม่รวมค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือค่าธรรมเนียมรายปี) ก็อาจจะมีคำถามว่า แล้วผู้ออกบัตรจะได้อะไร
หากจะตอบ คงต้องจำแนกผู้ออกบัตรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นบริษัทที่ออกบัตรดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยไม่ได้อิงกับร้านค้า หรือคู่ค้าใด เป็นพิเศษ ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็ได้แก่บัตร American Express ซึ่งแต่เดิม มุ่งมั่นเป็น charged card อย่างเดียว แต่ตอนนี้ ก็ได้มีการแตกออกมาเป็นบัตรเครดิตด้วย โดยมีการแยกกลุ่มลูกค้าออกมาชัดเจน มิใช่ว่าผู้ถือบัตรเก่าจะเปลี่ยนเป็นเครดิตคาร์ดโดยอัตโนมัติ
อีกบัตรหนึ่ง ที่ตอนนี้อาจจะเงียบๆ ไปบ้าง ก็คือ บัตร Diners Club ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังคงมีจุดยืนเป็น charged card อย่างเหนียวแน่น เพราะค่อนข้างจะจำกัดสถานะของตนเอง เป็น travel and entertainment card ใช้เพื่อกิน เที่ยว หรือซื้อของเท่านั้น
ผู้ออกบัตรกลุ่มนี้ จะได้ค่าธรรมเนียมจากร้านค้า เมื่อลูกค้าไปใช้บัตรดังกล่าว เหตุที่ร้านค้ายอมจ่ายเงิน ก็เพราะเป็นการกระตุ้นยอดขาย เพราะหากค้าขายเงินสดอย่างเดียว อาจจะเป็นการจำกัดความต้องการของลูกค้าที่พกเงินสดมาไม่พอ ยิ่งในปัจจุบันนี้ ลูกค้ายิ่งพกเงินสดน้อยลงกว่าแต่ก่อน
นอกจากนั้น ยังช่วยลดงานของร้านค้าลง เช่น การต้องนำเงินสดไปฝากธนาคาร การลงบันทึกการขาย เป็นต้น หากผ่านระบบการชำระเงิน โดยผ่านบัตรต่างๆ ซึ่งจะต้องใช้ผ่านเครื่องรูดบัตร ที่เราเรียกกันว่า EDC (Electronic Data Capture) แล้ว สถาบันที่เป็นเจ้าของเครื่อง EDC จะมีระบบการชำระเงิน ที่สามารถที่จะนำเงินค่าขายสินค้าและบริการ ผ่านเข้าบัญชีให้อัตโนมัติ และยังแถมมีรายงานให้ด้วย
ในอดีต ร้านค้าอาจจะไม่ชอบที่จะให้ลูกค้าใช้บัตรนัก เพราะจะต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ กว่าจะได้รับเงิน แต่ในปัจจุบัน จากระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถย่นเวลาลงได้ โดยสามารถได้รับเงินภายในวันเดียว หรือวันถัดไปเลย ดังนั้น รายได้หลักของผู้ออกบัตรจะเป็น 2 ส่วน คือรายได้จากค่าธรรมเนียมที่เก็บจากเจ้าของบัตร และรายได้จากการปันส่วนรายได้จากร้านค้า ที่คิดจากจำนวนเงิน มากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่าย
ผู้ออกบัตรอีกกลุ่ม คือร้านค้าต่างๆ ที่ออกบัตรเป็น brand ของตนเอง เช่น Central Card ของห้าง Central แต่ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็น Central Card ในอดีต ที่ยังไม่ได้ให้วงเงินเครดิต เพราะปัจจุบัน ก็ข้ามสายพันธุ์เป็นบัตรเครดิตเช่นกัน ลูกค้าสามารถใช้ซื้อของได้เฉพาะในห้างร้าน หรือสาขาของผู้ออกบัตร และอาจจะผนวกพันธมิตรเข้าไปด้วย
วัตถุประสงค์หลัก ก็คือการสร้างความจงรักภักดีให้กับ brand หรือห้างร้านนั้น เพราะถือว่าเป็นสมาชิก และจับจ่ายใช้สอยโดยมีวงเงิน ไม่ต้องพกเงินสดไปมากๆ นอกจากนั้น ร้านค้านั้นๆ ยังประหยัดค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่ายให้กับเจ้าของเครื่อง EDC ซึ่งจะอยู่ในระดับ 1%-3% ตามแต่จะตกลง แต่ปัจจุบัน บัตรของร้านค้าใหญ่ๆ ก็ได้กลายเป็นบัตรเครดิตกันเป็นส่วนใหญ่
บัตรแบบ charged card จะไม่สามารถนำไปกดเบิกเงินสดล่วงหน้าได้ เพราะไม่มีวงเงินแบบบัตรเครดิต
บัตรพลาสติกอีกประเภทหนึ่ง ที่คนอาจจะไม่ได้นึกถึงว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับพวก debit, credit หรือ charge card คือพวกบัตร prepaid หรือพวกที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้า และเมื่อมีการใช้จ่าย ก็จะหักจากวงเงินที่มีการซื้อไว้
