ผู้จัดการรายวัน-"สามชัย สตีล อินดัสทรี" ประกาศออกIPO30 ล้านหุ้นเสนอขายต้นกันยายนก่อนเทรดกลางเดือน ระบุพร้อมเพิ่มกำลังการผลิตของปีนี้ที่คาด 150,000 ตันอีก 96,000 ตัน โดยเน้นขายในประเทศ ชี้ปีนี้กำไรเพิ่มขึ้น 70-80%
นายธงชัย ลีกาญจนากร ประธานกรรมการบริหาร บ.สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ความพร้อมของบริษัทเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในเดือนนี้(ส.ค.) และจะสามารถเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนได้ราวต้นเดือนกันยายน โดยแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งคาดว่าจะพร้อมเทรดเข้าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงกลางเดือนกันยายนนี้
ในส่วนของการกระจายหุ้นจะเสนอขายหุ้นในจำนวน 30 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 5 บาท ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดราคาที่จะเสนอขายให้กับประชาชนและนักลงทุนทั่วไป
ปัจจุบันบริษัท สามชัย สตีล อินดัชทรี มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ กลุ่มลีลาชัยเจริญภัณฑ์ 44.21% กลุ่มชินธรรมมิตร์ 40.85% ผู้ถือหุ้นรายย่อย 14.94% ซึ่งหลังจากขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน สัดส่วนจะเป็นกลุ่มลีลาชัยเจริญภัณฑ์ 32.15% กลุ่มชินธรรมมิตร์ 29.71% ผู้ถือหุ้นรายย่อย 10.87% และประชาชนทั่วไป 27.27%
สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะนำไปเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของการผลิตท่อเหล็กสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีขนาดถึง 200-450 มิลลิเมตร โดยจะเป็นบริษัทแรกในเอเชียที่สามารถผลิตโครงสร้างเหล็กได้ขนาดนั้น เนื่องจากในปัจจุบันการผลิตเหล็กจะเน้นในส่วนของเหล็กโครงสร้างที่มีขนาดเล็กกว่า 200 มิลลิเมตร
โดยบริษัทมีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานใหม่มูลค่า 120 ล้านบาท และสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่จากญี่ปุ่นมูลค่า 480 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ได้ 96,000 ตันซึ่งเป็นใช้กำลังการผลิต 1 กะครึ่ง โดยหากผลิตเต็มที่จะสามารถผลิตได้ถึง 140,000 ตันซึ่งจะสามารถเริ่มทำการผลิตในส่วนดังกล่าวได้ในช่วงปลายปี 2548
ทั้งนี้เมื่อคำนวณต้นทุนของสินค้าประเภทดังกล่าวจากการนำเข้าจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งเป็นส่วนของภาษีถึง 15% หากสามารถผลิตเองได้คาดว่าราคาจะลดลงเหลือประมาณกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งถูกกว่าราคานำเข้าถึง 20% โดยจะสามารถลดการนำเข้าได้ถึง 5,000 ล้านบาท
โดยในปีนี้คาดว่ากำลังการผลิตของบริษัทปีนี้จะสูงถึง 150,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่า 70-80% จากปีที่ผ่านมาที่กำลังการผลิตอยู่ที่ 84,000 ตัน ทั้งนี้หากเฉลี่ยค่าของการใช้เหล็กต่อคนในประเทศไทยจะอยู่ที่ 200 ก.ก./คน/ปี แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 800 ก.ก./คน/ปี ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวทำให้เรามองเห็นความสามารถในการเติบโตของธุรกิจเหล็ก
ด้านนายประวาส สันตวะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความสามารถในการผลิตเหล็กทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านตัน โดยมูลค่าตลาดรวมมีมูลค่า 45,000 ล้านบาท ในส่วนของบริษัทมีกำลังของบริษัทถือว่ามีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดรวมซึ่งถือได้ว่าเป็น 1 ใน 5 ผู้นำทางด้านการผลิต จากจำนวนประมาณ 50 บริษัท
ทั้งนี้อัตราการเติบโตของธุรกิจท่อเหล็กอยู่ที่ประมาณ 7% โดยปกติจะเติบโตตาม GDP ของประเทศ แต่อัตราการเติบโตของบริษัท 2 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 70-80 % ต่อปี เนื่องเพราะว่าบริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิตจากกะเดียวเป็นสองกะ และจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกหากสามารถเปิดใช้เครื่องจักรใหม่ได้ในช่วงปลายปีหน้า