ในนาทีนี้ หากจะนึกถึง ก็คงจะนึกง่ายๆ คือบัตรโทรศัพท์ หรือที่เรียกกันว่าบัตรเติมเงิน ที่เราไปจ่ายเงินค่าใช้โทรศัพท์ไว้ล่วงหน้า แล้วมีการหักเงินตามที่ใช้ไป ที่เห็นมีอีกประเภทหนึ่ง ก็คือบัตรของขวัญ ที่ห้างร้านหรือธนาคาร นำมาจำหน่ายเพิ่มจากเช็คของขวัญ แต่ในต่างประเทศ มีบัตรอีกประเภทหนึ่ง ที่อาจจะนำมาใช้ในประเทศไทยเร็วๆ นี้ คือ smart card ซึ่งเป็นบัตร prepaid ก็ได้ หรือ debit ก็ได้ ไว้เล่าต่อในสัปดาห์หน้านะคะ เพราะค่อนข้างจะมีเนื้อหาสาระพอสมควร
สนใจสอบถามข้อมูลสามารถส่งมาได้ที่ dcharlotte@krungsri.com หรือแฟกซ์มาที่หมายเลข 02-683-1604
วันนี้ ดิฉันคงจะเขียนถึงกลุ่มของบัตรพลาสติกว่ามีอะไรบ้าง เพื่อปูพื้นฐานให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม และทำไมถึงเรียกบัตรพลาสติกนั้น คงจะตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า ทำจากพลาสติก แต่ในอนาคต หากมีการนำวัสดุอื่นมาทำบัตร ก็คงสามารถกลายพันธุ์ได้
ประเภทของบัตรพลาสติก สามารถแบ่งได้เป็นบัตรเดบิต (debit card) ก็คือบัตรที่จะหักบัญชีของผู้ใช้ทันที เมื่อมีการรูดบัตรชำระเงิน ซึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือบัตร Visa Electron เพราะบริษัท Visa ได้มาทำตลาดในประเทศไทยก่อนคนอื่น จึงคุ้นเคยกลายเป็นชื่อสามัญ (generic name) เหมือนเช่น แฟ้บ ใช้แทนผงซักฟอก เป็นต้น
แต่ก็ได้มีบางธนาคาร พยายามสร้างชื่อบัตรเดบิตของตัวเอง เช่น B First ของธนาคารกรุงเทพ ดังนั้น บัตรเดบิตจึงเป็นเสมือนอัฐยายซื้อขนมยาย คือใช้เงินตัวเองจ่ายค่าสินค้า หรือบริการ เลย แต่บัตรเดบิต ก็อาจจะเพิ่มสายพันธุ์กลายเป็นกึ่งเครดิตได้
แต่ยังคงเดินตามหลักการเดิม คือเป็นการตัดบัญชีของเจ้าของบัตร แต่บัญชีที่มีอยู่นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นบัญชีเงินฝากอย่างเดียว อย่างเช่น E-loan ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นการให้สินเชื่อโดยให้เป็นวงเงินในบัญชีลูกค้า คล้ายๆ OD แต่ไม่ได้ใช้สมุดเช็ค โดยลูกค้าสามารถเบิกใช้ได้ผ่านบัตร ATM หรือ Visa Electron อันนี้ก็เป็นการตัดแต่งพันธุกรรมอีกแบบหนึ่ง
บัตรพลาสติกอีกประเภทหนึ่ง คือ charged card ถือเป็นการใช้ชำระสินค้าและบริการ โดยที่บริษัทผู้ออกบัตร จะเป็นผู้ชำระให้กับร้านค้า แล้วมาเรียกเก็บจากเจ้าของบัตรเป็นรอบๆ โดยปกติ จะเรียกเก็บทุกเดือน โดยเจ้าของบัตร จะต้องชำระเงินเต็มตามมูลค่าที่เรียกเก็บ และจะไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมใดๆ (หมายถึงค่าธรรมเนียมต่อรายการที่ใช้ ไม่รวมค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือค่าธรรมเนียมรายปี) ก็อาจจะมีคำถามว่า แล้วผู้ออกบัตรจะได้อะไร
หากจะตอบ คงต้องจำแนกผู้ออกบัตรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นบริษัทที่ออกบัตรดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยไม่ได้อิงกับร้านค้า หรือคู่ค้าใด เป็นพิเศษ ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็ได้แก่บัตร American Express ซึ่งแต่เดิม มุ่งมั่นเป็น charged card อย่างเดียว แต่ตอนนี้ ก็ได้มีการแตกออกมาเป็นบัตรเครดิตด้วย โดยมีการแยกกลุ่มลูกค้าออกมาชัดเจน มิใช่ว่าผู้ถือบัตรเก่าจะเปลี่ยนเป็นเครดิตคาร์ดโดยอัตโนมัติ
อีกบัตรหนึ่ง ที่ตอนนี้อาจจะเงียบๆ ไปบ้าง ก็คือ บัตร Diners Club ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังคงมีจุดยืนเป็น charged card อย่างเหนียวแน่น เพราะค่อนข้างจะจำกัดสถานะของตนเอง เป็น travel and entertainment card ใช้เพื่อกิน เที่ยว หรือซื้อของเท่านั้น
ผู้ออกบัตรกลุ่มนี้ จะได้ค่าธรรมเนียมจากร้านค้า เมื่อลูกค้าไปใช้บัตรดังกล่าว เหตุที่ร้านค้ายอมจ่ายเงิน ก็เพราะเป็นการกระตุ้นยอดขาย เพราะหากค้าขายเงินสดอย่างเดียว อาจจะเป็นการจำกัดความต้องการของลูกค้าที่พกเงินสดมาไม่พอ ยิ่งในปัจจุบันนี้ ลูกค้ายิ่งพกเงินสดน้อยลงกว่าแต่ก่อน
นอกจากนั้น ยังช่วยลดงานของร้านค้าลง เช่น การต้องนำเงินสดไปฝากธนาคาร การลงบันทึกการขาย เป็นต้น หากผ่านระบบการชำระเงิน โดยผ่านบัตรต่างๆ ซึ่งจะต้องใช้ผ่านเครื่องรูดบัตร ที่เราเรียกกันว่า EDC (Electronic Data Capture) แล้ว สถาบันที่เป็นเจ้าของเครื่อง EDC จะมีระบบการชำระเงิน ที่สามารถที่จะนำเงินค่าขายสินค้าและบริการ ผ่านเข้าบัญชีให้อัตโนมัติ และยังแถมมีรายงานให้ด้วย
ในอดีต ร้านค้าอาจจะไม่ชอบที่จะให้ลูกค้าใช้บัตรนัก เพราะจะต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ กว่าจะได้รับเงิน แต่ในปัจจุบัน จากระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถย่นเวลาลงได้ โดยสามารถได้รับเงินภายในวันเดียว หรือวันถัดไปเลย ดังนั้น รายได้หลักของผู้ออกบัตรจะเป็น 2 ส่วน คือรายได้จากค่าธรรมเนียมที่เก็บจากเจ้าของบัตร และรายได้จากการปันส่วนรายได้จากร้านค้า ที่คิดจากจำนวนเงิน มากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่าย
ผู้ออกบัตรอีกกลุ่ม คือร้านค้าต่างๆ ที่ออกบัตรเป็น brand ของตนเอง เช่น Central Card ของห้าง Central แต่ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็น Central Card ในอดีต ที่ยังไม่ได้ให้วงเงินเครดิต เพราะปัจจุบัน ก็ข้ามสายพันธุ์เป็นบัตรเครดิตเช่นกัน ลูกค้าสามารถใช้ซื้อของได้เฉพาะในห้างร้าน หรือสาขาของผู้ออกบัตร และอาจจะผนวกพันธมิตรเข้าไปด้วย
วัตถุประสงค์หลัก ก็คือการสร้างความจงรักภักดีให้กับ brand หรือห้างร้านนั้น เพราะถือว่าเป็นสมาชิก และจับจ่ายใช้สอยโดยมีวงเงิน ไม่ต้องพกเงินสดไปมากๆ นอกจากนั้น ร้านค้านั้นๆ ยังประหยัดค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่ายให้กับเจ้าของเครื่อง EDC ซึ่งจะอยู่ในระดับ 1%-3% ตามแต่จะตกลง แต่ปัจจุบัน บัตรของร้านค้าใหญ่ๆ ก็ได้กลายเป็นบัตรเครดิตกันเป็นส่วนใหญ่
บัตรแบบ charged card จะไม่สามารถนำไปกดเบิกเงินสดล่วงหน้าได้ เพราะไม่มีวงเงินแบบบัตรเครดิต
บัตรพลาสติกอีกประเภทหนึ่ง ที่คนอาจจะไม่ได้นึกถึงว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับพวก debit, credit หรือ charge card คือพวกบัตร prepaid หรือพวกที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้า และเมื่อมีการใช้จ่าย ก็จะหักจากวงเงินที่มีการซื้อไว้
ในนาทีนี้ หากจะนึกถึง ก็คงจะนึกง่ายๆ คือบัตรโทรศัพท์ หรือที่เรียกกันว่าบัตรเติมเงิน ที่เราไปจ่ายเงินค่าใช้โทรศัพท์ไว้ล่วงหน้า แล้วมีการหักเงินตามที่ใช้ไป ที่เห็นมีอีกประเภทหนึ่ง ก็คือบัตรของขวัญ ที่ห้างร้านหรือธนาคาร นำมาจำหน่ายเพิ่มจากเช็คของขวัญ แต่ในต่างประเทศ มีบัตรอีกประเภทหนึ่ง ที่อาจจะนำมาใช้ในประเทศไทยเร็วๆ นี้ คือ smart card ซึ่งเป็นบัตร prepaid ก็ได้ หรือ debit ก็ได้ ไว้เล่าต่อในสัปดาห์หน้านะคะ เพราะค่อนข้างจะมีเนื้อหาสาระพอสมควร
สนใจสอบถามข้อมูลสามารถส่งมาได้ที่ dcharlotte@krungsri.com หรือแฟกซ์มาที่หมายเลข 02-683-1604