นอกจากนี้สัดส่วนของการผลิตจะเน้นขายภายในประเทศกว่า 95% และส่งออก 5 % และในส่วนของการผลิตโครงสร้างขนาดใหญ่ก็ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหลายราย โดยเฉพาะในส่วนของการก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ สนามบิน ท่อน้ำ เป็นต้น
"ผมเชื่อว่ากำลังการผลิตสำหรับในส่วนของโครงสร้างขนาดใหญ่ จะสามารถรองรับความต้องการใช้ในประเทศได้เพียงพอ และเชื่อว่าคู่แข่งในธุรกิจดังกล่าวก็ไม่มี เนื่องจากได้ทำสัญญาก่อนจะทำการสั่งซื้อเครื่องจักรแล้ว แต่หากว่ากำลังจากผลิตเกินกว่าความต้องการในประเทศ เราก็สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ทั้งในส่วนของประเทศสหรัฐ และในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง"นายประวาสกล่าว
นายวัฒนา สุทธิพินิจธรรม รองประธานกรรมการ บริษัทสามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเรื่องฐานะทางการเงินบริษัทว่า ในปีที่ผ่านมา 2546 บริษัทมีรายได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท กำไรสุทธิ 51 ล้านบาท โดยใช้กำลงัการผลิต 90% ประมาณ 70,000 ตัน สำหรับรายได้ในไตรมาส1/47 644 ล้านบาท กำไรสุทธิ 41 ล้านบาท โดยในส่วนของกำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากผลของสต๊อกของสินค้าที่มีอยู่ในช่วงปลายปีที่อยู่ในระดับต่ำ และสามารถสร้างผลกำไรได้ในช่วงต้นปีเนื่องจากการปรับตัวขึ้นของราคาเหล็กทั่วโลก โดยยังมองว่ากำไรของบริษัทในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 70-80%
ทั้งนี้บริษัทมีการบริหารสต็อกเป็นอย่างดี ทำให้แม้ว่าจะเกิดการแกว่งตัวของธุรกิจก็ไม่ส่งผลต่อบริษัทมากนัก และวัสดุส่วนใหญ่ของบริษัทก็เป็นวัสดุภายในประเทศ การคำนวณต้นทุนการขายของบริษัทจะเป็นการใช้เป็นต้นทุนราคาจากราคาตลาดบวกกับกำไรของบริษัท หากราคาเหล็กตลาดโลกปรับตัวสูงบริษัทก็สามารถปรับราคาขึ้นตามได้
นายธงชัย ลีกาญจนากร ประธานกรรมการบริหาร บ.สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ความพร้อมของบริษัทเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในเดือนนี้(ส.ค.) และจะสามารถเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนได้ราวต้นเดือนกันยายน โดยแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งคาดว่าจะพร้อมเทรดเข้าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงกลางเดือนกันยายนนี้
ในส่วนของการกระจายหุ้นจะเสนอขายหุ้นในจำนวน 30 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 5 บาท ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดราคาที่จะเสนอขายให้กับประชาชนและนักลงทุนทั่วไป
ปัจจุบันบริษัท สามชัย สตีล อินดัชทรี มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ กลุ่มลีลาชัยเจริญภัณฑ์ 44.21% กลุ่มชินธรรมมิตร์ 40.85% ผู้ถือหุ้นรายย่อย 14.94% ซึ่งหลังจากขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน สัดส่วนจะเป็นกลุ่มลีลาชัยเจริญภัณฑ์ 32.15% กลุ่มชินธรรมมิตร์ 29.71% ผู้ถือหุ้นรายย่อย 10.87% และประชาชนทั่วไป 27.27%
สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะนำไปเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของการผลิตท่อเหล็กสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีขนาดถึง 200-450 มิลลิเมตร โดยจะเป็นบริษัทแรกในเอเชียที่สามารถผลิตโครงสร้างเหล็กได้ขนาดนั้น เนื่องจากในปัจจุบันการผลิตเหล็กจะเน้นในส่วนของเหล็กโครงสร้างที่มีขนาดเล็กกว่า 200 มิลลิเมตร
โดยบริษัทมีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานใหม่มูลค่า 120 ล้านบาท และสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่จากญี่ปุ่นมูลค่า 480 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ได้ 96,000 ตันซึ่งเป็นใช้กำลังการผลิต 1 กะครึ่ง โดยหากผลิตเต็มที่จะสามารถผลิตได้ถึง 140,000 ตันซึ่งจะสามารถเริ่มทำการผลิตในส่วนดังกล่าวได้ในช่วงปลายปี 2548
ทั้งนี้เมื่อคำนวณต้นทุนของสินค้าประเภทดังกล่าวจากการนำเข้าจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งเป็นส่วนของภาษีถึง 15% หากสามารถผลิตเองได้คาดว่าราคาจะลดลงเหลือประมาณกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งถูกกว่าราคานำเข้าถึง 20% โดยจะสามารถลดการนำเข้าได้ถึง 5,000 ล้านบาท
โดยในปีนี้คาดว่ากำลังการผลิตของบริษัทปีนี้จะสูงถึง 150,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่า 70-80% จากปีที่ผ่านมาที่กำลังการผลิตอยู่ที่ 84,000 ตัน ทั้งนี้หากเฉลี่ยค่าของการใช้เหล็กต่อคนในประเทศไทยจะอยู่ที่ 200 ก.ก./คน/ปี แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 800 ก.ก./คน/ปี ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวทำให้เรามองเห็นความสามารถในการเติบโตของธุรกิจเหล็ก
ด้านนายประวาส สันตวะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความสามารถในการผลิตเหล็กทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านตัน โดยมูลค่าตลาดรวมมีมูลค่า 45,000 ล้านบาท ในส่วนของบริษัทมีกำลังของบริษัทถือว่ามีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดรวมซึ่งถือได้ว่าเป็น 1 ใน 5 ผู้นำทางด้านการผลิต จากจำนวนประมาณ 50 บริษัท
ทั้งนี้อัตราการเติบโตของธุรกิจท่อเหล็กอยู่ที่ประมาณ 7% โดยปกติจะเติบโตตาม GDP ของประเทศ แต่อัตราการเติบโตของบริษัท 2 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 70-80 % ต่อปี เนื่องเพราะว่าบริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิตจากกะเดียวเป็นสองกะ และจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกหากสามารถเปิดใช้เครื่องจักรใหม่ได้ในช่วงปลายปีหน้า
นอกจากนี้สัดส่วนของการผลิตจะเน้นขายภายในประเทศกว่า 95% และส่งออก 5 % และในส่วนของการผลิตโครงสร้างขนาดใหญ่ก็ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหลายราย โดยเฉพาะในส่วนของการก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ สนามบิน ท่อน้ำ เป็นต้น
"ผมเชื่อว่ากำลังการผลิตสำหรับในส่วนของโครงสร้างขนาดใหญ่ จะสามารถรองรับความต้องการใช้ในประเทศได้เพียงพอ และเชื่อว่าคู่แข่งในธุรกิจดังกล่าวก็ไม่มี เนื่องจากได้ทำสัญญาก่อนจะทำการสั่งซื้อเครื่องจักรแล้ว แต่หากว่ากำลังจากผลิตเกินกว่าความต้องการในประเทศ เราก็สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ทั้งในส่วนของประเทศสหรัฐ และในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง"นายประวาสกล่าว
นายวัฒนา สุทธิพินิจธรรม รองประธานกรรมการ บริษัทสามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเรื่องฐานะทางการเงินบริษัทว่า ในปีที่ผ่านมา 2546 บริษัทมีรายได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท กำไรสุทธิ 51 ล้านบาท โดยใช้กำลงัการผลิต 90% ประมาณ 70,000 ตัน สำหรับรายได้ในไตรมาส1/47 644 ล้านบาท กำไรสุทธิ 41 ล้านบาท โดยในส่วนของกำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากผลของสต๊อกของสินค้าที่มีอยู่ในช่วงปลายปีที่อยู่ในระดับต่ำ และสามารถสร้างผลกำไรได้ในช่วงต้นปีเนื่องจากการปรับตัวขึ้นของราคาเหล็กทั่วโลก โดยยังมองว่ากำไรของบริษัทในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 70-80%
ทั้งนี้บริษัทมีการบริหารสต็อกเป็นอย่างดี ทำให้แม้ว่าจะเกิดการแกว่งตัวของธุรกิจก็ไม่ส่งผลต่อบริษัทมากนัก และวัสดุส่วนใหญ่ของบริษัทก็เป็นวัสดุภายในประเทศ การคำนวณต้นทุนการขายของบริษัทจะเป็นการใช้เป็นต้นทุนราคาจากราคาตลาดบวกกับกำไรของบริษัท หากราคาเหล็กตลาดโลกปรับตัวสูงบริษัทก็สามารถปรับราคาขึ้นตามได้